Arts Network Exhibitions

เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010


พิธีเปิด : วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2553 เวลา 18.00 น. ณ ลานด้านหน้าหอศิลปฯ


ผู้ที่รักการออกแบบและอยากจะรู้ว่างานออกแบบสร้างมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างไร ไม่ควรพลาดงาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010” ซึ่งได้รวบรวมกิจกรรมต่างๆ มากกว่า 40 กิจกรรม ภายใต้ความร่วมมือกว่า 26 ประเทศ โดยพื้นที่จัดงานหลักคือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เซ็นทรัลเวิลด์ และอีกหลายแห่งด้วยกัน


 

งาน “เทศกาลออกแบบนานาชาติบางกอก 2010” ลักษณะของงานมีด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. การแสดงหลัก ภายใต้แนวคิด “ความรักและมิตรภาพ” ที่เน้นถึงความรัก มิตรภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการออกแบบ โดยความร่วมมือกันของดีไซเนอร์ไทยและต่างชาติชื่อดัง ซึ่งงานส่วนนี้จะกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ 2. Next Station Bangkok ( Creative Market Zone) ตลาดนัดงานออกแบบ ที่มีทั้ง ผลิตภัณฑ์ โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ แฟชั่น และอื่นๆ ที่หักมุม โดดเด่น เติมเต็มจินตนาการ แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครจาก นักออกแบบรุ่นใหม่ ที่จะแสดงกระบวนการสร้างงานเก๋ไก๋ เช่น การนำเซรามิครูปทรงใหม่ ๆ บวกเข้ากับลายเบญจรงค์จาก Studio Make, งานปูนที่ผสมผสานงานผ้าเป็นต้น อีกทั้งยังมีแบรนด์ดังอย่างเกรฮาวน์มาเสนอผลงานอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นเซอร์ไพรส์  และ 3. นิทรรศการด้านออกแบบหลากหลายสาขา ตัวอย่างเช่น นิทรรศการงานออกแบบดีเด่นจากประเทศญี่ปุ่น GMARK, งานออกแบบดีเด่นของไทย DMARK, DMY งานดีไซน์ล่าสุดส่งตรงจากเบอร์ลิน และ ความคิดสร้างสรรค์ของเหล่า ดีไซเนอร์ทั้งไทยและเทศ เป็นต้น
 
นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น “Designers Saturday” ที่เชิญ designer ระดับโลกมา บรรยาย“Degree Shows”งานแสดงผลงานนักศึกษาที่กำลังก้าวสู่โลกของมืออาชีพ และเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในวงการออกแบบ
 
ติดตามตารางกิจกรรมและรายละเอียดได้ที่  www.bangkokdesignfestival.com

เทศกาลออกแบบบางกอก 2010 (Bangkok International Design Festival 2010) ภายใต้หัวข้อ Love & Friendship สถานที่หลักๆได้แก่ Hub A ; Central World, Hub B ; หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หน้ามาบุญครอง, แกลรอลี่ และโรงแรมต่างๆ ตามเส้นทาง BTS รวมไปถึง Sky walk บริเวณแยกราชประสงค์ทั้งหมด (HUB C, D, E, F)
 
Hub B: BACC
วันที่ 20 – 30 พฤศจิกายน 2553
1. ลานน้ำพุด้านหน้าBACC
นิทรรศการ "ลักยิ้ม" โดยกลุ่ม Knotting Else (Installation) ผลงาน Installation ขนาด 2.4 x 2.4 เมตร โดยกลุ่ม Knotting Else ซึ่งเคยฝากผลงานเอาไว้กับ ‘The Big 8’ ใน BDF 08 และ ‘ลงแขก’ ใน BDF 09 ประกอบไปด้วย 10 บริษัทออกแบบภายในแถวหน้าของบ้านเรา HASSELL, DECA, ORBIT, BEAUMONT, IA, 103, Space Matrix dwp, PIA, P49, DEESIGN และ AUGUST สำหรับงานในปีนี้พวกเขาจะมาตีความ ความหมายของ ‘ลักยิ้ม’ ซึ่งก็เป็นเป้าหมายของงานนี้ที่ว่าใครมาชมนิทรรศการนี้แล้วต้อง ‘ยิ้ม’ โดยจะมีการให้โจทย์เป็นคำ อาทิ love,curiosity, sweet ให้แต่ละบริษัทสร้างพื้นที่ของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้คนเข้าไปสัมผัสและตอบโต้กับพื้นที่ 
 
