Main Exhibition 789
มโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา) โครงการสัญจรระดับนานาชาติ
จัดโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปกรุงเทพฯ Cemeti Art HouseKedai Kebun Forum และ Ruang MES 56
สนับสนุนโดย Langgeng Art Foundation และ National Arts Council สิงคโปร์
สนับสนุนโดย Langgeng Art Foundation และ National Arts Council สิงคโปร์
จัดแสดงที่ Cemeti Art House และ Ruang MES 56 : 21 สิงหาคม – 21 กันยายน2559
เปิดงานที่ Cemeti Art HouseKedai Kebun Forum และ Ruang MES 56: 20 สิงหาคม2559, 19:00 น.
Symposium ที่ Kedai Kebun Forum : 21-22 สิงหาคม 2559
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมกับ Cemeti Art HouseKedai Kebun Forumและ Ruang MES 56 นำเสนอนิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา) โครงการสัญจรระดับนานาชาติ ซึ่งได้จัดแสดงครั้งแรก ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในเดือนธันวาคมพ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีแนวคิดสร้างความเชื่อมโยงในด้านอุดมการณ์ทางสังคมและภาษาในการแสดงออกด้านการสร้างสรรค์ศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบต่างๆ แสดงทัศนะของศิลปินที่กำลังวิพากษ์สังคม ซึ่งบ่อยครั้งจะแสดงออกผ่านเรื่องเล่าทางการเมือง และในปีพ.ศ.2559 นี้ศิลปิน ภัณฑารักษ์ และศิลปินเจ้าบ้านซึ่งเป็นผู้ที่เล่นเรื่องวัฒนธรรมของอินโดนีเซียได้ร่วมกันสร้างสรรค์ ขยายขอบเขต และต่อเติมประเด็นเนื้อหาบนพื้นที่แห่งใหม่ สำเร็จมาเป็น นิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา) (Jogja Re-Focus CCC) โดยนำเสนอการอภิปรายถกเถียงด้วยภาษาแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะของภูมิภาคแห่งนี้จากมุมมองของยอกยาการ์ตา ผ่านกิจกรรมและโครงการความร่วมมือต่างๆ รวมถึงจัดแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยจาก 6 ประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งคัดสรรมาจากนิทรรศการต้นฉบับที่กรุงเทพฯ ร่วมกับผลงานศิลปะชิ้นใหม่ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อันได้แก่ศิลปะจัดวาง ศิลปะภาพถ่าย วิดีโอ ภาพลายเส้น รวมถึงสื่อประเภทอื่นๆ อีกด้วย
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครร่วมกับ Cemeti Art HouseKedai Kebun Forumและ Ruang MES 56 นำเสนอนิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา) โครงการสัญจรระดับนานาชาติ ซึ่งได้จัดแสดงครั้งแรก ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในเดือนธันวาคมพ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีแนวคิดสร้างความเชื่อมโยงในด้านอุดมการณ์ทางสังคมและภาษาในการแสดงออกด้านการสร้างสรรค์ศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบต่างๆ แสดงทัศนะของศิลปินที่กำลังวิพากษ์สังคม ซึ่งบ่อยครั้งจะแสดงออกผ่านเรื่องเล่าทางการเมือง และในปีพ.ศ.2559 นี้ศิลปิน ภัณฑารักษ์ และศิลปินเจ้าบ้านซึ่งเป็นผู้ที่เล่นเรื่องวัฒนธรรมของอินโดนีเซียได้ร่วมกันสร้างสรรค์ ขยายขอบเขต และต่อเติมประเด็นเนื้อหาบนพื้นที่แห่งใหม่ สำเร็จมาเป็น นิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา) (Jogja Re-Focus CCC) โดยนำเสนอการอภิปรายถกเถียงด้วยภาษาแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะของภูมิภาคแห่งนี้จากมุมมองของยอกยาการ์ตา ผ่านกิจกรรมและโครงการความร่วมมือต่างๆ รวมถึงจัดแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยจาก 6 ประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งคัดสรรมาจากนิทรรศการต้นฉบับที่กรุงเทพฯ ร่วมกับผลงานศิลปะชิ้นใหม่ที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อันได้แก่ศิลปะจัดวาง ศิลปะภาพถ่าย วิดีโอ ภาพลายเส้น รวมถึงสื่อประเภทอื่นๆ อีกด้วย
