Images
ศิลปะสนทนา 2560 : BACC Art Talk 2017 “Lesson Abroad Series (บทเรียนจากต่างแดน)” ครั้งที่ 3
- Reference Codes
01EDC-11-2017-20-IMG-01
- Title
ภาพบรรยากาศ — ศิลปะสนทนา 2560 : BACC Art Talk 2017 “Lesson Abroad Series (บทเรียนจากต่างแดน)” ครั้งที่ 3
- Date
30.05.2019
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
5 ภาพ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 20 สิงหาคม 2560
สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
ในช่วงที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เมือง Venice ริเริ่มจัด La Biennale di Venezia ทุกสองปีเพื่อสถาปนาความเป็นศูนย์กลางของโลกศิลปะ ไปพร้อมๆกับเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวให้กับอิตาลี อีกหลายทศวรรษต่อมาเมือง Kassel จัดงาน Documenta ทุกห้าปีเพื่อชี้ให้เห็นถึงมิติของทัศนศิลป์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการบันทึกความเป็นไปของสังคมรวมทั้งดึงเยอรมันให้กลับเข้าสู่สารบบของแวดวงศิลปะในยุโรปหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง เมือง Basel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จัดงาน Art Basel ขึ้นทุกๆปี เพื่อเป็นตลาดในการซื้อขายงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งต่อมาได้ขยายชื่องานเดียวกันนี้ไปจัดข้ามทวีปที่ Miami และ Hong Kong ยักษ์ใหญ่ของโลกศิลปะตะวันออกอย่างญี่ปุ่นเลือกที่จะจัดงาน Setouchi Triennale ทุกสามปีเพื่อชุบชีวิตเหล่าหมู่เกาะที่กำลังร้างคนให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนของโลกศิลปะ หากไม่นับสิงคโปร์ที่จัด Singapore Biennale มาตั้งแต่ปี 2006 อินโดนีเซียเองก็จัดเทศกาลแบบนี้ขึ้นมาในปี 2015 โดยที่ย้อนที่มาไปได้ถึงปี 1968 รวมทั้งข่าวของ Yangon Biennale ก็ออกมาแล้วเช่นกันในการจัดเทศกาลศิลปะนานาชาติเหล่านี้ ใครที่อยู่เบื้องหลังเมืองและประเทศต่างๆที่จะขานรับการเป็นเจ้าภาพอย่างมีพันธะต่อเนื่อง ทั้งที่เต็มไปด้วยภาระและอุปสรรคมากมาย ประหนึ่งเป็นงานโอลิมปิกของโลกศิลปะ งานเทศกาลเหล่านี้คืออะไรกันแน่ เป็นเพียงแค่ข้ออ้างทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือของการเมืองวัฒนธรรม เป็นสนามแข่งขันของเหล่าภัณฑารักษ์และศิลปิน หรือเป็นโอกาสที่คอศิลปะที่จะพลาดไม่ได้ในการเสพย์งานศิลปะร่วมสมัยชั้นดีนับร้อยนับพันชิ้นจากนานาประเทศ และด้วยเหตุผลใดถึงควรที่จะต้องจัดงานเทศกาลแบบนี้ เพื่อเป็นหน้าเป็นตา เพื่อสร้างความตื่นตัว และ/หรือเพื่อประโยชน์ของแวดวงศิลปะของตัวเมืองหรือประเทศเจ้าภาพเอง
- Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายกิจกรรมการศึกษา
- Related units of description
รูปภาพ
- Note
วิทยากร: ดร.ถนอม ชาภักดี (นักวิจารณ์ด้านทัศนศิลป์และอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ), อภิศักดิ์ สนจด (ผู้อำนวยการหอศิลป์ไทยตาดู ไทยยานยนตร์)
ดำเนินรายการ โดย: พอใจ อัครธนกุล (Project Director ของ Sansab Museum of Contemporary Art) - Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
31.05.2019