Main Exhibition

Portraits of the King… The Art of Iconography



“ภาพของพ่อ…บารมีแห่งแผ่นดิน” เป็นนิทรรศการศิลปะที่รวบรวมผลงานพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่หาชมได้ยากและมีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ไทยจากศิลปิน ในสาขาทัศนศิลป์ ภายใต้การถ่ายทอดทัศนะทั้งความงามเชิงศิลปะ และการตีความหมายในเชิงสังคม และประวัติศาสตร์ศิลป์ และที่สำคัญไปกว่านั้น แต่ละภาพยังสะท้อนความรู้สึก จิตวิญญาณ ภาพในใจ และความประทับใจของแต่ละศิลปินที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


 

“ภาพของพ่อ…บารมีแห่งแผ่นดิน” เป็นนิทรรศการศิลปะที่รวบรวมผลงานพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่หาชมได้ยากและมีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ไทยจากศิลปิน ในสาขาทัศนศิลป์ ภายใต้การถ่ายทอดทัศนะทั้งความงามเชิงศิลปะ และการตีความหมายในเชิงสังคม และประวัติศาสตร์ศิลป์ และที่สำคัญไปกว่านั้น แต่ละภาพยังสะท้อนความรู้สึก จิตวิญญาณ ภาพในใจ และความประทับใจของแต่ละศิลปินที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ศิลปะภาพเหมือนเป็นผลงานทัศนศิลป์ที่ให้ความสำคัญที่สุดในการถ่ายทอดความละม้ายคล้ายคลึงที่รวมถึง กายภาพ, บุคลิก หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของต้นแบบ สร้างความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างศิลปิน ต้นแบบ และผู้ชมผลงาน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าศิลปะภาพเหมือนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯนั้นเป็นหนึ่งใน แบบของงานศิลปะที่มีการสร้างสรรค์มากที่สุด ผลงานศิลปะกว่า 30 ชิ้นนี้ นำเสนอมุมมองและเรื่องราวต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้เฟรมภาพและรูปปั้น สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯกับศิลปิน ที่แตกต่างตามยุคสมัย ในบทบาทและความผูกพันที่พระองค์ทรงมีอย่างใกล้ชิดกับประชาชนและสังคม 
ในการนำเสนอที่ควบคู่ไปกับงานศิลปะ คือแนวคิดเชิงสังคมจากการตีความหมายของพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในรูปแบบต่างๆที่เราต่างคุ้นเคยกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการรวบ รวมภาพเคลื่อนไหวจากเพลงสรรเสริญพระบารมี ธนบัตร, เหรียญ, ปฎิทิน, ตราไปรษณียากร ฯลฯ รวมถึงภาพในสังคมที่แสดงอิทธิพลทางใจจากระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ภาพของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯนั้น ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่สั่งสมไปสู่ความภาคภูมิใจ ส่งผลเป็นกลไกอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและพัฒนาการของศิลปะเพื่อพระมหากษัตริย์ในมุมกว้าง ทั้งเชิงความคิดและเทคนิคการสร้างสรรค์ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง ของวิถีชีวิตตามยุคสมัย เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในเชิงลึกของความสัมพันธ์ในสังคมไทย จากภาพของพระมหากษัตริย์ที่ถูกสร้างขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุผลใดได้กลายเป็น สัญลักษณ์ ที่มีความหมาย สำคัญเกินกว่าการเป็นเพียงแค่รูปภาพ
 
10 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน 2552
ห้องนิทรรศการ ชั้น 9