- Reference Codes
01EXH-02-2010-01-DOC-01
- Title
เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ — BACC Experimental Project
- Date
02.04.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 21 ตุลาคม – 19 มกราคม 2554
สถานที่: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
BACC Experimental Projectเป็นโครงการเชิงทดลองของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่เปิดรับโครงการจากภัณฑารักษ์และศิลปินในการนำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการขนาดเล็กบนพื้นที่ของหอศิลปฯ โครงการสนับสนุนการนำเสนอความคิดในเชิงค้นหาและตั้งคำถามของผู้ผลิตงาน ที่เป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งของวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์และบทบาทของผู้คนที่สับเปลี่ยนสืบเนื่องจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ทางสังคมต่างๆ จุดประสงค์ของโครงการคือการกระตุ้นให้ศิลปินหรือผู้ผลิตงานเกิดการรื้อคิด ทบทวน พิจารณาตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล หรือเพื่อทดลองความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ ทางศิลปะ และสื่อสารสาระสำคัญเหล่านี้สู่สาธารณชนในวงกว้าง
จากประวัติศาสตร์ทางความคิดที่ยึดถือเป็นประเพณีนิยมและยากต่อการเปลี่ยนแปลง โครงการ BACC Experimental Project มีเป้าหมายในการนำเสนอกระแสความคิดอันหลากหลายเพื่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เป็นผลจากอดีตและความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงการสร้างประสบการณ์และมุมมองสะท้อนความคิดย้อนแยงต่อประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัย BACC Experimental Project เริ่มต้นด้วยนิทรรศการจาก 2 โครงการคือ 24Hours : 24 Days exhibition และ หอศิลป์บริการ
24Hours : 24 Days exhibition
แนวความคิด
การพูดถึงบริบทของหอศิลป์ บทบาท หน้าที่ การจัดการ สิ่งที่สะท้อนออกสู่สาธารณะ : สิ่งที่สาธารณะมองเข้ามา หอศิลป์ให้อะไรกับคนดู กับศิลปิน กับตัวหอศิลป์เอง 24 hrs. art project ในครั้งนี้เป็นเสมือนการที่เราในฐานะคนทำงานศิลปะมองเข้าหาระบบต่างๆของวงการศิลปะ แล้วชำ แหละมันออกมาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติเพื่อก่อ โดยการสร้างประเด็นและชุดคำถามจากสิ่งที่เป็นอยู่ จากความเป็นจริงในอีกประเด็นหนึ่งรองลงมาคือในเรื่องของคุณค่าของงานศิลปะกับขยะ ในส่วนนี้อาจจะพาดพิงถึงเวทีการประกวดต่างๆ ตัวศิลปิน และนักวิจารณ์ ว่าอะไร ใครเป็นผู้ให้คุณค่าแก่ผลงานชิ้นนั้นๆ ผลงานศิลปะที่ถูกคัดออก ผลงานศิลปะที่ศิลปินมองว่าล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ สุดท้ายแล้วมันเป็นผลงานศิลปะหรือขยะจากกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
หอศิลป์บริการ – Museum Serve
แนวความคิด
พื้นที่ทางศิลปะจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีวิวัฒนาการมาอย่างหลากหลาย ในอดีตพื้นที่ทางศิลปะถูกสร้างขึ้นมาจากขอบเขตทางศาสนาที่ศิลปะได้กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับวิถีชีวิต แต่ต่อมาจากการจัดการที่ยึดถือตามแบบตะวันตก พื้นที่ทางศิลปะเริ่มมีขอบเขตและที่ทางเป็นของตัวเองเป็นเอกเทศจากสังคมในวงกว้าง สถานที่ที่สามารถจัดแสดงนิทรรศการตามที่ต่างๆ ก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างสูงต่อวงการศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันทำให้การรับรู้ถึงศิลปะ เป็นเอกเทศจากผู้คนกลุ่มอื่นในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครงการ หอศิลป์บริการ หยิบยกประเด็นในการสร้างพื้นที่ทางศิลปะที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตอันหลากหลายของผู้คนในสังคมปัจจุบัน โดยจุดประสงค์เพื่อให้ศิลปะสามารถแทรกซึมสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนได้อีกครั้งหนึ่งเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต แผนการดำเนินงานครั้งแรกของหอศิลป์บริการนี้คือ หอศิลป์จิตรกรรม ณ วินมอเตอร์ไซด์ โดยนำเสนอผลงานศิลปะจากศิลปิน 9 คน ด้านหลังเสื้อวินมอเตอร์รับจ้าง - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Finding aids
- Related units of description
Press release
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
03.04.2018