Activities
โครงการ “ต้องรอด”
โครงการ “ต้องรอด”
นิทรรศการและกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์แก่สาธารณชนที่สนใจทั่วไป เพื่อการแบ่งปันความรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการเตรียมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน
จัดโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเครือข่าย Design for Disasters
โครงการ “ต้องรอด” ประกอบด้วย
นิทรรศการ “เมืองจมน้ำ ”
20 ตุลาคม 2554 – 29 มกราคม 2555
ห้องนิทรรศการชั้น 8
นิทรรศการเพื่อสร้างจิตสำนึกและการตระหนักรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และความเป็นไปได้ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตผ่านผลงานศิลปินและนักออกแบบ 15 ท่าน ศิลปินและนักออกแบบสร้างแนวคิดต่างๆ ในการออกแบบเพื่อจำลองบรรยากาศ นำเสนออารมณ์ ความรู้สึกเพื่อช่วยเหลือเยียวยาในหลากหลายความเป็นไปได้สืบเนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ โดยทั้งหมดนี้เพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล เพื่อสร้างความตื่นตัวที่นำไปสู่การสร้างจิตสำนึก ในการใช้ชีวิตเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมนิทรรศการเมืองจมน้ำ นี้จึงเป็นการกระตุ้น ให้เกิดกระแสสร้างสรรค์และสร้างโอกาสของการมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสื่อสารแนวคิดต่างๆ นี้ต่อสาธารณชนเพื่อภาวะแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
นิทรรศการ “ต้องรอด”
20 ตุลาคม 2554 – 29 มกราคม 2554
ห้องนิทรรศการ ชั้น 8 (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “เมืองจมน้ำ”)
การจัดแสดงแบ่งเป็นเป็นแนวคิดต่างๆ ดังนี้
สิ่งธรรมดากับชีวิตประจำวัน
เป็นการจัดแสดงสิ่งของในชีวิตประจำวันในบริบทที่คุ้นเคยของใครหลายๆคน เช่น ถังน้ำ กะละมัง ราวตากผ้า ประตู ฯลฯ
สิ่งธรรมดากับความว่างเปล่าในห้วงความคิด
เป็นการจัดแสดงสิ่งของในชีวิตประจำวัน 26 ชนิดที่หลุดออกจากบริบทที่คุ้นเคย โดยจะเน้นพื้นที่สีขาวและให้สิ่งของทั้ง 26 ชนิดเด่นสะดุดออกมาเพื่อเป็นการกระตุ้น ให้ผู้ชมได้เกิดการตั้งคำถามและมองสิ่งของเหล่านี้ในมุมมองใหม่ สิ่งของในชีวิตประจำวันทั้ง 26 ชนิด มีดังนี้ ถังน้ำ, กะละมัง, ขันน้ำ, ราวตากผ้า, ไม้แขวนเสื้อ, คลิ๊ปสำหรับตากผ้า, ถุงก๊อบแก๊บ, ถุงขยะดำ, เชือกฟาง, หนังยาง, กล่องรองเท้ากระดาษ, หนังสือพิมพ์, ผ้าปูที่นอน, โต๊ะรีดผ้า, ประตู, ไม้กวาด, ที่โกยผง, ที่ปั๊มชักโครก, ฟองน้ำสก๊อดไบรท์, ตะหลิว, หม้อ, ฝาชี, ขวดน้ำพลาสติก, สายยาง, เก้าอี้พลาสติก และ ร่ม
สิ่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
เป็นการจัดแสดงผลงานของศิลปินและนักออกแบบรับเชิญ 2 ท่าน คุณธนวัฒน์ มณีนาวา (นักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง TAM:DA DESIGN และ คุณสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ (นักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง 100% positive design by surasekk)
และผลงานของ D4D เพื่อเป็นแนวทางและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชม ได้เห็นถึง ความเป็นไปได้ในการดัดแปลงสิ่งของในชีวิตประจำวันให้เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตใน กรณีน้ำท่วมรุนแรง
สิ่งธรรมดากับการเปลี่ยนแปลงโดยคุณ
เป็นส่วนกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ทำการทดลองออกแบบและร่วมแบ่งปันความคิดเห็นในการเปลี่ยนสิ่งของในชีวิตประจำวันทั้ง 26 ชนิดให้เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิต ในยามเกิดน้ำท่วมรุนแรง
เสวนา หัวข้อ “ต้องรอด!”
