Arts Network Exhibitions

นิทรรศการศิลปะ เสียงเพรียกหาแห่งการเดินทาง



เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันแรงานข้ามชาติสากล (18 ธันวาคม) โครงการสะพานเสียง ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิต จัดนิทรรศการแสดงศิลปะในหัวข้อ เสียงเพรียกหาแห่งการเดินทาง (Journey of Voices) ระหว่างวันที่  16 ถึง 21 ธันวาคม 2557  ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 21.00 น  ณ หอศิลปกรุงเทพฯ
 
การจัดงานนิทรรศการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มศิลปิน Public Delivery ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินที่รวมตัวกันทำงานศิลปะ และ ศิลปินชาวอเมริกาชื่อ Phil America  โดยนิทรรศการครั้งนี้จะสะท้อนประสบการณ์ของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งอาศัยและทำงานในชุมชนประมงของประเทศไทย เป็นการนำเสนอศิลปะแบบปฏิสัมพันธ์เชิงลึก รอบด้าน รวมถึงงานศิลปะการจัดวางรูปประติมากรรมเรือประมงขนาดเท่าของจริง ระบบวิดิทัศน์จำนวน 16 ช่อง และผลงาน สามมิติ ขนาดใหญ่นำเสนอในรูปแบบภาพข้อมูล
 
นอกจากนี้ จะมีการจัดแสดงภาพถ่ายของคุณโจ้ อภิลักษณ์ พวงแก้ว ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ใช้ในกิจกรรมการรณรงค์ของโครงการการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายขององค์การแรรงงานระหว่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้งและอาหารทะเล ในประเทศไทย  เพื่อเรียกร้องให้สาธารณชนให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยได้มีโอกาสในการแสดงความเห็น และทัศนะคติของตน จะมีการฉายวิดีโอซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ แรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้ผู้ชมได้และรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่ถ่ายทอดจากความคิดเห็นและทัศนคติของแรงงานข้ามชาติโดยตรง โดยกิจกรรมดังกล่าว จะมีการเชิญบุคคลจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม อาทิ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (World Vision) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM), คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (ESCAP) โครงการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-ACT)  กระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย (DFAT) และ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) เพื่อสะท้อนประสบการณ์ มุมมอง และความเชื่อต่างๆ ต่อแรงงานข้ามชาติ และแสดงความคิดเห็นต่อความสำคัญของแรงงานข้ามชาติในฐานะที่เป็นส่วนสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 
 
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการนำเสนอแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานสามารถถ่ายภาพผลงาน และใช้แฮชแทก #JourneyOfVoices #InternationalMigrantsDay และ @saphansiang เพื่อร่วมสร้างแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติและเรื่องราวเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติบนโลกออนไลน์  
 
Hashtags และ tweets
#JourneyOfVoices
#InternationalMigrantsDay
@saphansiang
 
แม้ว่าการศึกษาวิจัยหลายชิ้นมีข้อค้นพบว่า แรงงานข้ามชาติมีส่วนสร้างเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างมาก แต่พบว่าประเทศเจ้าบ้านหลายประเทศมักมีทัศนคติในเชิงลบต่อแรงงานข้ามชาติ การศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของสาธารณชน เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในปี ๒๕๕๔ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๔ คน ใน ๑๐ คนเท่านั้นที่เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย และร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เห็นว่าแรงงานข้ามชาติ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานนั้นไม่น่าจะได้รับสิทธิใดๆในการทำงาน  
 
“โครงการสะพานเสียงดำเนินตามหลักการที่ว่าเมื่อทัศนคติของคนเราอยู่บนบรรทัดฐานของความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นบวก การปฏิบัติต่างๆ ก็จะเป็นเช่นนั้น  นิทรรศการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้มองถึงทัศนคติของคนไทยที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ”  นาย อานัส อาลี ผู้ประสานงานโครงการสะพานเสียง
 
รายงานล่าสุดของโครงการปกป้องคุ้มครองเด็กและยุติการค้ามนุษย์  (ETIP) มูลนิธิศุภนิมิต ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นคนไทยที่มีปฎิสัมพันธ์กับแรงงานข้ามชาติ  พบว่าเพียงร้อยละ ๑๐ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ได้พบเด็ก หรือ แรงงานที่เป็นผู้เยาว์ที่มีสภาพการทำงานที่อันตราย มีการแจ้งเจ้าหน้าที่หรือพูดคุยกับบุคคลอื่นที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
 
“การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นภาพสะท้อนของความเข้มแข็งของสังคมที่เห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์” นาย จอห์น วัน ยูน (John Whan Yoon) ผู้จัดการระดับภูมิภาคโครงการป้องกันการค้ามนุษย์ ลุ่มแม่น้ำโขงของมูลนิธิศุภนิมิตร
 
 
เกี่ยวกับโครงการสะพานเสียง
โครงการสะพานเสียงมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยสร้างความตระหนักถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ทางเศษรฐกิจ และสังคม ที่แรงงานข้ามชาติได้สร้างให้กับประเทศ โดยเสิรมสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติในเชิงบวก ต่อแรงงานข้ามชาติ  และรณรงค์ให้เกิดการเสวนาสาธารณะในประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงานในวงกว้างอันจะนำไปสู่ ความรู้และความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ
เว็บไซด์:  www.saphansiang.org
 
เกี่ยวกับโครงการปกป้องคุ้มครองเด็กและยุติการค้ามนุษย์ของมูลนิธิศุภนิมิต  (ETIP)
 ETIP คือโครงการระดับภูมิภาคในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งดำเนินกิจกรรมกรรมในประเทศกัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์  ไทย และเวียดนาม ให้ความสำคัญกับสามเสาหลัก คือ การป้องกันกลุ่มเปราะบางไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ คุ้มครองผู้รอดชีวิตจากการถูกค้ามนุษย์ และการส่งเสริมการพัฒนาของนโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาล
เว็บไซด์:  www.wvi.org/asiapacific/etip
 
เกียวกับ ฟิล อเมริกา (Phil America)
ฟิล อเมริกา เป็นศิลปินและนักเขียนที่เคยทำงานและเคยอาศัยอยู่ในเมืองไทย เขานำเสนองานผ่านรูปภาพ ศิลปะการติดตั้ง วิดีโอ งานเขียน โดยเน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในประเด็นชนชั้น เพศ และชาติพันธุ์ ฟิลยังได้ร่วมงานด้านการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของ Dear Burma โรงเรียนที่เปิดสอนให้แรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ไนประเทศไทย และได้ร่วมโปรเจ็คงานต่างๆ กับพิพิธภัณฑ์กว่า 28 แห่งในเมืองซาคราเมนโต้ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเร็วๆ นี้ ฟิลเป็นวิทยากร TED Talk และได้รับเชิญเป็นวิทยากรในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฟิลมีผลงานที่ได้ปรากฎในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ นิตยาสาร หรือหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ
เว็บไซด์:  http://philamerica.com
 
 
สื่อมวลชนที่ประสงค์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ Eliza Marks ([email protected]), Anna Olsen ([email protected]) หรือ Albert Yu ([email protected])
 
กรณีสอบถามเป็นภาษาไทย กรุณาติดต่อคุณอานัส อาลี (Aanas Ali) ([email protected]) หรือคุณดวงพร โชคทิพย์วัฒนา ([email protected])
 
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Phil America และ Public Delivery ท่านสามารถอ่านได้ที่ philamerica.com และ publicdelivery.org

ข้อเท็จจริง
มีแรงงานข้ามชาติมากกว่าสามล้านคนในประเทศไทย ซึ่งแรงงานข้ามชาติเหล่านี้มาจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศเมียนมาร์ ประเทศกัมพูชา และประเทศ สปป. ลาว
• ประเทศไทยเป็นที่ส่งออกผลิตภัณฑ์จากปลาและผลิตภัณฑ์ประมงรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก คิดเป็นมูลค่าถึงเจ็ดพันล้านเหรียญสหรัฐฯ  
• มีการประมาณการว่าแรงงานในภาคประมงจำนวนถึงร้อยละ ๙๐ เป็นแรงงานข้ามชาติ
• แรงงานข้ามชาติเผชิญปัญหาการเลือกปฏิบัติ จึงเป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อการถูกละเมิดโดย นายจ้าง บริษัทจัดหางาน (นายหน้า) และเจ้าหน้าที่รัฐ

Image Gallery