2. กำแพงตึกBACC ฝั่ง BTS
ฉายหนังสั้น หรือ ภาพงาน BDF
 
3. กำแพงตึกด้านหน้า BACC
นิทรรศการ Visual Graphic โดย Xtreme Plus featuring ดีไซเนอร์หลายคน (Exhibition) มี 3 งาน 1 Bangkok Visual Design Festival งานประชุมทางด้าน digital design, visual design และ interactive media วันที่ 21 พฤศจิกายน 2. DSI แสดงผลงาน digital design ของนักออกแบบบนผิวอาคารหอศิลป์ 3. แสดงผลงานอะนิเมชั่นและ motion graphic บนผิวอาคารหอศิลปฯ
 
4. ชั้น L หน้าห้องสมุด
Thainess 2 และ BADs โดยคุณกฤษณ์ แสงวิเชียร (Exhibition) ไทยเนส ๒ งานออกแบบล่าสุดในหลากหลายผลงานโดย กฤษณ์ แสงวิเชียร
 
5. โถงชั้น 1 
-THAINESS II : Conductor(Exhibition) ไทยเนส ๒ งานออกแบบล่าสุดในหลากหลายผลงานโดย กฤษณ์ แสงวิเชียร 
– BADstore 2010 (Exhibition) 
ไทยเนส ๒ งานออกแบบล่าสุดในหลากหลายผลงานโดย กฤษณ์ แสงวิเชียร 
– นิทรรศการ River of the world (Exhibition) (Outdoor) ผลงานการออกแบบของเด็กนักเรียนมัธยม 7 ประเทศ โดยมุ่งเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศที่มีแม่น้ำตัดผ่านใจกลางเมือง อาทิ แอฟริกาใต้ อียิปต์ อังกฤษ ไทย เป็นต้น 
– CE “Love & Friendship” จำนวน 1 คู่ Exhibition (love&friendship) นิทรรศการที่ต้องการส่งสารถึงคนกรุงเทพฯ โดยสองนักออกแบบจากอังกฤษ Pomme Chan นักออกแบบภาพประกอบ(illustrator) และ Sean Freeman นักออกแบบอักษร(typographer) ร่วมกันสร้างผลงานในแนวคิด love&friendship เพื่อให้เกิดเป็นงานกราฟิกสามมิติขึ้นในพื้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ โดยเป็นการสร้าง typography โดย Sean Freeman บนฉากหลังซึ่งเป็นภาพ illustrate ของ Pomme Chan
– Shreded Memory(Exhibition+Installation)ผลงานต่อเนื่องของ จารุพัชร อาชวะสมิตร ในเรื่อง eco friendly หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ และการสร้างงานศิลปะจากเศษกระดาษที่ผ่านเครื่องตัดมาสร้างเป็นชุดกิโมโน
 
