Videos
นิทรรศการ “มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น – สนามบิดเบือนความจริง(ฉบับกรุงเทพฯ) – สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต”
- Reference Codes
01EXH-01-2013-12-VDO-21
- Title
นิทรรศการ “มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น – สนามบิดเบือนความจริง(ฉบับกรุงเทพฯ) : Opening Day
- Date
23.03.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 วิดีโอ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ เจแปนฟาวน์เดชั่น
- Archival History
แนวคิดของโครงการ:
มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น- สนามบิดเบือนความจริง ‘สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต
นิโคลาส ซูร์บรูกก์ (Nicholas Zurbrugg) นักปรัชญาชาวอังกฤษ กล่าวว่าลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมโพสต์โมเดิร์น มีด้วยกันสามประการ หนึ่งคือการเปลี่ยนผ่านเรื่องการดำรงอยู่ของปัจเจก การเปลี่ยนผ่านเรื่องแนวคิด และการเปลี่ยนผ่าน ในเรื่องเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้เกิดขึ้นข้ามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งภาวะโพสต์มีเดีย (postmedia condition)
ในโลกเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยเสรีภาพและความเท่าเทียม ปรากฏการณ์ของสังคมช่วงโพสต์มีเดียจึงอยู่ในรูป ของการเลือกหยิบใช้จากตัวเลือกที่มีมากมายไม่จำกัด ภาวะเช่นนี้ทำให้เห็นว่าสังคมนี้มีฐานอยู่บนกลุ่มข้อมูล จำนวนมหาศาล จำนวนของข้อมูลมีมากกว่าที่เคยมีมาก่อนและเราสามารถหยิบจับข้อมูล เหล่านี้มาผสมและสร้างสรรค์แบบข้ามสาย ข้ามสาขา และทำได้หลากหลายวิธีการ เป็นพื้นฐานในการสืบค้นและได้สร้างคำศัพท์ที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่ออธิบายพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากจากข้อมูลที่ถูกประกอบสร้างขึ้นใหม่ ความรู้ใหม่ และการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีมีอยู่แล้วในสังคม ดำรงอยู่ยาวนานมากพอที่สร้างอาณาจักรของตนเอง สร้างเครือข่ายโยงใยแทรกซึมเข้าสู่ทุกๆ ด้านของชีวิต และกำหนดวิธีการที่เราใช้ชีวิตและวิธีการที่เรารับรู้โลก ท่ามกลางสังคมที่รุกคืบไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งและสภาวะทางสังคมปัจจุบัน มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น- สนามการบิดเบือนความจริง กรุงเทพฯ จึงนำเสนอมีเดียอาร์ต ที่ไม่ใช่การอวดอ้างว่าเป็นสิ่งใหม่ หากแต่เป็นแนวทางที่มีอยู่แล้วเดิม เป็นแนวทางที่บอกให้รู้ว่าเราอยู่กับเทคโนโลยีที่มีเพื่อที่สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างไร ‘สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต’ ตั้งอยู่บนความคิดของการสร้าง ‘เนื้อหาที่เกิดจากตัวผู้ใช้’ เพื่อให้ผู้ชมได้คำนึงถึงทัศนะส่วนตัวของผู้ชมที่มีต่อสื่อและเทคโนโลยี และผลลัพธ์จากการที่ได้เห็นศิลปินนำตนเองเข้าไปผนวกรวมกับสื่อและเทคโนโลยี นิทรรศการนี้ต้องการที่จะหลีกพ้นจากแนวคิดที่ว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งใหม่ หรือแนวคิดที่ว่าศิลปะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ หรือแม้แต่แนวคิดที่ว่าศิลปะคือชีวิตที่อยู่กับเทคโนโลยี เป้าหมายของนิทรรศการคือต้องการนำเสนอว่าเราอยู่กับ ความงดงามของเทคโนโลยีอยู่กับวิธีการที่เทคโนโลยีทำงาน เพื่อดูว่าเทคโนโลยีทำงานอย่างไร มันได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมอะไรบ้าง และเทคโนโลยีกำลังหล่อเลี้ยงบริบทใดอยู่ มากกว่าที่จะไปดูว่ารูปร่างหน้าตาของเทคโนโลยีเป็นอย่างไร
