Images
ครอสโอเวอร์: ศิลปะ&นักสะสม
- Reference Codes
01EXH-01-2015-01-IMG-01
- Title
ภาพบรรยากาศ — ครอสโอเวอร์: ศิลปะ&นักสะสม
- Date
16.01.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
87 ภาพ
- Administrative / Biographical History
เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผลงานศิลปะชิ้นสำคัญมากมายสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ศิลปะ ในขณะเดียวกันยังมีผลงานศิลปะจำนวนมากที่ได้รับการเก็บรักษาโดยนักสะสม กลุ่มผู้อุปถัมภ์เอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน หรือองค์กรเอกชนต่างๆ ผลงานเหล่านี้ไม่ใช่เพียงทรัพย์สินที่ถูกซื้อหามาเพื่อชื่นชมเท่านั้น แต่การสะสมของพวกเขาก็คือการเก็บหลักฐาน และรวบรวมบันทึกจากผลงานศิลปะที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้มักถูกมองข้ามจากวงวิชาการทางศิลปะ ในขณะที่ผลงานจากการสะสมของพวกเขาได้แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยอย่างน่าสนใจ ศิลปินและผลงานศิลปะล้วนมีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์ทางสังคม ผู้สะสมหรือองค์กรต่างๆ เก็บรักษาด้วยเหตุผลที่ต่างกัน ไม่ว่าด้วยความชื่นชอบส่วนตัว มูลค่า หรือด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นที่น่าเสียดายหากผลงานในการสะสมเหล่านี้จะไม่ได้ถูกศึกษาหรือทำการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง การจัดนิทรรศการนี้เริ่มต้นด้วยการสำรวจ ซึ่งแยกออกมาได้เป็นสามขั้นตอนคือ การสำรวจชิ้นงานสำคัญทางประวัติศาสตร์ การสำรวจวิธีการสะสม และสำรวจทรรศนะของนักสะสม ไม่ว่าจะเป็นผลงานจากศิลปินชั้นเยี่ยม บรมครู หรือผลงานศิลปะที่มีคุณภาพแต่ศิลปินไม่เป็นที่รู้จัก รวมไปถึงผลงานทรงคุณค่าที่คนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เห็น ซึ่ง “ทรรศนะ” ที่ได้จากนักสะสมจากหลากสาขาอาชีพนี้จะสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อผลงานศิลปะอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้เราเห็นพื้นที่ตรงกลางระหว่างประวัติศาสตร์ และได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนวงการศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการแลกเปลี่ยนซื้อขายงานศิลปะ หรือวิธีการมองภาพรวมของประวัติศาสตร์ศิลปะที่ต่างออกไปจากนักวิชาการ ทรรศนะหรือรสนิยมของนักสะสมอาจจะเป็นสิ่งสำคัญต่อทิศทางการสร้างสรรค์ของศิลปินนอกเหนือไปจากบทบาทของสถาบันทางศิลปะต่างๆ การเก็บข้อมูลของนักสะสมเอกชนนั้นจะเป็นวิธีหนึ่งที่เราคาดหวังว่าจะสะท้อนภาพประวัติศาสตร์ที่มีแง่มุมแตกต่างออกไป เพราะในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะที่ผ่านมา ผู้ศึกษาหรือนักวิชาการศิลปะก็ยังต้องพึ่งพาข้อมูลบางอย่างจากองค์กรหรือบุคคลที่เคยอยู่ในเหตุการณ์หรือเกี่ยวข้องกับของการจัดแสดง สะสม และการแลกเปลี่ยนผลงานศิลปะเหล่านี้
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 20 กุมภาพันธ์ – 14 มิถุนายน 2558
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
นิทรรศการนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการได้สำรวจ การคัดเลือกศิลปินหรือชิ้นงานในการสะสมที่ผู้คนทั่วไปจะได้ชื่นชม และที่สำคัญคือบทบาทของผู้สะสมงานศิลปะ ทรรศนะหรือความคิดเห็นของนักสะสมที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “สุนทรียภาพ” ของงานศิลปะ สะท้อนภาพของ “คุณค่า” และ “มูลค่า” โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวในโลกของศิลปินและวิธีการสะสมครอบครองของผู้อุปถัมภ์ ศึกษาความเคลื่อนไหวทางเวลา สถานการณ์ หรือบริบทที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เพราะวงการศิลปะนั้นไม่ได้เป็นเพียงภาพตัวแทนของความคิดศิลปิน ประวัติศาสตร์ศิลปะควรสะท้อนการมีตัวตนอยู่ของนักสะสมงานศิลปะเหล่านี้ด้วยเช่นกันนิทรรศการ crossover : The Unveiled Collection ต้องการแสดงให้เห็นร่องรอยของการ “ทับซ้อน” ระหว่างพัฒนาการทางศิลปะ และวิธีการสะสมผลงานที่เกิดขึ้นกับวงการศิลปะในประเทศไทย สร้างความชัดเจนของแวดวงศิลปะที่ขับเคลื่อนอย่างมีพลวัตด้วยศิลปินไทยผ่านสายตาของผู้อุปถัมภ์ นำเสนอหลักฐานสนับสนุนที่ต้องการการสำรวจย้อนกลับไปในวันที่ศิลปินแถวหน้าของไทยเหล่านี้ร่วมกันสร้างอัตลักษณ์ให้กับทิศทางศิลปะในประเทศไทยจนเข้มแข็ง จากความเป็น “สมัยใหม่” สู่ความเป็น “ร่วมสมัย” ที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งความขัดแย้งและประนีประนอมระหว่างประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นสมัยใหม่ คุณค่าอันแฝงอยู่ในกิจกรรมการสะสมนั้น นอกเหนือจากเรื่องของมูลค่าแล้ว การสะสมได้สะท้อนวิถีทางของสุนทรียภาพ สัมพันธ์กับกาลเวลา เหตุการณ์ สถานที่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วนักสะสมเป็นบุคลากร หรือสถาบันที่สำคัญอันนึงในแวดวงศิลปะ ทราบกันดีว่ากิจกรรมการสะสมต้องใช้เวลามากมายกับการศึกษาผลงาน การเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ และใช้ทุนทรัพย์เพื่อการอุปถัมภ์ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเสียงสะท้อนให้เกิดองค์ความรู้ด้านการจัดการต่างๆ ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะในด้านการดูแลรักษา การขนย้าย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบเช่นที่นิทรรศการนี้มีแนวคิดริเริ่มเพื่อเติมเต็มความยั่งยืนของผลงานศิลปะและประสิทธิภาพของการนำออกแสดงต่อไปในอนาคต
นิทรรศการ crossover : The Unveiled Collection จึงมีเจตนาสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและวงการศิลปะที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการยกระดับความสำคัญของนักสะสมไทยให้มีบทบาทสำคัญและชัดเจนมากขึ้น รวมไปถึงการมีบทบาทด้านทรรศนะเกี่ยวกับสุทรียภาพ ด้วยการเชื้อเชิญให้นักสะสมเข้ามามีส่วนร่วม แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะการนำเสนอผลงานศิลปะชิ้นสำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อเผยแพร่เป็นองค์ความรู้สู่สาธารณะชน
- Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Related units of description
รูปภาพ
- Note
นักสะสม
กิตติโชติ หริตวร, กิตติภรณ์ ชาลีจันทร์, ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที, ชนะ อัษฎาธร , ฌ็อง มิเชล เบอร์เดอเล, ณรงค์ อิงค์ธเนศ, ดร. ดิสพล จันศิริ, ทัชชะพงศ์ ประเวศวรารัตน์, ปริญญ์ จิราธิวัฒน์, พงศา อธิรกุล, พงษ์ชัย จินดาสุข, เพชร โอสถานุเคราะห์, ภัคพงศ์ เช็ง, เยาวณี นิรันดร ช่อวิเชียร, ดร. วุฒิพงศ์ กิตติธเนศวร,
นพ. สมรัช หิรัญยะวะสิต - Archivist’s Note
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ
1. กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “Crossover The Unveiled Collection ครอสโอเวอร์ : ศิลปะกับนักสะสม”
กิจกรรมเสวนา ในหัวข้อ “การสะสมผลงานศิลปะในประเทศไทย : การสนับสนุน ส่งเสริม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนวงการศิลปะ”
2. กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “Crossover The Unveiled Collection ครอสโอเวอร์ : ศิลปะกับนักสะสม”
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การดูแลรักษา การจัดเก็บและทำทะเบียนงานศิลปะร่วมสมัย” - Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
17.01.2018