Documents
ฉายาลักษณ์สยาม ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453
Download PDF(Login required)- Reference Codes
01EXH-01-2016-09-DOC-05
- Title
เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ — ฉายาลักษณ์สยาม ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453
- Date
07.03.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และบริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด
- Administrative / Biographical History
ประวัติศิลปินร่วมสมัย:
เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช นักออกแบบกราฟฟิกและนักออกแบบตัวอักษร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท สาขานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เอกลักษณ์เคยแสดงผลงานในนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการ Sounding Out Creativity ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2553, นิทรรศการเมืองจมน้ำ (Let’s Panic) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2554 และนิทรรศการตื่นแต่เนิ่นๆ (Wake Up Early) ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเป็น Type Director บริษัท Cadson Demak ประเทศไทย, Type Designer บริษัท t26 ประเทศสหรัฐอเมริกา และอาจารย์สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ขวัญชัย ลิไชยกุล ศิลปินวาดเส้น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขวัญชัยเคยแสดงผลงานทั้งนิทรรศการกลุ่มและเดี่ยว เช่น นิทรรศการกรุงเทพ 226 (Bangkok 226) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2551, นิทรรศการ Ideal City ณ ภูเก็ต 346 (Phuket 346) ในปี พ.ศ. 2553, นิทรรศการ Wonderful Thai Friendship ณ WTF Gallery & Café ในปี พ.ศ. 2553, นิทรรศการฉันคือหลิวเสี่ยวโป (I Am Liu Xiaobo) ณ WTF Gallery & Café ในปี พ.ศ. 2554, นิทรรศการดุลยภาพ (Equilibrium) ณ Numthong Gallery at Aree ในปี พ.ศ. 2555 และ นิทรรศการ Under Construction ณ Numthong Gallery at Aree ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นเล็ก เกียรติศิริขจรศิลปินภาพถ่าย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ไปศึกษาต่อทางด้านภาพถ่ายที่ The Arts Institute at Bournemouth ประเทศอังกฤษ เล็กเคยแสดงผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น นิทรรศการ Photoquai Photo Festival ณ The Quai Branley Museum ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2554, นิทรรศการ Homo Empathicus ณ Bredaphoto ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2555, นิทรรศการ The Russian Moment ณ The State Russian Museum ประเทศรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2556, นิทรรศการหลงสวรรค์ (Lost in Paradise) ณ Kathmandu Photo Gallery ในปี พ.ศ. 2557 นิทรรศการ อัตตะ ลังเล (Detour of The Ego) ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2558 และนิทรรศการ อยากลืมกลับจำ อยากจำกลับลืม ([un]forgotten) ในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น
นักรบ มูลมานัส นักออกแบบกราฟิกและนักทำภาพประประกอบ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักรบมีความสนใจในงานปะติด (collage) ที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมในอดีตและวัฒนธรรมร่วมสมัย มีผลงานภาพประกอบตีพิมพ์ลงในนิตยสารต่างๆ เช่น นิตยสารดิฉัน, นิตยสาร Giraffe และนิตยสารในเครือ A Book นอกจากนี้นักรบยังได้รับรางวัลชนะเลิศ (ภาพถ่าย) ASEAN-KOREA multimedia competition 2012 ประเทศเกาหลีใต้ และรางวัลชนะเลิศ (ผลงานคอลเลคชั่นเครื่องหนัง) Thailand Innofashion Award 2015
ไพโรจน์ ธีระประภา นักออกแบบกราฟิกและนักออกแบบตัวอักษร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไพโรจน์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบแนวไทยประยุกต์ศิลป์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มแรงบันดาลไทย (Thai Inspiration Group) ผู้ก่อตั้งสำนักออกแบบเซียมไท้ (SiamType™ Foundry) และอาจารย์พิเศษหลายสถาบัน จนทำให้ได้รับรางวัลศิลปินศิลปาธร สาขาเรขศิลป์ จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2557
พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ศิลปินนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิเชษฐ์มีผลงานทั้งทางด้านการกำกับการแสดง การออกแบบท่าเต้นและการเต้นมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ก่อตั้งสถาบันการเต้น Pichet Klunchun Dance Company จนทำให้ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลศิลปินศิลปาธร ศิลปะการแสดง จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2549, รางวัล ‘Routes’ ECF Princess Margriet Award for Cultural Diversity จาก European Cultural Foundation ในปี พ.ศ. 2551, รางวัล Chevalier of the French Arts and Literature Order จาก The French Ministry of Culture ในปี พ.ศ. 2555 และรางวัล John D. Rockefeller 3rd จากสภาวัฒนธรรมแห่งเอเชีย ในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้น
พินิตย์ พันธประวัติ ศิลปินภาพพิมพ์แม่พิมพ์แกะสลัก (engraving artist) จบการศึกษาจากวิทยาลัยเพาะช่าง พินิตย์เคยแสดงผลงานในนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้ง 8 – 11 ณ โรงแรมมณเฑียร ในปี พ.ศ. 2546 – 2549, นิทรรศการ Neo Black 2009 ณ แกรนด์ฮอลล์ ริเวอร์ซิตี้ ในปี พ.ศ. 2552, นิทรรศการศิลปะของชมรมศิลปะธนาคารแห่งประเทศเทศไทย ณ ธนาคารแห่งประเทศเทศไทย ในปี พ.ศ. 2556 และนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันพินิตย์ทำงานที่โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยสืบสกุล ศรัณพฤฒิ ศิลปินภาพถ่าย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบสกุลเคยแสดงผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น นิทรรศการ International Print Exhibition Miniture 6 Norway ณ ประเทศนอร์เวย์ ในปี พ.ศ. 2534, นิทรรศการ Second International Biennial of Mini – Prints ณ ประเทศมาเซโดเนีย ในปี พ.ศ. 2546, นิทรรศการ ภาพผีบอก ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม ม.ศิลปากร ในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้น และนอกจากยังมีผลงานวิชาการและผลงานวรรณกรรมต่างๆ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้งภาควิชาสื่อผสม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อุกฤษณ์ สงวนให้ ศิลปินวิดีโออาร์ต จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลงานของอุกฤษณ์ถูกนำไปฉายในเทศกาลภาพยตร์นานาชาติและพิพิธภัณฑ์ศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Sarajevo Film Festival ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในปี พ.ศ. 2556, Sharjah Biennale, ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปี พ.ศ. 2556, นิทรรศการ CROSS_STITCH ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2556 และนิทรรศการ Proximity ในเทศกาล inSPIRACJE ครั้งที่ 10 ณ National Museum in Szczecin ประเทศโปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้น
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 09 กันยายน – 06 พฤศจิกายน 2559
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9
ครั้งแรกในเมืองไทยของนิทรรศการภาพถ่ายโบราณสยามเมื่อแรกมีจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 5 กว่า 150 ภาพ ซึ่งต้นฉบับเก็บอยู่ในต่างประเทศ ภาพถ่ายโดยช่างภาพต่างชาติและคนไทยยุคบุกเบิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักสยามในเวลาต่อมา ภาพเก่าที่คนไทยไม่เคยเห็นเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมให้กระจ่างไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระรูปเจ้านาย ภาพขุนนางและราษฎร ภาพสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ภาพเหตุการณ์และพระราชพิธีสำคัญวิถีชีวิตคนไทยในกรุงและชนบทและนาฏศิลป์โขนละครลิเกจากภาพโบราณ ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อในมุมมองร่วมสมัย ด้วยผลงานของศิลปินที่ทำให้เห็นมิติและความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปของเมืองมหาชน เศรษฐกิจและสังคม วิถีชีวิตการสัญจรทางน้ำและบก ศิลปะการแสดง รวมไปถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่สำคัญสร้างวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ต่อยอดการตีความ และเป็นการสืบต่ออายุภาพเหล่านี้ - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Related units of description
Press release
- Note
ผู้สนับสนุนหลัก: บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ผู้สนับสนุนโครงการ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
ช่างภาพ: บาทหลวงลาร์โนดี, เฟเดอร์ เจเกอร์, ปิแอร์ รอซิเอร์, คาร์ล บิสมาร์ค, ฟรานซิส จิตร, จอห์น ทอมสัน, เฮนรี่ ชูเรน, กุสตาฟ ริชาร์ด แลมเบิร์ต, แม็กซ์ มาร์ติน, วิลเลียม เคนเนท ลอฟตัส, ฟริทซ์ ชูมานน์, โจคิม แอนโทนิโอ, โรเบิร์ต เลนซ์, เอมิล กรูท และ ไคชิ อิโซนากะ - Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
08.03.2018