Meeting & Seminars
นำเสนอกรณีศึกษาจากผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์ในศาสตร์อื่น ตอนที่ 1 : การตามหา
เวลา 14.00-17.00 น.
ศิลป์อยู่เป็น – The Art of Surviving in the Arts
ส่วนหนึ่งของ Early Years ครั้งที่ 1 : Thisorder
กิจกรรมเสวนา
นำเสนอกรณีศึกษาจากผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์ในศาสตร์อื่น ตอนที่ 1 : การตามหา
(โดยโครงการมนุษย์ปากคลองฯและโครงการคนหายหน้าเหมือน)
ปัจจุบัน วิทยาการหรือองค์ความรู้เกิดขึ้นและทำงานด้วยกันอย่างไร้ขอบเขต ตามวิถีการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน กิจกรรมครั้งนี้ต้องการนำเสนอกระบวนการทำงาน รวมถึงกระบวนการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่หลากหลาย ในการหาความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหาต่างๆที่เชื่อมโยงต่อระบบสังคม หรือการสะท้อนมุมมองมิติใหม่ของประเด็นเหล่านั้น ซึ่งในหลายครั้งการบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลาย นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าสนใจ และสามารถนำมาเป็นประเด็นศึกษา เพื่อพัฒนาและปรับใช้กับโครงการต่างๆรวมถึงโครงการศิลปะร่วมสมัยด้วย
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 14.00-17.00
สถานที่: ห้อง Friends of bacc ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (50 ที่นั่ง)
วิทยากร: ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ และเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข
*กิจกรรมนี้ดำเนินรายการเป็นภาษาไทย
ตารางกิจกรรม
14.00 แนะนำกิจกรรมและวิทยากร
14.15 การบรรยายโดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์
15.00 พัก 10 นาที
15.10 การบรรยายโดย เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข
15.55 Q&A
17.00 จบกิจกรรม
เกี่ยวกับโครงการและวิทยากร
โครงการมนุษย์ปากคลองฯ Humans of Flower Market
ประกอบด้วยหนังสือรวมภาพถ่ายและนิทรรศการภาพถ่ายเคลื่อนที่ระหว่าง 6-15 พฤษภาคม 2559 ที่ท่าเรือยอดพิมาน โครงการเป็นส่วนหนึ่งของผลงานนักศึกษาระดับป.โท-เอก รายวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการพัฒนาชุมชน หลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร จุดประสงค์เพื่อสังเกต สำรวจ บันทึก และนำเสนอลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้คนที่แตกต่างหลากหลายในพื้นที่โดยรอบของย่าน “ปากคลองตลาด” รวมถึงความคิดเห็นที่พวกเขามีต่อ “ความเป็นย่านของปากคลองตลาด” ที่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการเจริญเติบโตของเมืองและนโยบายจากภาครัฐจากการสังเกตในเบื้องต้นพบรูปแบบความสัมพันธ์และกลุ่มคนหลากหลาย เช่น มนุษย์ดอกไม้ (ทั้งที่ขายในตึกแถวและแผงลอย) รวมถึงมนุษย์รถเข็น มนุษย์โยนของ มนุษย์ส่งน้ำแข็ง มนุษย์อาหารตามสั่ง มนุษย์นวด มนุษย์เทศกิจ มนุษย์ตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ เหล่าล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เป็นระบบนิเวศน์เชิงมนุษย์ที่น่าสนใจการมีอยู่หรือหายไปของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งย่อมส่งผลต่อกัน ท้ายที่สุดความท้าทายของการพัฒนาพื้นที่ปากคลองตลาดคงขึ้นอยู่กับการสร้างสมดุลระหว่างการจัดการการใช้สอยพื้นที่สาธารณะเพื่อความเป็นสาธารณะหรือประโยชน์ส่วนตัว ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นย่าน การมอง informal economy เป็นอุปสรรคหรือโอกาสในการพัฒนาเมือง โครงการนี้เป็นเพียงบทเริ่มต้นของการทำหน้าที่เป็น platform ที่รวบรวมความคิดเห็นและมุมมองต่างๆ ของผู้คนในพื้นที่ เพื่อสร้างพื้นที่เพื่อการรับฟังและเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งน่าจะนำไปสู่การตั้งคำถามและหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ต่อไป (ส่วนหนึ่งจากบทความ Art4d Update: Humans of Flower Market โดย Supitcha Tovivich)
ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์
จบการศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตร Planning Studies จาก Development Planning Unit, University College London, UK เป็นผู้ชำนาญการด้านสถาปัตยกรรมชุมชนการพัฒนาชุมชนและการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม โดยมีผลงานการจัดทำโครงการ งานวิจัย งานบริการวิชาการต่างๆ มากมาย เกี่ยวกับพื้นที่ชุมชนเชื่อมโยงกับการนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสังคม หรือการบำรุงรักษาเชิงวัฒนธรรม อาทิ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษา “แผนพัฒนาและการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ถนนข้าวสารและตรอกสาเก” (2558) เป็นหัวหน้าโครงการและที่ปรึกษาด้านการออกแบบและวางผังแบบมีส่วนร่วม “โครงการศูนย์ข้อมูลย่าน กะดีจีน-คลองสาน” โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (2558-2559) เป็นผู้ร่วมวิจัยโครงการวิจัย “การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน / แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ปีงบประมาณ 2554 จังหวัดสตูล” (2555) นอกจากนี้ยังมีผลงานเขียน หนังสือ “สถาปนิก ชุมชน คน สถาปัตยกรรม” (กรุงเทพฯ : คอร์โปเรชั่น โฟร์ดี, 2554) และ หนังสือ “สมุดภาพวิชาการ เรื่องบ้านคนจนเมือง Extra-ordinary Slum” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547) เคยได้รับรางวัล อาทิ One of the three best paper awards of the International Conference 7th International
Seminar on Vernacular Settlements Re-assessing Vernacular Architecture : Theories and
Practices Traditions, Identities and Globalization (2557) ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ และเป็นหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการคนหายหน้าเหมือน The Missing Look-Alike
เป็นโครงการที่ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ร่วมกับ BBOD Bangkok ในการสร้างแคมเปญ “คนหายหน้าเหมือน” โดยใช้บุคคลสาธารณะ ดารานักแสดง เป็นจุดเชื่อมโยงการจดจำใบหน้าคนหาย โดยอิงหลักการวิทยาศาสตร์ที่ว่า “สมองของคนเราจะจดจำสิ่งใหม่ได้ดีจากสิ่งที่คุ้นเคย” ใบหน้าที่คุ้นเคยของคนดังที่เราเห็นตามสื่อ จะสามารถช่วยให้ระลึกหรือจดจำบุคคลที่หายไปเหล่านั้นได้ ก่อให้เกิดการตามหาที่ขยายผลและได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว ศูนย์ข้อมูลคนหาย ยังทำงานอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการพยายามเผยแพร่ส่งต่อภาพคนหาย ขยายไปตามสื่อเท่าที่จะทำได้ อาทิ ในสนามฟุตบอล ขวดน้ำ ป้ายโฆษณาตามสถานที่สำคัญ สื่อบนรถขนส่งสาธารณะ และสื่ออื่นๆที่ได้รับความร่วมมือจากประขาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ส่วนตัว รถซาเล้ง วินมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้เกิดการติดตามหาบุคคลเหล่านั้นกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังต้องปรับภาพใบหน้าของคนหาย ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านเลยไปยาวนาน โดยเฉพาะในกรณีเด็กหาย ทั้งนี้ การหายไปของใครสักคน สามารถเชื่อมโยงไปสู่การตระหนักรู้ให้มองเห็นปัญหาอื่นๆ ในสังคม ทั้งเรื่องของการค้ามนุษย์ แรงงานทาส สวัดิการสังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ศูนย์ข้อมูลคนหายดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 และทำงานอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข
ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นกรรมการมูลนิธิกระจกเงา และผู้อำนวยการฝ่ายต่อต้านการค้ามนุษย์ มีประสบการณ์การทำงานและความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการค้ามนุษย์ อาทิ เป็นผู้ร่วมแต่งหนังสือ “แกะรอยเส้นทางค้าเด็ก” (กรุงเทพฯ : มูลนิธิกระจกเงา, 2549) ผู้เขียนรายงานเรื่อง “เส้นทางค้าเด็กขอทานในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เศรษฐกิจ” โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ผู้เขียนรายงาน “ผลการศึกษาการล่อลวงเพื่อบังคับใช้แรงงานประมง” โดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)จัดทำข้อเสนอแนะเรื่องการจัดการปัญหาเด็กขอทานในประเทศไทย ต่อ UNIAP และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยังเคยได้รับรางวัล อโชก้าเฟลโลว์ (2557) และรางวัลบุคคลเกียรติยศ โกมลคีมทอง (2557) นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ศึกษาดูงาน โปรแกรมศึกษาดูงาน ผู้นำด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรการสืบสวนติดตามเด็กหาย FBI ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
** กิจกรรมนี้ดำเนินงานโดย เทนเทเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Early Years Project และ Young Artist Network จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เทนทาเคิล
โทรศัพท์ 061-941-6555, 089-744-3772, 082-487-1487
อีเมล [email protected]
Y.A.N (Young Artist Network by BACC)
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 ต่อ 531