DRIFT ซีรียส์กิจกรรมทดลองทางด้านเสียง Project #1 : Duration
- Reference Codes
01EXH-02-2014-02-VDO-02
- Title
DRIFT ซีรียส์กิจกรรมทดลองทางด้านเสียง Project #1 Duration : Workshop 2 : โก๊ะ ลี ควาง หัวข้อ: การฟังรูปแบบใหม่ ~ เวลาในงานศิลปะเสียง (New Ear ~ The time inside the sound)
- Date
17.01.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 วิดีโอ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Name of co-creator (s)
SO::ON Dry FLOWER
- Administrative / Biographical History
ซีรียส์กิจกรรมทดลองทางด้านเสียงนำเสนอผ่านแนวคิด “Drift’ หรือการไหลรื่นอย่างเข้มข้นในความหมายทางเทคนิคของ การแข่งรถที่นักแข่งตั้งใจขับไหลผ่านโค้งด้วยความเร็วและลีลาของการขับซึ่งในขณะเดียวกันยังสามารถควบคุมสถานะของรถไว้ได้ จากแนวคิดนี้เชื่อมโยงถึง การไหลผ่านทางจิตวิทยาในภูมิศาสตร์ของเสียงไร้พรมแดนจากแหล่งหนึ่งเข้าสู่อีกแหล่ง สื่อสารเนื้อหาทางเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์ที่ปล่อยเชื่อมลอยตัวด้วยหลากหลายวิธีการของศิลปิน จุดประสงค์ของงานคือเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจดนตรีและเสียงในฐานะรูปแบบของศิลปะที่เปิดกว้างต่อสถานการณ์ที่เอื้อต่อการรับรู้แบบใหม่ ผ่านการแสดงดนตรีสด ศิลปะการจัดวางทางเสียง การแสดงเสียงอิมโพรไวส์ต่อเนื่อง รวมถึงปฏิบัติการและการบรรยายทั้งจากศิลปินไทยและนานาชาติ ทั้งหมดนำเสนอด้วยรูปแบบที่แตกต่างแต่สร้างสรรค์ร่วมกันบนฐานของแนวคิดเชิงทดลอง ซีรียส์กิจกรรมครั้งนี้เริ่มจาก Project #1 : DURATION
- Archival History
Project #1 : Duration
ในขอบเขตการรับรู้ในช่วงหนึ่งของเวลา เราสามารถรับรู้ได้ในการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์ ด้วยสถานะเชิงสัมพันธภาพ ที่ความยาวของเวลาขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ร่วมเหตุการณ์ ด้วยแนวคิดของเวลาในฐานะพื้นฐานหนึ่งของดนตรี ความต่างทางมุมมองของการรับรู้นี้ คือโอกาสในการแตกย่อย ย่นระยะ ยืดขยาย ลื่นไหลเพื่อสื่อความหมายของช่วงเวลา ด้วยโทน จังหวะ รูปแบบต่างๆ ในภาษาของดนตรี ในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบ ศิลปินสำรวจและทดลองเสียงที่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ใช่แค่สั้นและยาว แต่เป็นเหตุการณ์ย่อยหลากเหตุการณ์ในความสั้นและความยาว เพื่อขยายมุมมองนำเสนอความเป็นไปได้ทางการรับรู้ของเสียงและเวลา
Workshop 2 : หัวข้อ: การฟังรูปแบบใหม่ ~ เวลาในงานศิลปะเสียง (New Ear ~ The time inside the sound)
เวิร์กช้อปครั้งนี้จะทำให้เห็นถึงมุมมองในเรื่องของเวลาในงานศิลปะเสียงผ่านการฟัง ศิลปะด้านเสียงเป็นงานศิลปะที่ขึ้นอยู่กับเวลา จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับงาน ดังนั้นเวลาที่ใช้ในงานศิลปะจึงอาจจะไม่ใช่เวลาในความเป็นจริง เพื่อการทำความเข้าใจเวลา ในฐานะส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของงาน ลักษณะการฟังแบบใหม่จึงต้องถูกนำมาใช้ และทักษะนี้ทำให้เกิดความเป็นไปได้มากมายในการฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกดิจิตอล ที่ให้อิสระในการฟังเสียง ได้ยาวนานไร้ขีดจำกัดกว่าการฟังผ่านแผ่นเสียง เทป หรือซีดี งานเวิร์กช้อปครั้งนี้จะจุดประกายจากความสนใจของผู้ฟัง แล้วนำเสนอทักษะของการฟังเพื่อโอกาสที่จะเจอสิ่งใหม่ๆ จากการเข้าไปอยู่ในห้วงเวลาของเสียง - Scope and content
วันที่จัดกิจกรรม: 07 พฤศจิกายน – 08 พฤศจิกายน 2557
สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 และห้องประชุม 501 ชั้น 5 - System of Arrangement
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Related units of description
วิดีโอ
- Date(s) of descriptions
20.02.2018