Documents
Good to Walk: ดีที่เดิน (ขยายเวลาจัดแสดง) นิทรรศการออกแบบพื้นที่เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้การเดิน
Download PDF(Login required)- Reference Codes
01EXH-01-2012-191-DOC-01
- Title
สูจิบัตร — Good to Walk : ดีที่เดิน
- Date
20.08.2024
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 31 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม 2555
สถานที่ : ทางเดินโค้งระหว่างชั้น 7 ถึง 9 - Scope and content
นิทรรศการ Good to Walk : ดีที่เดิน นิทรรศการออกแบบพื้นที่ทางเดินระหว่างชั้น 7 ถึง 9 ของห้องนิทรรศการหลัก เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการเดินให้กับผู้ชม สร้างสรรค์โดยนักออกแบบ 5 รูปแบบ
จิตวิทยาทางพื้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สถานที่เสมอ เช่นในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ชมส่วนใหญ่มักใช้บันไดหรือลิฟท์มากกว่าที่จะใช้ทางเดินโค้งซึ่งเสมือนเป็นเส้นทางเดินเชื่อมระหว่างห้องนิทรรศการหลัก อาจเป็นเพราะปัจจัยด้านกายภาพของทางเดินที่มีความลาดชัน และระยะทางที่ไกลไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างที่ควรเป็น ด้วยเงื่อนไขทางกายภาพอย่างที่เป็นอยู่ นิทรรศการ Good to Walk: ดีที่เดิน จึงนำเสนอความคิดและประสบการณ์เชิงทดลองในการแก้ไขปัญหาจิตวิทยาทางพื้นที่ผ่านผลงานของนักออกแบบ 5 สาขา โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความคิด ความสนใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยวิธีการ เทคนิค และวัสดุที่นักออกแบบเลือกนำมาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการเดินให้กับผู้ชม
เนื่องจากพฤติกรรมของคนมีความสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างมีนัยยะ ทั้งในวิถีชีวิต พฤติกรรม และวัฒนธรรมที่ส่งผลทางตรงและทางอ้อมย้อนกลับต่อพื้นที่ นิทรรศการนี้จึงเป็นเสมือนสมมุติฐานที่เกิดจากการศึกษา และเฝ้าดูพฤติกรรมของคน และเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่เข้ามามีทางเลือกในการตัดสินใจทางพฤติกรรมต่อพื้นที่ที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นการเดินด้วยมุมมองใหม่ การรับรู้ที่แตกต่าง การมองเห็น การสัมผัส การนั่งพักผ่อน หรือแม้แต่การเล่น นิทรรศการ Good to Walk: ดีที่เดิน จึงเป็นเหมือนแบบทดลองในการสร้างพลวัตให้กับทางเดินซึ่งแต่เดิมถูกใช้เพียงเพื่อเดิน ริเริ่มให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ของผู้ชมกับพื้นที่ทั้งในมุมส่วนตัวและร่วมกับผู้อื่นทางสังคม เพื่อสร้างความรู้สึก “ดีที่เดิน” ให้เกิดขึ้นกับผู้มาชมนิทรรศการ
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร