Lectures
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ ฉายาลักษณ์สยามระลึกอดีตมองปัจจุบันภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453 : การถอดรื้อโครงสร้างของนาฏศิลป์ไทย ผ่านท่ารำแม่บทใหญ่
เวลา 14.00 -16.00 น.
EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY : กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ ฉายาลักษณ์สยามระลึกอดีตมองปัจจุบันภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453 Unseen Siam Early Photography 1860 – 1910
กิจกรรมเสวนา (Talk And Performance)
หัวข้อ การถอดรื้อโครงสร้างของนาฏศิลป์ไทย ผ่านท่ารำแม่บทใหญ่
โดย : คุณพิเชษฐ กลั่นชื่น
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 -16.00 น.
ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
การเติบโตทางวัฒนธรรม ด้านความคิด การกระทำ จิตใจของคนที่ข้องเกี่ยวกับงานศิลปะ เป็นส่วนสำคัญในการนำพาให้ศิลปะแบบดังเดิมยังคงดำรงอยู่ได้อย่างสง่างาม การปิดกันวัฒนธรรม ทางความคิด การกระทำและจิตใจ จะส่งผลให้ศิลป์แบบดังเดิมเสื่อมถอยลดน้อยลงไปจากสังคม ศิลปะแบบประเพณีไม่ต้องการการปกป้องจากวาจา หรือการปกป้องด้วยกฎข้อบังคับทางสังคม วิธีที่จะปกป้องงานศิลปะแบบดั้งเดิมได้ คือทำให้งานศิลปะแบบดั้งเดิมปกป้องตัวมันเองให้ได้ โดยปราศจากการปรุงแต่งอันไร้สาระทั้งปวง การแสดง การนำเสนอ หาวิธีให้คนทั่วไปรับรู้ อาจเป็นวิธีการที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจคำว่า “วัฒนธรรมประจำชาติ”
ถอดความเทพประนม คือท่ารำพื้นฐานของผู้เรียนรำไทย การถอดความเทพประนม คือการค้นหาองค์ความรู้ผ่าน วิธีคิด ในรูปแบบ ฟิสิกส์ สถาปัตย์ ศาสนา และอีกหลายวิธี ด้วยการถอดรื้อโครงสร้าง วิธีสร้าง วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ที่มากกว่าการฝึกฝนแบบทำซ้ำ หรือท่องจำตามวิธีการที่ถือปฏิบัติกันมาแบบเดิม โดยองค์ความรู้ที่ได้จะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาพื้นฐานการเรียนรำไทยไปสู่การสร้างงานในรูปแบบใหม่ และวิธีการใหม่ได้ อีกทั้งยังเชื่อมต่อองค์ความรู้ไปสู่สิ่งอื่นที่กว้างยิ่งขึ้น นี่คือหนึ่งของความเชื่อของพิเชษฐ กลั่นชื่น ที่หากจะทำให้งานศิลปะแบบดั้งเดิมคงอยู่ได้ จะต้องให้ศิลปะปกป้องตัวมันเองจากความรู้ที่อยู่ในตัวของมัน
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จึงขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน ร่วมกิจกรรมการเสวนา และชมการสาธิตท่ารำแม่บทใหญ่ จากการถอดความเทพประนม ในหัวข้อ การถอดรื้อโครงสร้างของนาฏศิลป์ไทย ผ่านท่ารำแม่บทใหญ่ โดยคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00-16.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันเพิ่มช่องทางในการพัฒนางานนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบไป
** ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
** The talk will be in Thai language only.
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งโดยส่งชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับได้ที่ ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-214-6630-8 ต่อ 519 Email : [email protected]