- Reference Codes
01EXH-01-2016-03-DOC-03
- Title
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “ไทยเนตร” : Artist Forum #2 : “เพศกำหนดงานศิลปะ หรืองานศิลปะกำหนดเพศ”
- Date
11.01.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
กระทรวงวัฒนธรรม
- Name of co-creator (s)
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครม, หอศิลป์ซาทชิ,
บริษัท พรูเดนเชียลประกันชีวิต จำกัด และพาราลเลล คอนเทมโพรารี่ อาร์ต - Administrative / Biographical History
เกี่ยวกับศิลปิน
กวิตา วัฒนะชยังกูร
ชื่อผลงาน : ตาชั่ง, คั้น (2558), โกยผง, ผ้า (2557), ไสน้ำแข็ง, กรอกน้ำ (2556)
ผลงานของกวิตา เชื่อมโยงการแสดง สื่อและการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้าด้วยกัน วีดิทัศน์และภาพถ่ายของเธอแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดทางร่างกายและจิตใจ เธอใช้ร่างกายของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะโดยอ้างอิงจากภาพวาดทางประวัติศาสตร์ของชีวิตผู้หญิงที่อยู่ภายในบ้าน ในผลงานชื่อชุด “The Carrying Pole” เธอได้ใช้ตัวเองเป็นไม้หาบในการเดินทางเพื่อข้ามผ่านข้อจำกัดของความเป็นผู้หญิงโฆษิต จันทรทิพย์
ชื่อผลงาน : ลิลลี่ โอวารี่ (วันแห่งความรัก 2537)
โฆษิตได้รับทุนการศึกษาของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในปี 2546 ให้ไปศึกษาที่ Academy of Media Arts เมืองโคโลญจน์ และ Academy of Visual Art เมืองไลป์ซิก ผลงานที่เขาได้สร้างสรรค์หลังจากนั้น ได้แก่ ภาพวาด ภาพเขียน การแสดง ศิลปะจัดวาง วีดิทัศน์ ศิลปะแนวคอมพิวเตอร์ภาพนิ่ง และภาพยนตร์ หัวข้อที่เขาสนใจ ได้แก่ ความหมายของความรักและความปรารถนาซึ่งอยู่เหนือเชื้อชาติและศาสนานพไชย อังควัฒนะพงษ์
ชื่อผลงาน : Modern Love 1 (2539), ส่วนหนึ่งของ rak-lhong 1 (2555)
นพไชยเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ด้วยการนำเสนอผลงานจากวัสดุสำเร็จรูป ซึ่งคงความงามและสื่อถึงข้อบกพร่องเฉพาะบุคคลที่คลุมเครือ หลังจากที่เขาได้พำนักอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 14 ปี แล้วกลับมาประเทศไทย เมื่อปี 2537 และได้เข้าร่วมกับกลุ่มศิลปินนิรนาม ชื่อ “Nuts Society” ในการใช้ศิลปะกระตุ้นให้เกิดคุณธรรมและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในสังคม ผลงานศิลปะจัดวางชิ้นใหม่ของเขาได้เนรมิตวัตถุสิ่งของทั่วไปในชีวิตประจำวันและแสงไฟนีออน ให้กลายเป็นประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์และตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้ชมปวีณา รักษ์ศาสนา
ชื่อผลงาน : จินตภาพแห่งชีวิต หมายเลข 1, จินตภาพแห่งชีวิต หมายเลข 2, กาลครั้งหนึ่งที่ไหนสักแห่ง….., ฉันอยากจะเป็น….., จินตภาพแห่งชีวิต หมายเลข 3 (2558), คู่รัก, ฝัน……., ราชินี (2557)
ปวีณาเป็นศิลปินรุ่นใหม่ชาวมุสลิม ผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ในประเทศอิตาลี เธอนำเสนอภาพเก้าอี้ ผ่านการเย็บ ตัด และปะผ้าอย่างซับซ้อน เป็นสื่อสัญลักษณ์แทนตัวเธอและคนคุ้นเคย เพื่อบอกเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตนเอง เช่น ภาพของเก้าอี้ตัวหนึ่งที่กำลังล้ม บนฉากหลังที่ทำจากผ้าพันแผล สื่อถึงความอ่อนแอทางจิตใจ และความล้มเหลวที่จะยืนหยัดอยู่ได้ - Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 11 มิถุนายน 2559
สถานที่: ณ เอนกประสงค์ชั้น 1
นิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย ไทยเนตร จาก 23 ศิลปินทีศิลปินหญิงทั้งหมด 5 คน แต่ละคนมีลักษณะงานและการใช้สื่อที่แตกต่างกัน โดยกิจกรรมการศึกษานิทรรศการ Artist Forum ครั้งที่สอง “เพศกำหนดงานศิลปะ หรืองานศิลปะกำหนดเพศ” เชิญศิลปินในนิทรรศการทั้งชายและหญิง “กวิตา วัฒนชยังกูร” ศิลปินหญิงที่วัดสมรรถภาพร่างกายตัวเองกับกิจวัตรงานบ้าน เช่น กวาดบ้าน คั้นน้ำส้ม หรือยกของหนัก “โฆษิต จันทรทิพย์” ผลงานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในการแต่งงาน โดยมีทะเบียนสมรส ตุ๊กตายาง และถุงยางอนามัยเป็นศิลปะรูปแบบจัดวาง “นพไชย อังควัฒนะพงษ์” ผลงาน Modern Love 1 ศิลปะจัดวางของหม้อหุงข้าวหลากหลายขนาด และ “ปวีณา รักษ์ศาสนา” มุสลิมผู้หญิง ที่ใช้เทคนิคการปักเย็บรูปเก้าอี้ หรือประกอบผ้าหลายชิ้นเป็นพื้นหลัง
ความพิเศษในการพูดคุยครั้งนี้จะใช้การล้อมวงคุย โดยศิลปิน 4 ท่าน จากนิทรรศการ Thailand Eye กวิตา วัฒนะชยังกูร โฆษิต จันทรทิพย์ นพไชย อังควัฒนะพงษ์ และปวีณา รักษ์ศาสนา ร่วมวงสนทนากับกลุ่มหลากหลายทางเพศอาชีพอื่นๆ เช่น เช่น นักข่าว นักศิลปะบำบัด และช่างภาพ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายกิจกรรมการศึกษา
- Related units of description
Press release
- Note
การบรรยายโดย
1. กวิตา วัฒนะชยังกูร
2. โฆษิต จันทรทิพย์
3. นพไชย อังควัฒนะพงษ์
4. ปวีณา รักษ์ศาสนา
ผู้ดำเนินรายการ: อโนพร เครือแตง - Archivist’s Note
EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY : กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “ไทยเนตร”
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
12.01.2018