ภัณฑารักษ์รับเชิญ:
อิโอลา เลนซี (สิงคโปร์), อากุง ฮูจานิกาเจนนง (อินโดนีเซีย), วิภาช ภูริชานนท์ (ไทย)
ศิลปิน:
อัลวิน รีอามิลโล (ฟิลิปปินส์), อามันดา เฮง (สิงคโปร์), อะราไมอานี (อินโดนีเซีย), อัง โค (พม่า), อัง เหมียนท์ (พม่า), อัง เหมียนท์ (พม่า), บุ๋ย ค๊อง ข่าน (เวียดนาม), ชลูด นิ่มเสมอ (ไทย), เอโค นูโกรโฮ และ ดัคลิงค์ ทัมบูยฮ์ (อินโดนีเซีย), เอฟเอ็กซ์ ฮาร์โซโน (อินโดนีเซีย), โกลดี โพบลาดอร์ (ฟิลิปปินส์), ลี เวน (สิงคโปร์), มานิต ศรีวานิชภูมิ (ไทย), Mella Jaarsma (อินโดนีเซีย), เมส56 (อินโดนีเซีย), ไมเคิล เชาวนาศัย (ไทย), โมล์ แซทท์ (พม่า), โมเอลโยโน (อินโดนีเซีย), แน็ง เลย์ (พม่า), ปพนศักดิ์ ละออ (ไทย), โปโปค ไตร-วายุทธ์ (อินโดนีเซีย), ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ (ไทย), เรสตู รัตน์นานิงเปียส (อินโดนีเซีย), รอสลิแชม อิสมาอิลล์ (มาเลเซีย), สุธี คุณาวิชยานนท์ (ไทย), ทาลิง ปาดี (อินโดนีเซีย), เท เวย ลิง (สิงคโปร์), ตาว เหงียน ฟาน (เวียดนาม), ทิสนา ซานจายา (อินโดนีเซีย), ตุง มัย (เวียดนาม), วรรณดี รัตนา (กัมพูชา), วสันต์ สิทธิเขตต์ (ไทย), เวอร์ติเคิล ซับมารีน (สิงคโปร์) และ วู ด่าน ตาน (เวียดนาม)
—
กิจกรรมการอภิปรายวันที่ 21-22 สิงหาคม 2559 ณ Kedai Kebun Forumเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จัดโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปกรุงเทพฯ Cemeti Art HouseKedai Kebun Forum และ Ruang MES 56
สนับสนุนโดย Langgeng Art Foundation และ National Arts Council สิงคโปร์
การอภิปรายเกี่ยวกับศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดนิทรรศการมโนทัศน์ บริบท และการต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยอกยาการ์ตา)แนวคิดของการอภิปรายครั้งนี้ต้องการจะนำเสนอสมมติฐานของนิทรรศการ กล่าวคือศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ได้พัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์เชิงมโนทัศน์จากสภาวะของแต่ละท้องถิ่น แนวคิดของนิทรรศการซึ่งสัมพันธ์กับบริบทของเมืองยอกยาการ์ตาอันเป็นสถานที่จัดนิทรรศการจะถูกพินิจพิเคราะห์ผ่านหัวข้อต่างๆ ในการอภิปรายจากมุมมองของอินโดนีเซียประเด็นหลักที่ครอบคลุมการอภิปรายครั้งนี้คือศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังเช่นศิลปะร่วมสมัยของอินโดนีเซียในช่วงแรกๆ หรือที่เรียกว่า New Art Movement (Gerakan Seni Rupa Baru – GSRB) นั้นมีความเชื่อมโยงกับการสร้างสรรค์ศิลปะในพื้นที่ต่างๆ ของภูมิภาคแห่งนี้นอกเหนือจากในประเทศอินโดนีเซียเอง รวมถึงนอกเหนือจากทศวรรษ 70 อันเป็นช่วงเริ่มแรกของ GSRB ด้วย
ผู้เข้าร่วมอภิปราย:
Jim Supangkat, Wulan Dirgantoro, Amanda Rath, Valentine Willie, Hendro Wiyanto, Paul Khoo, Agung Kurniawan, Thomas Berghuis, Farah Wardani, Natalia Kraevskaia, Jeffrey Say,Alia Swastikaและ ภัณฑารักษ์และศิลปิน
นิทรรศการจัดแสดงที่ Cemeti Art House และ Ruang MES 56 : 21 สิงหาคม – 21 กันยายน2559
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ฝ่ายนิทรรศการ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ ประเทศไทย
โทรศัพท์+662 214 6630 ต่อ 533