จัดขึ้นทุกเสาร์ในระหว่างนิทรรศการ ดำเนินรายการโดยวิภาวี คุณาวิชยานนท์ (ผู้ก่อตั้ง Design for Disasters)
เวลา 13.30 – 16.30 น. ชั้น 8
เสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2554
– คุณนพปฎล เทือกสุบรรณ (สถาปนิก/มัณฑนากรอิสระ, อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมและ ผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters)
– คุณสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ (นักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง 100% positive design by surasekk)
เสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554
ยกเลิกการเสวนา เนื่องจากหอศิลปฯ ปิด
เสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2554
– คุณฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล (สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฺBangkok Architectural Research b/A/R และผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters)
– คุณปรียศรี พรหมจินดา (ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554
– คุณชุตยเวศ สินธุพันธุ์ (สถาปนิกผู้ก่อตั้งบริษัท Site Specific อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters)
– คุณพงศกร พัฒผล (ผู้เชี่ยวชาญการเดินป่าและผจญภัยแห่ง Thailand Survival)
เสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554
– นักออกแบบรับเชิญ)
– คุณธนาเทพ หายทุกข์ (เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย)
เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554
– คุณกฤษณพล วัฒนวัญญู (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
– คุณธนวัต มณีนาวา (นักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง TAM:DA DESIGN)
สถานี “ต้องรอด”
20 ตุลาคม 2554 – 29 มกราคม 2555
เคาน์เตอร์ชั้น 3
หอศิลปฯ ได้เปิดเป็นศูนย์กลางการแบ่งปันความรู้ข่าวสารเพื่อร่วมกันสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับอุทกภัยและเตรียมรับมือในการจัดการกับภัยพิบัติแก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งเปิดให้เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การรับมือกับปัญหาน้ำท่วม โดยให้บริการที่บริเวณเคาน์เตอร์ชั้น 3 นอกจากนี้หอศิลปฯ ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เปิดจุดรับบริจาคเงินและข้าวสารอาหารแห้งเพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่บริเวณเคาน์เตอร์ ชั้น 1
เสวนา "ต้องรอด!"
ตอน "ส.ค.ส. ปฏิทิน 2555"
วันเสาร์ที่ 17 ธ.ค. 54
เวลา 13.30 – 16.30 น.
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก
"แผนการจัดการทางด้านภัยพิบัติ"
ควบคุมการออกแบบโดย Design for Disasters
เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานร่วมกันของหลายกลุ่มคน กว่าจะมาเป็นปฏิทินชุดความรู้ทางด้านภ้ยพิบัติ ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันลงพื้นที่ส่งมอบปฏิทินให้กับโรงพยาบาลและชุมชนต่างๆ….พร้อมลงทะเบียนเพื่อรับปฏิทินเป็นที่ระลึกภายในงานเสวนา (จำนวนจำกัด)
วิทยากรรับเชิญ
– คุณวาสนา เต่าสุวรรณ (พนักงานอาวุโสงานสาธารณภัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบโครงการ WHO-RTG Disaster Management และผู้ลงพื้นที่นำร่องแจกปฎิทินแก่โรงพยาบาลและชุมชน)
– คุณญาสินี เศรษฐอนุกูล (นิสิตสถาปัตย์ฯ จุฬา ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้วาดภาพประกอบปฏิทิน)
– คุณธัญญวัฒน์ สุขสำราญ (สถาปนิก สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้วาดภาพประกอบปฏิทิน)
– คุณลีลา ดีไชยเศรษฐ (ครีเอทีฟ ประจำ D4D ผู้ช่วยประสานงานโครงการ)
– คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ (หัวหน้าคณะทำงานชุดความรู้ทางด้านภัยพิบัติ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก)
ผู้ดำเนินรายการ
– คุณปรียศรี พรหมจินดา (นักวาดภาพประกอบ ฉายา "NAAMNOI")