Images
ผ่านโตเกียว 0 องศา
- Reference Codes
01EXH-01-2010-03-IMG-01
- Title
ผ่านโตเกียว 0 องศา
- Date
03.04.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
68 ภาพ
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 25 กุมภาพันธ์ – 28 มีนาคม 2553
สถานที่ : ห้องนิทรรศการชั้น 9
ผ่านโตเกียว 0 องศา : ศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่นจากงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว
กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว นำเสนอนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยญี่ปุ่น ด้วยผลงาน 30 กว่าชิ้นจากงานสะสมพิพิธภัณฑ์กว่า 4000 ชิ้นของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยโตเกียว นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากกระทรวงวัฒนธรรมและโครงการสนับสนุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากมูลนิธิโตเกียวจากผลงานป๊อปอาร์ตในช่วงแรกของศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่าง ยาโยอิ คุซะมะ และผลงานสื่อภาพลักษณ์อันหลากหลายของ มอริมุระ ยาสุมะสะ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ ใหม่ของศิลปินญี่ปุ่น โดยเฉพาะในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยนิยมในช่วงหลังของศตวรรษ ที่ 20 แก่นสำคัญของนิทรรศการนี้เจาะลึกไปที่ผลงานสำคัญของศิลปินเช่น โยชิโตโมะ นาระ ศิลปินร่วมรุ่น รวมถึงรุ่นหลังที่ตามมาในศตวรรษเดียวกัน โดยแต่ละผลงานแสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เน้นแนวความคิดร่วมสมัยที่สะท้อนประเด็นของความสัมพันธ์และอัตลักษณ์ที่ไม่คงที่ ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้เป็นผลสีบเนื่องมาจากยุคข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพที่ขยายเติบโต ความผันผวน จากภาวะสุกงอมในระบบทุนนิยม รวมถึงการเปิดกว้างในการรับค่านิยมอย่างไม่มีข้อจำกัด
นิทรรศการได้แบ่งเป็น 3 ภาค โดยภาคแรกเป็นผลงานที่มีรากฐานจากการ์ตูน หุ่นยนต์ นิยาย วิทยาศาสตร์ เรื่องราวและปรากฏการณ์แห่งยุคสมัยล่าสุดในญี่ปุ่น ศิลปินในภาคนี้คือ โยชิโตโมะ นาระ ทาคาชิ มูราคามิ และศิลปินผู้สร้างงานจิตรกรรมด้วยตุ๊กตาอย่าง มิกะ คาโต ภาคที่สอง นำเสนอ ศิลปินผู้มองหาตัวตนใหม่ในบริบทของโลกาภิวัตน์ ผ่านการทำงานในการรวบรวมความคิด การแทรกแซงและการนำเสนอสถานะ สังคมที่ดำรงอยู่ ภาคนี้ประกอบด้วยศิลปินทางด้านวิดีโออาร์ตอย่าง โคกิ ทานากะ และคาซึฮิโกะ ฮาชิยะ ศิลปินผู้ซึ่งนำเสนอเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตในอนาคต และภาคสุดท้ายกล่าวถึง ศิลปินผู้หยั่ง รากผลงานลงบนฐานความรู้สึกผสมกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แนวความคิดแบบป๊อปอาร์ตสำหรับพวกเขามี คุณประโยชน์ คล้ายเครื่องมือเพื่อการอยู่รอด โดยทำหน้าที่ในการรักษาอัตลักษณ์ ความสามารถในการรับรู้และความสัมพันธ์ ที่มี ต่อสภาวะแวดล้อม เช่นในผลงานของ ซอน อิโต ผู้ขยายความฝันลงบนผลงานผ้าปัก หรือเคียวโกะ มูราเสะ ผู้นำเสนอผลงานในแนวศิลปะเอ็กเพรสชั่นนิสม์แบบมุ่งเน้นความรู้สึกภายใน หรือผลงานของฮารุกะ โคจินผู้สร้างฉากจินตนาการจากกลีบดอกไม้และดอกไม้ประดิษฐ์ และผลงานสร้างสรรค์ผ่านสื่อหลากรูปแบบอย่างของคีจิโร่ อาดาจิ ศิลปินผู้เปลี่ยนตู้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้แล้วเป็นตู้เดี่ยวดิสโก้ รวมถึงมาซะคัทสึ ทาคากิ ผู้เบี่ยงเบน จากงานวีดีโอจ๊อกกี้ สู่งานจิตรกรรมที่รังสรรค์อย่างมีชีวิตโดยการผสมผสานเข้าไปในงานวิดีโอและดนตรี
- Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Finding aids
- Related units of description
รูปภาพ
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
04.04.2018