Loading

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

ตุลาคม 2537

แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ในระหว่างการจัดงานครบรอบ 20 ปี มีการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อการสานต่อแนวคิด และสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่า

กันยายน 2538

เริ่มโครงการศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 โดยบรรจุความคิดในการก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยไว้ในโครงการด้วย

11 กรกฎาคม 2539

คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ได้ประชุมร่วมกับ ดร.พิจิตต รัตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น และได้เสนอแนวคิดเรื่องการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง 'หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร' เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา

พฤศจิกายน 2539

จัดตั้ง 'มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9' เพื่อสนับสนุนการเตรียมโครงการหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง และกำหนดจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ขึ้น

29 ธันวาคม 2539

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดแสดงระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2539 - 8 มกราคม 2540 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ 31 ชิ้น และมีศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมแสดงมากกว่า 1,100 ชิ้น เมื่อสิ้นสุดนิทรรศการ ศิลปินได้บริจาคผลงานจำนวน 108 ชิ้น ให้เป็นสมบัติของหอศิลป์ต่อไป

2 มีนาคม 2540​​​​​​​

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดการแสดง JAZZ IN THE PARK คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ณ สวนสราญรมย์ คณะกรรมการฯ นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจำนวน 4,145,817.50 บาท ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงพระราชทานเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินทุนในการจัดตั้ง 'มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดการแสดง JAZZ IN THE PARK คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ณ สวนสราญรมย์ คณะกรรมการฯ นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจำนวน 4,145,817.50 บาท ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงพระราชทานเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินทุนในการจัดตั้ง 'มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'

ธันวาคม 2540

จัดตั้ง 'มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นเลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการก่อสร้าง

กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2541​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดย นายพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อกำหนดของการประกวดแนวความคิดในการออกแบบและประกวดแบบอาคารเพื่อก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวดแบบฯ และดำเนินการประกวดแบบตามลำดับ

30 พฤศจิกายน 2541​​​​​​​

ผู้ชนะการประกวดแบบอาคาร คือ บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และได้รับมอบหมายให้พัฒนาแบบต่อไป เพื่อใช้ในการประกวดราคาก่อสร้าง

7 พฤษภาคม 2543​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ทำพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ในงานมีนิทรรศการแบบที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลตามลำดับ

28 กรกฎาคม 2543​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​

นายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สิงหาคม 2543​​​​​​​

นายสมัคร สุนทรเวช ได้เปลี่ยนนโยบายโครงการสร้างหอศิลป์ฯ จากเดิมที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้สร้างโดยกระบวนการร่วมคิดร่วมตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เป็นกำหนดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบอาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า ลานจอดรถ และหอศิลป์ ซึ่งกลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ โดยให้เอกชนลงทุนสัมปทานเช่าพื้นที่ในส่วนพาณิชย์ของอาคาร นานถึง 30 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างอันเป็นสาระสำคัญของกรอบความคิดและปรัชญาเดิมโดยสิ้นเชิง

31 สิงหาคม 2543​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นมี ผ.ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ยื่นจดหมายทักท้วงการระงับโครงการหอศิลป์ฯ และขอเข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อรับฟังคำชี้แจงถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงโครงการฯ

26 กันยายน 2543​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดประชุมอย่างเป็นทางการ ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการแสดงพลัง และความคิดเห็น คัดค้านการยกเลิกโครงการหอศิลป์เดิม

27 กุมภาพันธ์ 2544​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดประชุมอย่างเป็นทางการ ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการแสดงพลัง และความคิดเห็น คัดค้านการยกเลิกโครงการหอศิลป์เดิม 

3 มีนาคม 2544​​​​​​​

จัดชุมนุมศิลปินครั้งแรก ที่บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และได้ประกาศจัดตั้งเครือข่ายศิลปินรณรงค์เพื่อหอศิลป์ร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องหอศิลป์แบบเดิม เช่น ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการทำประชาพิจารณ์การก่อสร้างหอศิลปะกรุงเทพฯ

