Lectures

“ไอคอน ออฟ ดีไซน์ ฝรั่งเศส”


บทบรรยายทางวิชาการ
หัวข้อ: “ไอคอน ออฟ ดีไซน์ ฝรั่งเศส”
ภัณฑารักษ์: เซดริก โมริสเส
ภาษาในการบรรยาย: อังกฤษ / ไทย
**ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมรับฟัง



บทบรรยายจากภัณฑารักษ์

ในส่วนหนึ่ีงของงานนิทรรศการ ไอคอน ออฟ ดีไซน์ สมาคมฝรั่งเศสและหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการจากภัณฑารักษ์ชาวฝรั่งเศสเซดริก โมริสเส ในการบรรยายนี้ ภัณฑารักษ์จะเผยความคิดเบื้องหลังผลงานออกแบบฝรั่งเศสที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ“ไอคอนดีไซน์ ฝรั่งเศส” ซึ่งรวบรวมผลงานการออกแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 20 กว่าสามสิบชิ้นจากนักออกแบบชั้นนำตั้งแต่ เลอ กอร์บูซิเย, ฌอง พรูเว่, ฟิลลิป สตาร์ค,ปิแยร์ โปแลง, และ โรนอง บูรูเลค ผลงานได้รับการยอมรับว่าเป็นแต่ละชิ้นสะท้อนถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัย ผลงานการออกแบบฝรั่งเศสสะท้อนถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม นิทรรศการชุด “ไอคอนดีไซน์ สไตล์ฝรั่งเศส” แสดงผลงานออกแบบตั้งแต่รถยนต์ DS Citroën จนถึงเครื่องบิน Concorde ตลอดจนการออกแบบเก้าอี้ยาว LC4 ของ Le Corbusier กล่าวได้ว่า นิทรรศการชุดนี้ตอกย้ำและสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของการออกแบบฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์การออกแบบนานาชาติ
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 02 214 6630-9 ต่อ 533 
 
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
เซดริก โมริสเส (Cédric Morisset) 
 
สำเร็จการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์และการจัดการด้านวัฒนธรรม เริ่มเป็นภัณฑารักษ์ดูแลกนิทรรศการครั้งแรกในปี 2546 ตามที่ได้รับเชิญจาก Biennale Internationale de Design de Lisbonne จากนั้น เขาได้ทำงานเป็นภัณฑารักษ์จัดนิทรรศการหลายชุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น งาน French Reference ที่เซียงไฮ้ (2551) พิพิธภัณฑ์กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง (2551) พิพิธภัณฑ์มาค์กิช ณ กรุงเบอร์ลิน (2550) อีกทั้ง เป็นภัณฑารักษ์รับผิดชอบนิทรรศการชุด “Icons of French Design” จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมแห่งเมืองบัวนอสไอเรส (Icons of Design au Museum of Architecture de Buenos Aires) (2551) และพิพิธภัณฑ์กาซา บราซิเลียรา แห่งเซาเปาโล (Museu da Casa Brasileira de Sao Paulo) (2552) ในขณะเดียวกัน เซดริก โมริสเส ยังเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบให้แก่นิตยสาร A.D. และหนังสือพิมพ์รายวัน Le Figaro อีกทั้ง ยังเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Design & designers français และทุ่มเทเขียนเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส คริสเตียน บิเช่ร์ (Christian Biecher) ที่แสดง ณ โรงงานแห่งชาติแห่งเมืองแซฟร์ (Manufacture Nationale de Sèvre) (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Bernard Chauveau) พร้อมเขียนบทความบางบทกล่าวถึงผลงานออกแบบในหนังสือชื่อ Louis Vuitton, art, mode et architecture (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Rizzoli)