6. ห้องกระจกชั้น 2 / โถงชั้น 2
"Brotherhood" exhibition by Marco Evaristti (Exhibition) ผลงานโดย Marco Evaristti ศิลปินและสถาปนิกชาวเดนมาร์คที่นำเอาหนังสือพิมพ์ไทยมาสร้างเก้าอี้และเฟอร์นิเจอร์ เป็นงานจัดวางกึ่งศิลปะกึ่งงานออกแบบ โดยนำเสนอเรื่องราวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสัคมโลก
– รวมผลงาน Slowmotion (Exhibition) นิทรรศการที่จะเปิดให้เห็นภาพการทำงาน ตลอดจนความเป็นมา และผลงานที่น่าสนใจ ของบริษัทออกแบบที่มีผลงานออกแบบเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทออกแบบที่น่าจับตามองในบ้านเราอย่าง Slowmotion 
-‘Undercover’by Waroot Phanyarachun (Exhibition)Restrospective รวบรวมผลงานของ วรุฒ ปัญญารชุน นักออกแบบกราฟิกที่คร่ำหวอดและผูกพันอยู่กับอุตสาหกรรมดนตรี กับการเป็น creative director ที่เปิดทิศทางการออกแบบใหม่ๆให้กับวงการออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงานออกแบบปกอัลบั้มของเบเกอรี่ มิวสิค ในยุคแรกๆให้กับศิลปินมากมาย อาทิ โมเดิร์นดอก ไทร์อัมคิงดอม โยคีเพลบอย ฯลฯ ซึ่งผลงานของเขาก็ทำให้เกิดกระแสดนตรีทางเลือกในอุตสาหกรรมดนตรีของไทย งานนิทรรศการครั้งนี้จะรวมผลงานของเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (1994-2010) ซึ่งรวมไปถึงผลงานล่าสุดของเขาที่จับคู่กับนักออกแบบ (ชื่อป๊อก) สร้างผลงานที่ขยายวงกว้างขึ้นกว่าเดิมและให้ความสนใจในเรื่อง consumer product และงาน event 
– นิทรรศการ “Double O Seth” – License to cut ผลงาน Collage โดย เศรษฐพงศ์ โพวาทอง (Exhibition) เศรษฐพงศ์ โพวาทอง นักออกแบบ และ editorial design ที่อยู่ในแวดวงนิตยสารมามากกว่าสิบปี และดูแลรับผิดชอบนิตยสารมาหลายหัว อาทิ Katch, Mono, Delicious, Arena กับงานคอลลาจย้อนยุคที่เป็นที่รู้จักของเขาและเคยนำมาร่วมแสดงในงาน BDF 09 ใน “Design ไป บ่นไป’ เมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เขานำผลงาน collage ของเขามาให้ได้ชมกันอีกครั้ง งานคอลลาจชุดนี้ต่อเนื่องมาจาก Double O Seth ‘Goldscisser’ ที่เคยแสดงไปก่อนหน้านี้ที่ Soul Space และให้ชื่อชุดนี้ว่า ‘License to cut ieieei’ ซึ่งแปลงมาจากตอน ‘License to kill’ ของเจมส์บอนด์เช่นกัน ซึ่งงานนี้จะแสดงหลากหลายมุมมองของเขาทั้งเรื่องการเมือง สังคม ในแง่มุมที่ไม่ซับซ้อนและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ร่วมตีความจากผลงานของเขา ซึ่งความพิเศษสำหรับงานนี้คือจะเป็นการนำผลงานจริงมาโชว์ (ไม่ใช่การพริ้นท์ขยาย) รวมถึงนำชิ้นงานขนาดใหญ่ของเขามาจัดแสดงด้วย
– "Dont think twice" exhibition by Pomme Chan จำนวน 3 ห้อง Exhibition (love&friendship) Don’t think twice ชื่องานแสดงที่สื่อชัดเจนกับผู้ชมว่านี่คืองานทั้งภาพวาด ภาพประกอบ งานจัดวาง ฯลฯ ที่มาจากประสบการณ์ผ่านการมองเห็น ได้ยิน และคิดขึ้นของศิลปิน ซึ่งผู้ร่วมชมงานจะได้เห็นถึงความจริงในงานโดยไม่ต้องคิดซับซ้อนให้มากความ งานแสดงผลงานเดี่ยวของนักออกแบบภาพประกอบจากอังกฤษ Pomme Chan ร่วมกับศิลปินรับเชิญ อาทิ Trop Design, วรุฒ ปัญญารชุน, จิรายุ อมรพัฒนา, Christian Hogue, ทวีศักดิ์ ศรีทองดี และ ดวงฤทธิ์ บุญนาค 
-‘World Silence Day’ Poster(Exhibition) โปสเตอร์ที่พูดถึงเรื่องของโลกและสิ่งแวดล้อม 20 ชิ้นจาก Bali Creative Community และ Indonesia Graphic Designers Association (ADGI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม World Silence Day ที่จัดเป็นประจำทุกปีทั่วโลกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการใช้งานออกแบบสื่อสารไปยังผู้คนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงบนโลกและให้ความใส่ใจกับโลกใบนี้มากขึ้น
– Bio Genesis (Exhibition) งานแสดงเดี่ยวของ สุริยะ อัมพันสิริรัตน์ สถาปนิกผู้ให้ความสำคัญกับบริบทและธรรมชาติ ด้วยความสนใจในเรื่องต้นไม้เป็นทุนเดิม การทำงานศิลปะของเขาในครั้งนี้จึงเป็นการผสมผสานกันระหว่างงานประติมากรรมกับต้นไม้ เหมือนนำสิ่งที่แตกต่างกันมาร่วมกัน และออกมาในรูปแบบของงานประติมากรรมที่รองรับรูปทรงของต้นไม้แต่ละชนิดที่เขาคัดเลือกมาเป็นพิเศษสำหรับงานนี้ ซึ่งผลงานทั้งหมดเป็นเหมือนงานต้นแบบที่อาจจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจริงในอนาคต
 