โครงการนี้ต้องการเผยให้เห็นด้านที่เป็นมนุษย์ของโค้ดคอมพิวเตอร์และข้อมูล โดยไม่ไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติหรือความเป็นตัวมัน พร้อมทั้งเสนอให้เห็นความสัมพันธ์ของระบบ กระบวนการ ความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และโครงข่ายอันรุ่มรวยมากกว่าเป็นสิ่งตายตัว เป็นพื้นที่ซึ่งอาจเกิดการรับรู้ที่แตกต่างไปจากมุมมองกระแสหลัก สภาวะทางกายภาพหรือรูปแบบเพื่อจับยึดความจริง และได้สร้างพื้นที่เพื่อแบ่งปันพฤติกรรมอันแตกต่างหลากหลาย เป็นพื้นที่สำหรับโครงสร้างเรื่องเล่าแบบอัตวิสัยซึ่งตรงข้ามกับเนื้อหาที่เล่าจากกระแสหลัก‘สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต’ จึงเป็นแนวคิดปลายเปิดที่สนับสนุนแก่นความคิดและทัศนะของมีเดีย/อาร์ต คิชเช่น- สนามการบิดเบือนความจริง ซึ่งมิใช่ทัศนะที่เพิกเฉยหรือเทิดทูนเทคโนโลยี หากแต่เป็นเหมือนคำชี้แนะให้ลองมองสื่อ เทคโนโลยี รวมทั้งวัฒนธรรมของสื่อและเทคโนโลยีในฐานะสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่สิ่งคุกคาม และเป็นการขยายศักยภาพของแต่ละบุคคลเพื่อให้สามารถหาความเชื่อมโยงระหว่างสื่อและเทคโนโลยีกับศิลปะ รวมถึงแสวงหาประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความหมายซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างชีวิตประจำวัน รวมไปถึงใช้ประโยชน์จากชีวิตในโลกยุคเทคโนโลยี คิชเช่นจึงเป็นเหมือนครัวหรือสถานที่สำหรับดำเนินกระบวนการหรือลงมือทำ โครงการนี้จึงมีเป้าหมายที่จะเป็นเหมือนสนามของระบบปฏิบัติการทางความคิด แนวคิด และประสบการณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดระบบความเชื่อที่จะไปกำหนดพฤติกรรมซึ่งท้าทายขอบเขตของภาษา กฏระเบียบ และโครงสร้างของการคิดเพื่อปูทางให้แก่รูปแบบของศิลปะ(ทั้งจากผู้ชมและจากศิลปิน) ได้เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของศิลปะที่มีต้นกำเนิดจากครัว
- Scope and content
วันที่จัดกิจกรรม : 21 ธันวาคม – 16 กุมภาพันธ์ 2557
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7, ชั้น 5 และชั้น 3 - System of Arrangement
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Related units of description
วิดีโอ
- Archivist’s Note
ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ : ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงค์โปร์
นิทรรศการ “มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น – สนามบิดเบือนความจริง(ฉบับกรุงเทพฯ) – สื่อกำหนดความคิด: ความคิดกำหนดตัวเลือก: ตัวเลือกกำหนดอนาคต”
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 นิทรรศการ (EXHIBITION)
ส่วนที่ 2 การฉายผลงานวิดิโอจอเดี่ยว (SINGLE-CHANNEL SCREENING)
การฉายผลงานวิดิโอจอเดี่ยวมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางที่แตกต่างกันสามแนวทางได้ทำการคัดสรรโดยทีมคิวเรเตอร์ ผลงานที่เลือกมาจัดแสดงแบ่งออกเป็นสามประเภท ประเภทที่หนึ่งคือภาพยนตร์แอนิเมชั่น งานแนวจินตนาการ/แนวสารคดี หรืองานเชิงข้อมูล ประเภทที่สองคือภาพยนตร์แนวทดลอง และประเภทสุดท้ายคือภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องแต่ง ภาพยนตร์ไทยบางเรื่อง ในโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนสำหรับสร้างสรรค์งาน การฉายผลงานแบบจอเดี่ยวมีเป้าหมาย เพื่อนำเสนอแง่มุมอันแตกต่างหลากหลายของภาพยนตร์และวิดิโออาร์ต รวมถึงกระตุ้นความสนใจของประชาชน เกี่ยวกับวิดิโออาร์ตด้วย
ส่วนที่ 3 กิจกรรมของโครงการ (PROJECT ACTIVITIES)
กิจกรรมของโครงการมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและขยายแนวความคิดของ มีเดีย/อาร์ต คิชเช่น- สนามการบิดเบือนความจริง โดยการจัดโครงการอิสระและโปรแกรมการเรียนรู้เ พื่อทำให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้ง เกี่ยวกับมิเดีย อาร์ตทั้งหมด และยังเป็นการลงสำรวจมิเดีย อาร์ต เพื่อให้เข้าถึงทุกแง่มุม ผู้ชมของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม จะประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ตั้งแต่ประชาชนทั่วไปจนกระทั่งถึงกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะ รวมถึงนิสิตนักศึกษาและผู้ชมออนไลน์ซึ่งพำนักอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ กิจกรรมทั้งหมดจะถูกบันทึกและจัดเก็บไว้บนพื้นที่ออนไลน์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเรียนรู้ - Date(s) of descriptions
03.04.2018