Main Exhibition 789

นิทรรศการ MD3 Fragility and Monumentality


จัดโดย แอนดรูว์ สโตล ร่วมกับ ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
สนับสนุนโดยบริติชเคาน์ซิล; UCL Development and Alumni Relations Office; UCL Slade School of Fine Art; มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
พิธีเปิดนิทรรศการ 26 มิถุนายน 2557


นิทรรศการ Monologue Dialogue 3 ได้ดำเนินงานการแลกเปลี่ยนพูดคุยครั้งสำคัญนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้วในไทยด้วยการสนับสนุนจาก บริติช เคานซิล ทำให้เกิดกลุ่มศิลปินอังกฤษและไทยทั้งในกรุงเทพและลอนดอน มาจัดงานนิทรรศการนี้ขึ้น พวกเขาได้เข้าร่วมนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นมาเป็นครั้งที่สาม หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ พัฒนาและรวบรวมศิลปินหน้าใหม่ๆ ที่สนใจการแลกเปลี่ยนพูดคุยหลากหลายที่มีความเป็นสากล และยากที่จะคาดเดา ‘ความเปราะบางและยิ่งใหญ่’ คือคำสำคัญในนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งไม่ได้มีจุดหมายเพื่ออธิบายภาพของอะไรออกมา และก็ไม่ได้อธิบายถึงทฤษฎีหรือแนวความคิดไหน แต่ทว่าเป็นการรวบรวมบทกวีเพื่อความไม่แน่นอนจะปรากฏตัวขึ้นในบางครั้ง  ศิลปินกลุ่มนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับงานแสดงครั้งนี้ โดยคิดค้น ประกอบ ระบายสี และสร้างมันขึ้นมา ซึ่งเราคาดหวังได้ถึงการพูดคุย ที่มีชีวิตชีวา และน่าตื่นเต้น หรือแม้กระทั่งล้มเหลว  แต่ความล้มเหลวและความว่างเปล่าก็เป็นคำสำคัญในศิลปะที่ควรถูกรวบรวมเอาไว้ เพื่อทำให้เกิดพื้นที่สำหรับความเปราะบางและจินตนาการที่คาดไม่ถึงขึ้นมาได้  และความยิ่งใหญ่นั้นจะสัมพันธ์กับการปรากฏตัวขึ้น ที่สามารถเชื่อมโยงได้ถึงแม้กับการดำรงอยู่ที่แม้ดูไม่ลงตัว
 
ทักษิณา พิพิธกุล จะทำให้เราตื่นตาตื่นใจกับงานปะติมากรรมสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของงาน Respond ที่ได้ครอบครองพื้นที่ของงานเอาไว้  ตินติน คูเปอร์ จะนำเสนอความซับซ้อนผ่านซุ้มงานที่รวมเอาสนามกีฬา และศาลพระภูมิอันทันสมัยเข้าไว้ด้วยกัน  นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ กำลังวางแผนงานศิลปะจัดวางแนวใหม่ ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในงานนิทรรศการครั้งนี้ เนลล์ เจฟฟรีส์ กำลังสร้างสรรค์ผลงานชุดภาพนูนแกะสลักบนกำแพงเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่สักแห่งระหว่างภาพวาดและงานปะติมากรรม นาธาเนียล แร็กโคเวะ จะแสดงงานจัดวางปะติมากรรมที่ใช้หลอดนีออน ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นเมืองใหญ่อย่างมาก  มิแรนดา ฮูสเด็น จะเล่นกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน โดยการพยายามแขวนโคมไฟระย้าอันใหญ่ที่เพดาน  ปัญญา วิจินทนสาร ได้สร้างสรรค์ภาพวาดที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งจะสัมพันธ์กับความสับสนวุ่นวายและการไม่สามารถคาดเดาได้ ผ่านการเล่นคำสองคำนี้ นิวเคลียร์ (nuclear) และ นิว เคลียร์ (new clear) และกับรูปภาพพระพุทธเจ้า  เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ จะสร้างสรรค์งานจัดวางที่ดูตื่นตาตื่นใจและถูกออกแบบมาเฉพาะ และยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจจะรวมเอาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันในพื้นที่งาน  อีริก เบนบริดจ์ จะมาพร้อมกับงาน The Ghost of Jimmy the Nail และจะสร้างงานปะติมากรรม ณ ที่จัดวางผลงาน  บี เถกิง พัฒโนภาษ จะติดตั้งงาน gas-p ในรูปแบบใหม่ที่มีขนาดกว้าง 20 เมตร ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนของเสียงและช่องทางเดินยาว 2 ช่องที่จะค่อย ๆ แคบลงทีละน้อย เป็นทางเดินไปสู่รูปทรงร่างกายมนุษย์ที่ดูเข้าใจง่ายแต่ลึกลับ ซึ่งดูขัดแย้งกัน   อะซูโกะ นากามูระ จะสร้างสรรค์งานจัดวางปะติมากรรมรูปแบบใหม่ โดยรวบรวมเอาวัสดุไม้และธรรมชาติที่เหลือใช้และยังใช้ได้ เช่น เศษไม้ เกลือ น้ำตาล และน้ำ โดยนำมาสร้างสรรค์งานวิดีโอ  แอนดรูว์ สโตล จะแสดงผลงานภาพวาดขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า The Death of Trotsky
 
นิทรรศการครั้งนี้จะถูกจัดแสดงขึ้นที่หอศิลปกรุงเทพฯ ชั้น 9 โดยจะนำเสนอหลักการที่ก่อให้เกิดการตื่นตัว ผ่านการแลกเปลี่ยน พูดคุยกันเป็นพิเศษ ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างศิลปินที่เข้าร่วมงานและผลงานของพวกเขา ขอบเขตของงานสร้างสรรค์นี้จะประกอบไปด้วย งานศิลปะการจัดวาง งานประติมากรรม และภาพวาด ซึ่งรังสรรค์โดยกลุ่มศิลปินที่มีความหลากหลายมาก และจะมีการพูดคุยประเด็น ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบันอย่างคร่าว ๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาศิลปะที่แพร่หลายผ่านวัฒนธรรม ภาพวาดและศิลปะการจัดวาง ที่ตื่นตาตื่นใจ และบทสนทนาพูดคุยด้านศิลปะ เป็นต้น
 
ภัณฑารักษ์: แอนดรูว์ สโตล
 
ศิลปิน: แอนดรูว์ สโตล/ อะซูโกะ นากามูระ/ บี เถกิง พัฒโนภาษ/ อีริก เบนบริดจ์/ เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์/ ปัญญา วิจินธนสาร/ มิแรนดา ฮูสเด็น/ นาธาเนียล แร็กโคเวะ / เนลล์ เจฟฟรีส์/ นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์/ ตินติน คูเปอร์/ ทักษิณา พิพิธกุล