Images
มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน : ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขยายเวลาจัดแสดง)
- Reference Codes
01EXH-01-2013-11-IMG-01
- Title
มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน : ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Date
23.03.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
42 ภาพ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 13 ธันวาคม – 16 มีนาคม 2557
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8
ทัศนศิลป์ที่ให้ทั้งความตื่นตาตื่นใจและความรู้ทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ของภูมิภาคนี้ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และถือเป็นนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ที่เคยจัดขึ้นในประเทศไทยคิวเรตขึ้นจากความร่วมมืออันแนบแน่นระหว่างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และผู้เชี่ยวชาญชาวศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากในภูมิภาคนี้ นั่นคือสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน: ศิลปะ และส่วนรวม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นนิทรรศการทางทัศนศิลป์ที่น่าตื่นตาสำหรับผู้ชมในวงกว้าง ในขณะเดียวกันก็จะให้ความรู้ความเข้าใจ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อให้เห็นวัฒนธรรมทางทัศนศิลป์ในปัจจุบันของภูมิภาคแห่งนี้ นิทรรศการจะแสดงแผนภูมิความโยงใยของมโนทัศน์สำคัญของศิลปร่วมสมัยของภูมิภาคนี้ที่ฝังรากอยู่ในแต่ละท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันกับความคิดเกี่ยวกับสังคมและเพื่อสังคม ผ่านผลงานของศิลปินจากประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า และกัมพูชา และอาจสรุปได้ว่า นิทรรศการนี้จะทำการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการใช้มโนทัศน์ในการสร้างสรรค์งาน กับความคิดต่างๆทางสังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ด้วยผลงานร่วม 50 ชิ้นจากศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก ในระดับนานาชาติจากสามยุคสมัยกว่า 40 คน นิทรรศการนี้จะยืนยันความคิดที่ว่า แนวทางการทำงานในด้านมโนทัศน์ซึ่งใช้สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่จำเป็นต้องรับมาจากภูมิภาคอื่น แต่สามารถพบเจอได้ในวัฒนธรรมพื้นถิ่นของตน ศิลปินมากมายที่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ได้ร่วมแสดงในงานนี้ อาทิ ศิลปินต้นแบบจากสิงคโปร์ที่วิพากษ์สังคมได้อย่างมีชั้นเชิง ลี เวน และ อาแมนดา เฮง ศิลปินผู้กำหนดทิศทางในฟิลิปปินส์ อย่าง ไอเมลดา คาจิเป เอนดายา และ อัลวิน รีมมิลโล ศิลปินรุ่นใหญ่จากอินโดนีเซียที่ขับเคลื่อนพลังเสียงทางการเมือง เอฟเอ็กซ์ ฮาร์โซโน เอโค นูโกรโฮ และดัคลิงค์ทัมบูยฮ์ และ โปโปค ไตร-วายุทธ์ สำหรับฝั่งไทย มีศิลปินร่วมสมัยรุ่นบุกเบิก มานิตย์ ศรีวานิชภูมิ สุธี คุณาวิชยานนท์ และวสันต์ สิทธิเขต เป็นต้น งานทั้งหมดจะนำมาจัดแสดงในรูปบทสนทนา ที่ทั้งศิลปินและผลงานต่างพูดคุยโต้ตอบกันโดยจะแสดงให้ผู้ชมได้เห็นว่า รูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์ อาจจะพัฒนาไปตามกาลเวลา แต่กระบวนคิดที่ซับซ้อนและกลวิธีการใช้ความเปรียบยังคงปรากฏอยู่สม่ำเสมอ และแท้จริงแล้วถือเป็นลักษณะเด่นของทัศนศิลป์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิทรรศการครั้งนี้จะนำเสนอสื่อในทุกรูปแบบ ตั้งแต่จิตรกรรม ศิลปะจัดวางที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ศิลปะที่ใช้ตัวอักษรหรือข้อความ ไปจนถึงเกมและผลงานที่จัดแสดงโดยสัมพันธ์กับเวลาที่กำหนด ซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้สาธารณะชนได้ใช้ และมีประสบการณ์กับงานตลอดระยะเวลาของนิทรรศการ ยิ่งไปกว่านั้น นิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน: ศิลปะ และส่วนรวม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่าง แนวทางการทำงานเชิงมโนทัศน์ในศิลปะกับศิลปะที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงสังคม สององค์ประกอบที่ทำงานร่วมกัน และเป็นลักษณะสำคัญของการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการจัดแสดงผลงานที่ผู้ชมของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะได้มีปฏิสัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานด้วยการเข้าไปสัมผัสและลองใช้ผลงานได้