7. ห้องกระจกชั้น 3
"Crafting Geographies" โดย BKK Art House (Exhibition) 
นิทรรศการ Crafting Geographies โดย BKK Art House ที่เชิญ 3 ศิลปินและนักออกแบบ เจษฎา อินทะพันธุ์, วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และอดา จิระกรานนท์ มาสร้างผลงานที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างการออกแบบสิ่งทอกับงานสถาปัตยกรรม และมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรม บริบทสังคม ธรรมชาติ พื้นที่สำหรับคน และการสร้างมิติที่ซับซ้อน
 
8. ผนังทางโค้งชั้น 3
"Love & Friendship" by Pomme Chan and Sean Freeman (Exhibition) (love&friendship) นิทรรศการที่ต้องการส่งสารถึงคนกรุงเทพฯ โดยสองนักออกแบบจากอังกฤษ Pomme Chan นักออกแบบภาพประกอบ(illustrator) และ Sean Freeman นักออกแบบอักษร(typographer) ร่วมกันสร้างผลงานในแนวคิด love&friendship เพื่อให้เกิดเป็นงานกราฟิกสามมิติขึ้นในพื้นที่หอศิลป์กรุงเทพฯ โดยเป็นการสร้าง typography โดย Sean Freeman บนฉากหลังซึ่งเป็นภาพ illustrate ของ Pomme Chan
 
9. ผนังทางโค้งชั้น 4
Time and Distance in Portraiture of Gene Kasidi (Exhibition) นิทรรศการจาก Props Gallery ที่ได้ มัณฑนากร เงินวิลัย มาสร้างสรรค์ผลงานที่พูดถึงทั้ง ภาพถ่าย ความงาม เวลา และสเปซ ด้วยความคิดที่ว่า ‘มันเป็นการยากที่คนจะมองสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงเร็วๆ ในขณะเพียวกัน คนก็ไม่สามารถสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวของสิ่งที่เคลื่อนที่ช้าๆ’ ซึ่งความคิดทั้งหมดก็ส่งผลให้เกิดงานชุดภาพถ่ายชาย-หญิงขนาดเท่ากัน 20 ภาพ ที่ถูกเรียงตัวกันเป็นแถวตอนเพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาและระยะทางของการเข้าชมงาน
– "Chair-share" exhibition เก้าอี้ 60 ตัวของศิลปินที่เข้าร่วมสร้างผลงานศิลปกรรมในหัวข้อ Chair-Shair
 
10. พื้นที่โถงชั้น 5
นิทรรศการ Prosperity of Siam Ood joinery art modern era จำนวน 10 ชิ้น
 
11. ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5
Designers' Saturday (Talk) งานเสวนาด้านการออกแบบประจำปีของนิตยสาร art4d ซึ่งครั้งนี้เป็นการจับคู่สองสถาปนิกชั้นนำของเอเชียอย่าง Yansong Ma สถาปนิกชาวจีนจาก Mad Architects Office ที่มีทั้งงานออกแบบและประกวดแบบตึกระฟ้าทั้งในเมืองจีนและต่างประเทศ กับ Gurjit Singh Matharoo จาก Matharoo Associates สถาปนิกชาวอินเดียที่ผ่านประสบการณ์การออกแบบในหลายประเทศและเพิ่งได้รับรางวัล the best house in the world awarded ในปีนี้ของแมกกาซีน Architectural Review จากการออกแบบบ้าน house with balls 

Image Gallery