15 มีนาคม 2544​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทางศิลปะ ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะ นักร้อง นักแสดง นักศึกษาทางศิลปะ ประชาชนที่สนใจ จัดอภิปรายกรณีล้มเลิกหอศิลป์ร่วมสมัย ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

20 มีนาคม 2544​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้บริหารสถาบันทางศิลปะที่เกี่ยวข้อง ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ สื่อมวลชน และนักศึกษาศิลปะ ฯลฯ ออกแถลงการณ์ร่วมขอให้กรุงเทพมหานครทบทวนโครงการ และชี้แจงเหตุผลในการยกเลิกการก่อสร้างหอศิลป์ตามแบบเดิม ณ ห้องประชุมคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

1 มิถุนายน 2544​​​​​​​

ประธานสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย อาจารย์ปรีชา เถาทอง ส่งหนังสือร้องเรียนและขอความเป็นธรรม กรณีระงับการก่อสร้างหอศิลป์ไปยัง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีว่าการทบวงวิทยาลัย, ประธานรัฐสภา, ประธานสภากรุงเทพมหานคร, ประธานกรรมาธิการด้านศิลปวัฒนธรรม และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

9 มิถุนายน 2544​​​​​​​

มีการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อร่วมสมทบทุนเครือข่ายศิลปินฯ ที่โรงแรมฟอร์จูน มีผลงานร่วมแสดงกว่า 100 ชิ้น และเข้าร่วมประมูล 15 ชิ้น มีรายได้ (หลังหักค่าใช้จ่าย) รวมเป็นเงินกว่า 600,000 บาท

28 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2544

จัดมหกรรมศิลปะเพื่อประชาชน 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ณ บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และประกาศเริ่มโครงการภาพเขียนยาวที่สุดในโลก

18 สิงหาคม - 16 ตุลาคม 2544

มีการรณรงค์ 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ในชุมชนและสถาบันต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

20 กันยายน 2544​​​​​​​

อาจารย์ปรีชา เถาทอง และหงา คาราวาน พร้อมเครือข่ายศิลปินฯ ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ทำประชาพิจารณ์หอศิลป์

30 ตุลาคม 2544​​​​​​​

คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มีมติเสนอให้กรุงเทพมหานคร จัดทำประชาพิจารณ์

3 พฤศจิกายน 2544​​​​​​​

มีการเดินขบวนศิลปะที่ยาวที่สุดในโลก โดยสมาชิกเครือข่ายศิลปินฯ และอาสาสมัคร ประมาณ 100 คน เริ่มต้นที่สี่แยกปทุมวัน และได้จัดขบวนแถวยาวต่อเนื่องเรียงหนึ่ง ช่วยกันถือภาพเขียนที่เย็บต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ ละ 5 ภาพ จนได้แถวยาวประมาณ 4 กิโลเมตรภาพที่เหลือบรรทุกรถปิคอัพ 3 คัน ลำเลียงกันไปจากสี่แยกปทุมวันไปศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า แล้วนำภาพทั้งหมดจำนวน 4,000ภาพ ออกปูเต็มพื้นที่หน้าที่ทำการกรุงเทพมหานคร แสดงภาพอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง และนำแถลงการณ์ปิดไว้ที่ประตูทางเข้า กทม.

3-11 เมษายน 2545​​​​​​​

มีการจัดแสดงผลงานศิลปะชุด 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ณ หอศิลป์ ตาดู ซึ่งทางคณะกรรมการเครือข่ายฯ ได้คัดเลือกผลงานชิ้นเยี่ยม 150 ชิ้น จาก 4,000 ชิ้น ออกแสดงเพื่อจำหน่ายหารายได้สมทบทุนการรณรงค์เพื่อหอศิลป์ นอกจากนี้ได้จัดกิจกรรมประมูลผลงานชั้นเยี่ยมยอดอีก 15 ชิ้น