ทั้งนิทรรศการองค์รวมและชิ้นงานต่างๆในแต่ละส่วนแสดงที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ของห้องแสดงนิทรรศการ จะประกอบด้วยแทบเลตที่เป็นกันเอง และสามารโต้ตอบกับผู้ชมเพื่อให้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ศิลป์ ของชิ้นงานนั้นๆ เนื้อหาของนิทรรศการจะบันทึกเป็นข้อเขียน ไว้ในบทความวิจัยจำนวน 10 ชิ้น รวบรวมไว้ในสูจิบัตร และยังมีการบรรยายสาธารณะและการอภิปรายกลุ่มย่อย ตามหัวข้อที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ
- Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Related units of description
รูปภาพ
- Note
บันทึกการแสดงสดพิเศษ:
อาราย์มาอิอานี, อัง เหมียนท์ - Archivist’s Note
ภัณฑารักษ์
อิโอลา เลนซี (สิงคโปร์)
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
อิโอลา เลนซี เป็นนักวิจัยนักวิจารณ์ศิลปะและคิวเรเตอร์ชาวสิงคโปร์ผู้เชี่ยวชาญศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เลนซี ได้จัดนิทรรศการจำนวนมากในระดับสถาบันซึ่งเป็นนิทรรศการที่เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเด็นเรื่องสภาพ ของสังคมวัฒนธรรมและการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา เลนซีเป็นอาจารย์ วิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียในหลักสูตรปริญญาโทที่วิทยาลัยศิลปะลาซาลล์-โกลด์สมิธที่ประเทศสิงคโปร์ (Lasalle Goldsmiths College of the Arts) บทความของเลนซีได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารศิลปะ ระดับนานาชาติ และงานรวมเล่มจำนวนมาก นอกจากนี้เธอยังเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมเอเชียอย่างสม่ำเสมอ เลนซีเขียนตำราสองเล่มและเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง AICA (International Association of Art Critic) หรือสมาคม นักวิจารณ์ศิลปะนานาชาติแห่งประเทศสิงคโปร์
อากุง ฮูจานิกาเจนนง (อินโดนีเซีย)
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
อากุง ฮูจานิกกาเจนนง เป็นอาจารย์ในสาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ (Faculty of Art and Design) สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (Bandung Institute of Technology) ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปีพศ. 2542 เป็นต้นมา ฮูจานิกกาเจนนงตีพิมพ์บทความจำนวนหลายชิ้นในสื่อมวลชนวารสาร สูจิบัตรและหนังสือเล่ม รวมถึงนำเสนอ บทความในการสัมมนาทั้งในอินโดนีเซียและต่างประเทศ ฮูจานิกกาเจนนงเป็นคิวเรเตอร์ ในพำนักที่ประเทศออสเตรเลีย (ปี 2545 และปี 2553 และที่ญี่ปุ่น และปี 2554) ฮูจานิกกาเจนนงเคยดำรงตำแหน่งคิวเรเตอร์ที่เซอลาซาร ซูนารโย อาร์ สเปซ (Selasar Sunaryo Art Space) ในเมืองบันดุง ระหว่างปี 2554 ถึง 2555 ผลงานระดับนานาชาติที่ฮูจานิกกาเจนนง เคยสร้างไว้ได้แก่ ‘OK Video’ ในเทศกาลวิดิโอจาร์กาตาร์ (Jakarta Video Festival) ปี 2546 ปี 2548 และปี 2554 และนิทรรศการ ‘Fluid Zones’ ซึ่งเป็นนิทรรศการหลักของการแสดงศิลปะนานาชาติจาการ์ตาเบียนาเล่-อารีนา (Jakarta Biennale-Arena) ในปี 2552 และนิทรรศการ ‘Exquisite Corpse’ ซึ่งจัดที่ศาลาของบันดุงในการแสดงศิลปะนานาชาติ เซี่ยงไฮ้เบียนาเล่ในปี 2555 นอกจากนี้ ฮูจานิกกาเจนนงยังได้รับการแต่งตั้วให้เป็นคิวเรเตอร์ใน การแสดงศิลปะ นานาชาติยอกยาเบียนาเล่ครั้งที่ 12 (Jogja Biennale XII) ที่กำลังจะมาถึงในปี 2556 อีกด้วย
วิภาช ภูริชานนท์ (ไทย)
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
วิภาช ภูริชานนท์ (Vipash Purichanont) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขา Curatorial Knowledge ที่โกลด์สมิธ มหาวิทยาลัยลอนดอน (Goldsmiths, University of London) นอกจากนี้วิภาชยังทำงานเป็นคิวเรเตอร์อิสระ ความสนใจของวิภาช ได้แก่ ศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทฤษฎีการวิจารณ์และบทบาท ของศิลปะในสังคม ผลงานของวิภาชที่ผ่านมาได้เแก่ นิทรรศการผลงานศิลปะของคามิน เลิศชัยประเสริฐ ในโครงการ “31st Century Museum of Contemporary Spirit Labaratory” ที่ชิคาโกและนิทรรศการ อวัจนะ (Speechless) ผลงานศิลปะของนิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ ผลงานส่วนใหญ่ของวิภาชตีพิมพ์เป็นภาษาไทย รวมถึงบทความ ในสูจิบัตรของศาลาไทยในการแสดงศิลปะนานาชาติ เวนิสเบียนาเล่ ครั้งที่ 52 (the 52th Venice Biennale) (เขียนร่วมกับสุรกานต์ โตสมบูรณ์) บทความเดี่ยวของวิภาชเกี่ยวกับฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิชมีกำหนดตีพิมพ์ในปี 2556 - Rules or Conventions
ภาษาไทย
- Date(s) of descriptions
24.03.2018