Special Exhibitions

BACC Experimental Project


โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


BACC Experimental Project เป็นโครงการเชิงทดลองของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่เปิดรับโครงการจากภัณฑารักษ์และศิลปินในการนำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการขนาดเล็กบนพื้นที่ของหอศิลปฯ โครงการสนับสนุนการนำเสนอความคิดในเชิงค้นหาและตั้งคำถามของผู้ผลิตงาน ที่เป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งของวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์และบทบาทของผู้คนที่สับเปลี่ยนสืบเนื่องจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ทางสังคมต่างๆ จุดประสงค์ของโครงการคือการกระตุ้นให้ศิลปินหรือผู้ผลิตงานเกิดการรื้อคิด ทบทวน พิจารณาตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล หรือเพื่อทดลองความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ ทางศิลปะ และสื่อสารสาระสำคัญเหล่านี้สู่สาธารณชนในวงกว้าง


 

จากประวัติศาสตร์ทางความคิดที่ยึดถือเป็นประเพณีนิยมและยากต่อการเปลี่ยนแปลง โครงการ BACC Experimental Project มีเป้าหมายในการนำเสนอกระแสความคิดอันหลากหลายเพื่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เป็นผลจากอดีตและความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงการสร้างประสบการณ์และมุมมองสะท้อนความคิดย้อนแยงต่อประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัย  BACC Experimental Project เริ่มต้นด้วยนิทรรศการจาก 2 โครงการคือ 24Hours : 24 Days exhibition และ หอศิลป์บริการ จัดแสดงระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือน มกราคม 2554 
 
 
รายละเอียดโครงการสอบถามได้ที่ฝ่ายนิทรรศการ Tel: 02-214-6630 Fax: 02-214-6639 email: [email protected] 
 
สื่อมวลชน ติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02 2146630-8 # 519
www.bacc.or.th

24Hours : 24 Days exhibition
 
กลุ่มศิลปินในนาม 24 hrs. art project
ร่วมประสานงาน นิกันติ์ วะสีนนท์ ( ภัณฑารักษ์ /ผ้ประสานงานโครงการ)
ศิลปิน: วรรณพล แสนคำ, ชัยวัช เวียนสันเทียะ , เอกลักษณ์ สระแก้ว ,พีรนันท์ จันทมาศ , กัมปนาท สังข์สร , สิทธินนท์ พงศ์รักธรรม, ชัยรัตน์ มงคลนัฏ , พฤกษ์ โตหมื่นไวย , ขวัญชัย ลิไชยกุล , กฤษฎา ดุษฎีวนิช , ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท
 
ชั้น 2 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
21 ต.ค. ถึง 13 พ.ย. 2553 (พิธีปิดงานวันสุดท้าย)
 
แนวความคิด
การพูดถึงบริบทของหอศิลป์ บทบาท หน้าที่ การจัดการ สิ่งที่สะท้อนออกสู่สาธารณะ : สิ่งที่สาธารณะมองเข้ามา หอศิลป์ให้อะไรกับคนดู กับศิลปิน กับตัวหอศิลป์เอง 24 hrs. art project ในครั้งนี้เป็นเสมือนการที่เราในฐานะคนทำงานศิลปะมองเข้าหาระบบต่างๆของวงการศิลปะ แล้วชำ แหละมันออกมาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติเพื่อก่อ โดยการสร้างประเด็นและชุดคำถามจากสิ่งที่เป็นอยู่ จากความเป็นจริงในอีกประเด็นหนึ่งรองลงมาคือในเรื่องของคุณค่าของงานศิลปะกับขยะ ในส่วนนี้อาจจะพาดพิงถึงเวทีการประกวดต่างๆ ตัวศิลปิน และนักวิจารณ์ ว่าอะไร ใครเป็นผู้ให้คุณค่าแก่ผลงานชิ้นนั้นๆ ผลงานศิลปะที่ถูกคัดออก ผลงานศิลปะที่ศิลปินมองว่าล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ สุดท้ายแล้วมันเป็นผลงานศิลปะหรือขยะจากกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ 
 
 
หอศิลป์บริการ – Museum Serve
 
โดย กลุ่มศิลปินในนาม ชั่ว คราว
ภัณฑารักษ์: สรศักดิ์ แซ่โง้ว พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง
ศิลปิน: ตะวัน วัตุยา ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ สมโภชน์ แซ่อั่ง มิตร ใจอินทร์ เก็ตโซ่ พงศ์รักธรรม อังกฤษ อัจฉริยโสภณ ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ยุรี เกนสาคู บริษัทย้อนแยงสุนทรียะและสหาย
 
19 พฤศจิกายน 2553 – 19 มกราคม 2554
ณ บริเวณวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างข้างหอศิลปฯ
เปิดงานนิทรรศการ: 19 พ.ย. เวลา 18:00 น. ณ บริเวณวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างข้างหอศิลปฯ
 
 
แนวความคิด
พื้นที่ทางศิลปะจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีวิวัฒนาการมาอย่างหลากหลาย ในอดีตพื้นที่ทางศิลปะถูกสร้างขึ้นมาจากขอบเขตทางศาสนาที่ศิลปะได้กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับวิถีชีวิต แต่ต่อมาจากการจัดการที่ยึดถือตามแบบตะวันตก พื้นที่ทางศิลปะเริ่มมีขอบเขตและที่ทางเป็นของตัวเองเป็นเอกเทศจากสังคมในวงกว้าง สถานที่ที่สามารถจัดแสดงนิทรรศการตามที่ต่างๆ ก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างสูงต่อวงการศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันทำให้การรับรู้ถึงศิลปะ เป็นเอกเทศจากผู้คนกลุ่มอื่นในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครงการ หอศิลป์บริการ หยิบยกประเด็นในการสร้างพื้นที่ทางศิลปะที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตอันหลากหลายของผู้คนในสังคมปัจจุบัน โดยจุดประสงค์เพื่อให้ศิลปะสามารถแทรกซึมสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนได้อีกครั้งหนึ่งเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต แผนการดำเนินงานครั้งแรกของหอศิลป์บริการนี้คือ หอศิลป์จิตรกรรม ณ วินมอเตอร์ไซด์ โดยนำเสนอผลงานศิลปะจากศิลปิน 9 คน ด้านหลังเสื้อวินมอเตอร์รับจ้าง