Main Exhibition 789

Experimental Video Art Exhibition, Thai-European Friendship 2004-2014 (EVA project) [ขยายเวลาจัดแสดง]


โดยฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ อาจารย์คมสัน หนูเขียว
พิธีเปิดงาน 17 กรกฎาคม 2557


เป็นโครงการที่ถูกทำขึ้นทุกๆ ปี โดยเป็นการนำเสนอผลงานวีดีโอจากประเทศไทย และจากประเทศในแถบยุโรป โดยเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี 2004 (ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี แล้ว) ซึ่งโครงการนี้ได้มุ่งประเด็นไปที่สุนทรียศาสตร์ และเนื้อหาของเทคนิควีดีโอ อันเป็นมีเดียที่สำคัญประการหนึ่งในโลกศิลปะปัจจุบัน โดยตัวของมันเองมีส่วนร่วมแสดงอย่างมากต่อโลกศิลปะร่วมสมัย หรืออาจจะมากกว่ามีเดียแบบเก่า (เทคนิค Painting, Print making, Sculpture) โดยวีดีโอมักใช้เทคนิคสมัยใหม่ ผ่านการคำนวนทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้พื้นฐานของสุนทรีย์ศิลปะเป็นตัวแสดงออก และผลพวงจากสิ่งเหล่านี้นั้นมาจากสภาพแวดล้อมของเราๆ ทีมีชีวิตอันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยในประเทศไทย วีดีโอ อาร์ต (Video Art) ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในทางศิลปะนัก
 
โครงการ EVA ในตลอด 10 ปีของโครงการ มีความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นถึงรูปแบบวีดีโอ ที่ศิลปินใช้ในปัจจุบัน และสำหรับการแสดงในประเทศไทย ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัย 9 แห่ง เข้าโครงการอันประกอบด้วย คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยช่างศิลป ลาดกระบัง, สาขาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ, คณะศิลปวิจิตร สถาบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศาลายา
 
วัตถุประสงค์ของโครงการเป็นการจัดขึ้นทุกๆ ปีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายจากผลงาน ทั้งจากผลงานของศิลปินนานาชาติ ผนวกกับผลงานของศิลปินไทย และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลงานที่ทำผ่านเทคนิควีดีโอ โดยเฉพาะผลงานเหล่านี้จะเป็นตัวแสดงถึงสิ่งที่พวกเขาเกี่ยวข้อง ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงวิธีคิดทฤษฎีต่างๆ โดยเฉพาะในความหลากหลายของพฤติกรรมที่สะท้อน และได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยีที่อยู่รอบๆ ตัวพวกเรา ผ่านการรับรู้และสุนทรีย์ทางศิลปะ โดยได้เชิญศิลปินชาวยุโรปผู้ซึ่งอาศัยและทำงานในประเทศเหล่านั้น อาทิ ศิลปินจาก เยอรมนี, ออสเตรีย, อิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, สโลเวเนีย, อังกฤษ และประเทศอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบ โดยสไตล์รูปแบบและขบวนการการทำงานได้บ่งบอกถึงความหลากหลาย โดยเบื้องหลังการแสดงออกผ่านทางวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียม ประเพณี และความสนใจของศิลปิน ซึ่งประด็นต่างๆ เหล่านั้นชี้ให้เห็นการแก้ปัญหาอันเกี่ยวข้องกับสถานที่ เวลา ตามภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดทั้งศิลปินต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในโครงการ ต่างมีความหลากหลายของพื้นเพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตั้งใจ เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ในการทำความเข้าใจของความแตกต่างของวัฒนธรรมตลอดทั้งสุนทรีย์ศิลปะ
 
เพื่อเปิดโลกทัศน์ในระดับนานาชาติ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยด้วยกัน และต่อสถาบันการศึกษาในต่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น อาทิสถาบัน Academy of Fine Arts, Vienna, Austria, Academy of Media Arts, Cologne, Germany
 
