- Reference Codes
01EXH-01-2012-06-DOC-01
- Title
เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ — ระยะ : ไทยไท
- Date
02.04.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
Open Contemporary Art Center (OCAC), jiandyin (Jiradej and Pornpilai Meemalai)
- Name of co-creator (s)
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
- Administrative / Biographical History
OCAC ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2544 ณ กรุงไทเป สาธารณรัฐไต้หวัน เป็นพื้นที่ทางศิลปะที่ดำเนินการโดยกลุ่มศิลปินอุทิศ ให้กับการจัดกิจกรรมทางศิลปะเชื่อมโยง (Arts Related) อาทิ การจัดการด้านภัณฑารักษ์ การสื่อสารแบบสหวิทยาการ และการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย เป็นต้น โครงการแลกเปลี่ยนศิลปะร่วมสมัย ระยะ:ไทยไท ครั้งนี้เป็นโครงการลำดับที่ 12 ในชุดการจัดการด้านภัณฑารักษ์ของ OCAC โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการสะท้อนแนวคิดการต่อรองทางด้านศิลปะกับสาธารณะ
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 22 พฤศจิกายน – 03 กุมภาพันธ์ 2556
สถานที่ : ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
“ระยะ : ไทยไท” คือโครงการแลกเปลี่ยนศิลปะร่วมสมัย ริเริ่มโดยศิลปินไทยและไต้หวัน เป็นการเคลื่อนและร่วมมือกันระหว่างกลุ่ม OCAC (สาธารณรัฐไต้หวัน) และศิลปินคู่ jiandyin (ประเทศไทย) ผลงานของศิลปินที่สร้างสรรค์ขึ้นทั้งในประเทศ และระหว่าง ประเทศคือผลลัพท์ของ การสื่อสารระหว่างกัน ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือโครงการแลกเปลี่ยน ศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงขึ้นในประเทศไทย ณ หอศิลปและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครโดยนำเสนอผลงานฯจากศิลปิน ไต้หวัน 10 ท่านและศิลปินไทย 9 ท่าน เข้าร่วมโครงการฯ จัดแสดงผลงานในนิทรรศการ และกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การสัมมนา การแสดงสด และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ศิลปะร่วมสมัย OCAC Bangkok ส่วนที่ 2 จัดโครงการฯที่สาธารณรัฐไต้หวัน ในปีพ.ศ. 2556
โครงการแลกเปลี่ยนฯระหว่างศิลปินไทย/ไต้หวัน มุ่งเน้นประสบการณ์การเรียนรู้ข้ามเส้นแบ่งวัฒนธรรมทางศิลปะร่วมสมัย และความเป็นไปได้ในการทดแทนแนวคิดกระแสหลักจากมุมมองแบบตะวันตก บทบาทของศิลปะร่วมสมัยนำเราก้าวล่วงเข้าสู่พื้นที่ แห่งภูมิรัฐศาสตร์ ลักษณะการแทรกซึมและสถานะของมันแยกตัวอย่างเป็นอิสระออกจากความจริง บทบาทของศิลปะร่วมสมัย จึงมีความยืดหยุ่น เหมาะสมต่อการเติมเต็ม และชดเชยสถานการณ์ของการแยกตัวออกจากกันระหว่างภูมิภาคท่ามกลาง วาทกรรมการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ อำนวยให้เกิดกระบวนการทางสุนทรียภาพของท้องถิ่นในระดับภูมิภาค ขณะที่วัฒนธรรม หลายแห่งถูกลดทอนคุณค่ากลายเป็นสินค้าตีตราดังปรากฏในตลาดศิลปะ ประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและความพยายาม ให้เป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ด้วยระบบลดทอนเหลือเพียงรูปสัญลักษณ์และภาพนั้น ทำให้รายละเอียดมากมายสูญสลาย และตกหล่นไประหว่างกระบวนการ ระยะ:ไทยไท จึงตั้งคำถาม และพยายามผลักดันให้ประสบการณ์ทางสังคมและความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจลดทอนได้ โดยอาศัยกระบวนการสนทนาข้ามพรหมแดนและการลงพื้นที่ปฏิบัติการ เราจะทำอย่างไร ให้สถานการณ์การสื่อสารทางศิลปะในระดับท้องถิ่น และการฟื้นฟูความหลากหลาย ความสลับซับซ้อน ในการปฏิบัติงานศิลปะ เป็นเฉกเช่นประสบการณ์เชิงการสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างกัน - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Related units of description
Press release
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
03.04.2018