Images
CROSSING THE DATELINE (ขยายเวลาจัดแสดง)
- Reference Codes
01EXH-01-2017-05-IMG-05
- Title
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ Crossing the Dateline – การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัยอีสานไปสู่การมีส่วนร่วมแก่ท้องถิ่นในจังหวัดเลย
- Date
26.12.2017
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
14 ภาพ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Administrative / Biographical History
บุศยมาศ นันทวัน: ใช้งานศิลปะสร้างความจริงในอุดมคติและการสร้างสัญลักษณ์ของการมีส่วนร่วมขึ้นมาเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล
ลงทุนลงแรงกันภายในชุมชน และทำให้ความจริงในอุดมคตินั้นอยู่เหนือความเป็นมนุษย์และเป็นอมตะ บุศยมาศยังได้นำรูปปลาที่ถูกลดทอนรายละเอียดลงเพื่อใช้แทนสัญลักษณ์ทางอุดมคติ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวศิลปิน ปลา และสายน้ำ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว บุศยมาศได้สร้างความจริงขึ้นมาทั้งจากตนเอง และการร่วมแรงร่วมใจกันของสังคม ความจริงที่ยังคงต้องถูกตีความกันต่อไป แม้มันจะอยู่ในอุดมคติก็ตาม - Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 13 พฤษภาคม 2560
สถานที่: ห้อง Friends of bacc ชั้น 6
ศิลปะและชุมชน: จากงานวิจัยหัวข้อ “การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัยอีสานไปสู่การมีส่วนร่วมแก่ท้องถิ่นในจังหวัดเลย” ลงพื้นที่ชุมชนพูดคุยและจัดกิจกรรมกับสมาชิกผู้ใหญ่จนถึงเด็กน้อย ให้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกลักษณะภาพวาดจิตกรรมภายในโบสถ์วัดในชุมชน ในลักษณะกระบวนการที่แตกต่างระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก ทำให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่คิด คัดเลือก จนถึงวาดลงบนผนังโบสถ์ โดยเน้นไปที่ความตั้งใจระหว่างการวาดมากกว่าความสวยงามเมื่อผนังโบสถ์สำเร็จเรียบร้อย (ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ม.ล. บุศยมาศ นันทวัน) - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายกิจกรรมการศึกษา
- Related units of description
รูปภาพ
- Note
วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ม.ล. บุศยมาศ นันทวัน – อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ดำเนินรายการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ – หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
เกี่ยวกับผู้ดำเนินรายการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำและหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยวชาญและสนใจการพัฒนาชุมชน การลงพื้นที่หาข้อมูลกับสมาชิกในชุมชนและบริบทโดยรอบ ตัวอย่างเช่น Humans of Flower Market : มนุษย์ปากคลองฯ เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ที่นักศึกษาได้ร่วมกันทำโครงการที่พูดถึงอัตลักษณ์ความเป็นปากคลองตลาด แหล่งรวมผู้คน ดอกไม้ ใบไม้ ผักถุงใหญ่ การจราจรที่จำเป็นต้องระแวดระวังทุกก้าว หรือจะเป็นกลิ่นที่เปลี่ยนไปแทบตลอดเวลาผลจากสิ่งแวดล้อมที่ผสมกัน ผลกระทบทั้งด้านดีและความเปลี่ยนแปลงไปของการจัดระเบียบทางเดินของรัฐบาล หรืออีกหนึ่งโครงการ Ten to Ninety ล่าสุดอัพเดตข้อมูลการทำป้ายรถเมล์ที่เป็นมากกว่าสถานที่รอรถโดยสาร โดยคำนึงถึงสถานที่และการใช้งานของผู้โดยสารเป็นหลัก สองโครงการตัวอย่างที่อาจารย์สุพิชชาเป็นแรงหลักในการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ใช้ ชุมชนหรือสมาชิกในชุมชน - Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
10.02.2018