จุดมุ่งหมายของเราเป็นบริบทหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพการศึกษาในประเทศไทย วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบการศึกษาศิลปะเป็นอันมาก โดยโครงการเป็นความตั้งใจประการหนึ่งเพื่อเปิดโอกาศแก่นักศึกษาได้ทำความเข้าใจ และรู้จักผลทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งที่โครงการถูกทำขึ้นมาตลอดทั้ง 10 ปีที่ผ่านมา และยังได้ให้การศึกษาเพิ่มความรู้ต่อมีเดียสมัยใหม่แก่นักศึกษาและผู้สนใจ และยังเป็นการร่วมมือเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศิลปินไทย และศิลปินต่างประเทศด้วยอีกประการหนึ่ง อันได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโครงการได้ประสบความสำเร็จจากการแสดงที่ผ่านมา โดยหวังว่าในอนาคตตัวโครงการจักนำพาสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

ภัณฑารักษ์
คมสัน หนูเขียว
พาสเคาร์ เฟนเดริก
ซาบีน่า มาร์ทะ
 
ศิลปิน
อเล็ก เฮม/ อันจา เคาอท์กาสเนอร์ซ/ อานนท์ ไชยแสนสุข, รัชต์ จุลชาต, ณัทภัทร ธรรมศาสน์, ณภัทร วัฒนกุลจรัส และบวร ขจรพันธุ์พงศ์/ อานนท์ นงเยาวน์/
บาบาร่า สตอร์ม/ บิลลี่ โรอส / โบริส อิมซสเช่/ ชญานิษฐ์ วงศ์ทองดี/ เดเนียร์ เบอร์ฮาดท์/ ดาร์ริอุสซ โควาล์ซขี/ ดาร์วิด ลาซเชอร์/ โดเร็กค์ โรเบอร์/ ดีเตอร์ โควาซ์/
โดริส ชามิสน์/ แอร์เบอท์ มิทเทลล์ชตัดท์/ เอวา วายนิการ์ทเน่อร์/ เอว่ามาเรีย ชาลคเล่อร์/ เกราร์ด ซาฮน์/ เกร์ทรูเดอ์ โมเซอ์-เวกจเนอร์/ จูริอาร์โน่ เวซ/
โกลว์ โบเอค์เล่อร์/ ฮารอล์ด ฮุน และพอลร์ โฮนน์/ เฮซอล คิม/ ไฮดรุนท์ โฮสฟายทด์/ ไฮดรุนท์ โฮสฟายทด์ และคริสท๊อฟ ดาร์อเกอร์/ อิทธิพล เชื้อทอง/ จาน อาร์ท/
ยัน มาฮาเชค์/ เจตน์ อยู่ยิ้ม/ จิฮเย พาร์ค/ โยฮัน ลูร์ฟ/ โจฮันน์ ลูรส/ จูเรีย วายด์เน่อร์/ จุงน์ ยังจ/ คณากร คชาชีวะ/ คาร์ริน ฟิชซทาเร่อร์/ คาร์ อินเกอร์ ลอยซ์/
เคทท์ พิเคอริงจ์/ เคอเทอร์รีนน่า ฮูเบอร์/ แข มังกรวงษ์/ กิตติ ศรมณี/ คมสัน หนูเขียว/ โฆษิต จันทรทิพย์/ ลีน่า ดิทเทอ นิสเซน/ ลีโอพอร์ด เคซ์เล่อร์/ ลีอา/
มากิ ซาตาคิ/ มานูเอล คเนพ/ มาเรีย เพทชเช่ซ์/ มาเตจ์ โมดรเจค/ มาทิอัส นอยอ์โฮเฟอร์/ เมนโน อาเดน/ มีเรียม ไบทาลา/ น้ำฝน อุดมเลิศรักษ์/ นันธนาส อินธิอัมพันธ์/ ณัฐณรัณ บัวลอย/ นวรัตน์ กาญจนินทุ/ นิโคล์ ชาดท์/ นิธิพัฒน์ หอยสังข์ทอง/ นงลักษณ์ ตรีธนาโชติ/ นอร์เบอร์ท พาร์เฟนท์บิสชเร่อร์/ โอริเว่อร์ สเตาทซ์/
อรวรรณ อรุณรักษ์/ ภาณุ  แสง – ชูโต/ พาสเคาร์ เฟนเดอร์ริค/ พาสเคาร์ เฟนเดอร์ริค และเบอร์ ฮัพพ์เฟอร์/ พศุตม์ กรรณรัตนสูตร/ ปีเตอร์ คอนราด เบเยอร์/
ฟิลลิปพ์ แมสเซอร์/ พิริยะ อุ้ยไพบูลย์สวัสดิ์/ พุฒิพงศ์ พิสิฐกุลภาคย์/ รีมัส ซากาเลาซคาร์ส/ โรเบอรท์ วาเทอร์/ ซาบีน่า มาร์ทา/ ซูซานเน่ ชูอดา/ ซูซี่ เจร์คูสส์/
เทสซ่า คเนพ/ ธีรวัฒน์ เมษะสิทธิวิทย์/ โทรสเทน ชเนอเดอร์/ ทีน่า เฟงท์ค/ ทินทิน คูเพอร์/ ทักษิณา พิพิธกุล/ อัว โดมินโก เกนัด/ วุฒิกร คงคา/ โยชิฮิสะ นากานิชิ/
ยุทธชัย ตั้งวงษ์เจริญ

