Arts Network Exhibitions
สงคราม > กำแพง
โดย ทราย วรรณพร ฉิมบรรจง
ในงานชุดนี้เราอยากบันทึกเรื่องราวในช่วงปี 2548 – 2553 โดยไม่ได้เพียงเขียนความคิด แต่ยังบันทึกข้อความ ความคิดของผู้คนลงไปด้วย ในงานชุดนี้นอกจากงานภาพเขียนสไตล์กราฟิตี้ (Graffiti) ยังมีงานจัดวาง (Installation) โดยเลือกใช้เทคนิค ปั้นดิน เผาไฟสูง (Ceramic) มาเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย เพื่อสื่อสารให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความรู้สึกคล้ายฝนตกกลางเมืองกรุงฯ ซึ่งกลับกลายเป็น ระเบิด กระสุน และชิ้นส่วนของอวัยวะผู้คน รวมทั้งความรู้สึกเศร้า เสียใจ กับทุกชีวิตที่ต้องจากไปในการชุมนุมเรียกร้อง ด้วยความเชื่อว่าประชาชนคือผู้บริสุทธิ์(ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวย คนเล่นเกมอำนาจทุกครั้ง) ระหว่างการทำงานเราได้อะไรบางอย่างจากผู้คนที่ผ่านไปมาเห็นการทำงานชุดนี้ นั่นคือทุกคนเลือกอ่านแต่ข้อความที่คิดตรงกับเขาเท่านั้น และต่อว่ากับความคิดที่ต่างจากตน เราก็เป็นคนหนึ่งที่เลือกข้าง เพราะเชื่อว่าระหว่างความดีกับความชั่วไม่น่าจะมีตรงกลาง โดยไม่ได้สู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่งเราสู้เพื่อตัวเรา เพื่อผู้คน แต่รัฐประหาร 2549 ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ของอีกฟากหนึ่ง จนหลายคนอาจลืมหรือฉวยโอกาสลืมความผิดต่างๆที่อดีตนายกฯทักษิณได้ทำไว้กับประเทศของเรา รถถังกลายเป็นสัญลักษณ์ของการฆ่าประชาชน โดยที่ไม่มีใครพูดถึงเหตุการณ์ที่ตำรวจจงใจฆ่าประชาชนเมื่อ 7 ตุลาฯ กลุ่มคนที่คิดต่าง ยินดีให้คนเหล่านั้นล้มตายไป เกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้