9 เมษายน 2545​​​​​​​

ศาลปกครองกลางได้ประทับรับฟ้อง คดีดำหมายเลขที่ 636/45 ภายหลังที่ อาจารย์ปรีชา เถาทอง นายจอน อึ้งภากรณ์ นายสุรชัย จันทิมาธร นายจุมพล อภิสุข นายวรินทร์ เทียมจรัส กับพวก รวม 9 คน ยื่นคำฟ้อง ให้มีคำสั่งให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณตามกฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 59 ทำให้โครงการที่จะผลักดันหอศิลป์ในศูนย์การค้าต้องหยุดลง

พฤษภาคม - มิถุนายน 2547

ในช่วงการรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ เครือข่ายศิลปินฯ ได้จัดประชุมเพื่อขยายความร่วมมือกับชุมชน และองค์กรทางด้านวัฒนธรรม รวมถึงภาคประชาชน จัดตั้งเป็น 'เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' (People's Network for Bangkok Art & Culture Centre)

8 สิงหาคม 2547​​​​​​​

มีการแถลงข่าวครั้งแรก ณ บ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อเดินหน้าจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนและผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการมีหอศิลป์

22-28 สิงหาคม 2547​​​​​​​

เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม 'Art Vote' โหวตเพื่อหอศิลป์ บริเวณสวนสาธารณะ สี่แยกปทุมวัน จัดคูหาลงประชามติเพื่อลงคะแนนว่า ชาวกรุงเทพฯ ต้องการหาศิลป์หรือไม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมรายชื่อให้ครบ50,000 รายชื่อ และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการคนใหม่ต่อไป รวมทั้งมีการจัดแสดงกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ นอกจากนี้ให้อาสาสมัครลงพื้นที่ และจัดคูหาลงคะแนนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนลงคะแนนสนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์เครือข่ายฯ ได้เดินทางเข้าพบผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ เพื่อชี้แจงถึงประโยชน์ของการมีหอศิลป์ และผลักดันให้หอศิลป์เป็นหนึ่งในนโยบายของกรุงเทพมหานคร

28 สิงหาคม 2547​​​​​​​

มีการนับจำนวนรายชื่อผู้สนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์ หนึ่งในเสียงโหวตนั้นคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา

6 กันยายน 2547​​​​​​​

หลังจากที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้นำเรื่องโครงการหอศิลป์เข้าหารือ ซึ่งก็ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'

24 มกราคม 2548​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีคำสั่งที่ 231/2548 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขึ้น โดยมีผู้ว่าฯ เป็นประธาน พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินการก่อสร้าง แนวทางการบริหารจัดการ และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการหอศิลปฯ คือ1. คณะกรรมการอำนวยการก่อสร้าง โดยมี ศ.เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร2. คณะอนุกรรมการวางนโยบายการบริหารจัดการ โดยมี นายฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานนโยบายการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร3. คณะกรรมการรณรงค์เครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยมี ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินกิจกรรมในการรณรงค์ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้มีมติให้ก่อสร้างหอศิลปฯ ตามโครงการเดิม คือ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน ใช้แบบก่อสร้างที่ชนะการประกวด โดยบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และให้โครงการหอศิลปฯ ดังกล่าวแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2549 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา รวมทั้งให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และนันทนาการของประชาชนตามยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไปสภากรุงเทพมหานครอนุมัติงบประมาณ 504 ล้านบาท เพื่อการดำเนินการก่อสร้างอาคาร 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'

15 กรกฎาคม 2548​​​​​​​

จัดการประชุมร่วมพิจารณา 'ร่างปฏิญญาศิลปวัฒนธรรม' ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่จะเป็นแนวทางให้ทั้งภาครัฐ (กรุงเทพมหานคร) และภาคประชาชน (ตัวแทนองค์กรศิลปะจากทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สถาบัน ศิลปิน และเยาวชน นักศึกษา และสื่อมวลชน) แสวงหาความร่วมมือกันที่จะพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม

19 สิงหาคม 2548​​​​​​​

มีการลงนามใน 'ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครและพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม' ณ อุทยานเบญจศิริจากนั้นได้มีการจัดตั้ง 'มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการอาคารหอศิลปฯ

20 กันยายน 2548​​​​​​​

ลงนามสัญญาก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาก่อสร้าง 570 วัน โดยบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

22 ธันวาคม 2549​​​​​​​

งานแถลงข่าวความคืบหน้าการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บนลาน BTS สนามกีฬาแห่งชาติ

19 - 22 เมษายน 2550​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัดการแสดงนิทรรศการจิตรกรรม 'เติมศิลปะให้ชีวิต...สร้างศิลปินให้กรุงเทพฯ'

17 กรกฎาคม 2550​​​​​​​

จดทะเบียนตั้งมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานมูลนิธิ

30 พฤศจิกายน 2550​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัด Soft Launch เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารหอศิลปฯ

เมษายน - พฤษภาคม 2551​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัดงานแคมป์ศิลปะ 'เราจะโตไปด้วยกัน' สนับสนุนโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ ลานกิจกรรมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด เขต ปทุมวัน

พฤษภาคม 2551​​​​​​​

การก่อสร้างอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครแล้วเสร็จสมบูรณ์ หลังจากได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี

29 กรกฎาคม 2551​​​​​​​

เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

BACC Digital Archive Searching

ระบบสืบค้น และจัดเก็บเอกสารอิเลคโทรนิกของ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

www.weipinxgt.com www.hdf598.com www.rzkfqcg.com www.ywd100.com www.gzunitrade.com www.5aziyuan.com www.alsclean.com www.ynzsgc.com www.sdldtg.com www.i-sarima.com www.aijianbing.com www.xushiweigou.com www.haoyulongsp.com www.binqimotor.com www.kenminamipainting.com www.erli30.com www.cdhg88.com www.horse-home.com www.myjxzp.com www.dgselling.com www.chenlongjiancai.com www.zhongkuanwuliu.com www.huameide-sz.com www.shouxitongban.com www.scgcjx0207.com www.qdshengqian.com www.3w800.com www.kl-ad.com www.imshenghuo.com www.xxanlhw.com www.hfkaibo.com www.wlwservice.com www.jxguanghua.com www.zkld2009.com www.duanem.com www.hzwjzs.com www.chdlav.com www.lyxszl.com www.xinlaihuijiaju.com www.hrwholecare.com www.yingyang168.com www.honeywell-lk.com www.yushusanjiangyuanbao.com www.kangningyiyuan.com www.xzkjsxx.com www.jztushuguan.com www.gksswh.com www.jakjxx.com www.yyxlzw.com www.dwdzxx.com www.shszjzx.com www.skf-nsk-fag-ntn.com www.shanghailvhua.com www.yomandoors.com www.wenchengvote.com www.cn-sportsprotectors.com www.fuyixuantc.com www.jiayongdiant.com www.reshousuoj.com www.wuxitianzhile.com www.lsallx.com www.ravor-system.com www.jhbrq.com www.mirrvoll.com www.likekiwi.com www.hbclzqcj.com www.cqqfbxgm.com www.nmgdwjlw.com www.zmdjtzfw.com www.xunchengchaju.com www.gssx-pxgl.com www.sha-jing.com www.zysjmbj.com www.131701.com www.tlyhyy.com www.hbfbfz.com www.hljpadm.com www.fenxiangzhuan005.com www.jv001.com www.ruiyucnc.com www.zhuochenglaser.com www.zhaoshudeng.com www.facebook-france.com www.yuxianchu.com www.139yes.com www.lazonaentertainment.com www.eastofedens.com www.latelier-gourmet.com www.kaisyomaru.com www.tenglonghb.com www.bdsmfreevids.com www.gzshbzw.com www.ymgb0991.com www.setonohanayome.com www.attachmentmoms.com www.njmzyjg.com www.hi4r.com www.exotic-nails.com www.ef25.com www.lslcxx.com