 

นิทรรศการดำเนินงานโดย
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ อาจารย์คมสัน หนูเขียว
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 โทรสาร 02 214 6639 

—–

EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY: นิทรรศการ EVA (Experimental Video Art)

กิจกรรมพิเศษ Artist Select
โดยศิลปิน ณัฐณรัณ บัวลอย
ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
 
ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมกับศิลปิน ณัฐณรัณ บัวลอย ขอเชิญชมผลงานวีดีโออาร์ตและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากศิลปินในนิทรรศการ Experimental Video Art 
 
รอบฉายผลงานวีดีโออาร์ต
Video Narrative ฉายวันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น. 
Conceptual Art ฉายวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น. 
Video Documentary ฉายวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 น. 
Video Performance ฉายวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 16.00 – 18.00 น.
Video Installation และ Video Animation ฉายวันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 16.00 – 18.00 น. 
 
** หมายเหตุ การฉายผลงานวีดีโออาร์ตแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ตามลักษณะที่ภัณฑรักษ์แบ่งในนิทรรศการ
 
ในช่วงปี ค.ศ. 1980 การพัฒนาเทคโนโลยีได้เพิ่มโอกาสในการให้ความหมายใหม่ๆของการแสดงออกทั้งยังช่วยเทคนิคการสมานกันระหว่างเหตุการณ์ของภาพ การจัดการทางด้านเทคนิคสี การจัดการภาพผ่านเทคนิคขัดสีออกไป การใช้คอมพิวเตอร์อนิเมชั่น รวมทั้งการให้ขบวนกรของภาพนั้นเข้ากันได้กับระบบเสียงอิเล็คโทรนิคสมัยใหม่ โดยภาษาภาพอิเล็คโทรนิคได้จัดวางได้อย่างใกล้เคียงกับภาษาของภาพยนตร์เป็นอย่างมากยิ่งขึ้น
 
วันนี้ศิลปะวีดีโอ อาร์ตเป็นสิ่งที่เราเชื่อได้แล้วว่ามันอยู่ในโลกของศิลปะ และตลาดศิลปะ แต่ไม่แค่นั้นมันยังเข้าไปสู่ตลาดภาพยนตร์ ตลาดของโลกธุรกิจบันเทิง โฆษณา และการออกแบบแฟชั่น เดี๋ยวนี้เราจำต้องกลับมาคิดถึงคุณค่า ความยากลำบาก และความเอาจริงเอาจังของยุคก่อนหน้าและต่อๆ ไปสู่อนาคต ดังเช่นการแสดงศิลปะอันมากมายที่เราได้เห็นกันอยู่
 
 
ดำเนินงานโดยฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ณัฐณรัณ บัวลอย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
โทรศัพท์ 02-214-6630-8 ต่อ 533 Email: [email protected]