Arts Network Exhibitions
ศิลปินคลื่นลูกใหม่ชาวเวียดนาม ลินห์ พวง เวน คว้ารางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporary Art 2560
ลินห์ พวง เวน ศิลปินร่วมสมัยชาวเวียดนาม ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporary Art ประจำปี 2560 รางวัลเพื่อสนับสนุนศิลปินที่มีความสามารถในด้านศิลปะร่วมสมัยรุ่นใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ไม่จำกัดสัญชาติ สร้างผลงานอยู่ในทวีปเอเชีย มีอาชีพเป็นศิลปินเต็มตัวแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างระดับสากล
นาย เถา เชา ศิลปินชาวจีน เป็นผู้ชนะรางวัลเป็นครั้งแรกในปี 2556 และนาย อนูป แมทธิว โทมัส เป็นผู้ชนะในครั้งที่2 ปี 2558 ลินห์ พวง เวน เป็นศิลปินหญิงคนแรกที่เป็นผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporay Art ครั้งที่ 3 จากศิลปินที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 7 คน และกรรมการผู้ตัดสินทั้ง 6 ท่าน ได้แก่ นายฮาน เนฟเก้นส์, คุณลักขณา คุณาวิชยานนท์, ฮิลด้า เทียร์ลิงค์, นายยูจีน ตัน, นายดินห์ คิว เล และนางอีริน กลีซัน คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ลินห์ พวง เวน เป็นผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporay Art ตามคำประกาศดังต่อไปนี้
“คณะกรรมการใมติเป็นเอกฉันท์ให้ นางสาว ลินห์ พวง เวน เป็นศิลปินผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporary Art ประจำปี 2560 เนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาถึงผลงานศิลปะของลินห์ที่ได้แสดงในเทศกาล Singapore Biennale ครั้งล่าสุดพิสูจน์ให้เห็นว่าเธอมีศักยภาพในการพัฒนา ต่อยอด และสร้างทิศทางในการสร้างผลงานทางศิลปะในอนาคต ผลงานทางศิลปะของเธอในปัจจุบัน หากได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินในพำนักในกรุงเทพมหานคร เธอจะสามารถพัฒนาผลงานองเธอในสภาพแวดล้อมใหม่ๆได้อย่างดี “
นอกจากการทำงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแล้ว เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ในเวียดนามที่ชื่อว่า นาห์ ซาน คอลเล็กทีฟ ลินห์มีผลงานการจัดแสดงมากมายทั้งในนามศิลปินเดียว และในนามศิลปินกลุ่ม ซึ่งได้จัดแสดงผลงานในเมืองต่างๆทั่วโลก อาทิเช่น เวียดนาม, ฟูกุโอกะ (ญี่ปุ่น), ซาน ฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา), เมืองอัมมาน (จอร์แดน), เมืองอูเมีย (สวีเดน), เทศกาลศิลปะ Singapore Biennale (สิงคโปร์), เทศกาลศิลปะ Kuandu Biennale (เมืองไทเป, ไต้หวัน) และเทศกาลศิลปะ Shanghai Biennale (จีน) นอกจากนี้ลินห์ได้กล่าวว่า “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporary Art ประจำปี 2560 ดิฉันจะตั้งตาคอยให้ถึงเวลามาพำนักในกรุงเทพ มหานครที่ฉันรักและที่ฉันจะสร้างสรรค์โครงการใหม่ในปีที่กำลังจะถึงนี้ ขอบคุณที่ให้การสนับสนุนดิฉันค่ะ”
ทั้งนี้ลินห์จะได้รับเงินรางวัล 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นเงินรางวัล 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสร้างสรรค์ผลงานในระยะเวลา 2 เดือนที่อยู่ที่กรุงเทพฯ ในปี 2560 โดยมีกำหนดจัดแสดงผลงานศิลปะในปี พ.ศ. 2561 และแสดงผลงานที่หอศิลปกรุงเทพฯ เป็นเวลา 1 เดือน
รายชื่อคณะกรรมการตัดสินรางวัล Han Nefkens Foundation-BACC Award for Contemporary Art ประจำปี 2560
1. นายฮาน เนฟเก้นส์
ฮาน เนฟเก้นส์ เป็นนักเขียนและผู้ให้การสนับสนุนวงการศิลปะชาวดัตช์ที่พำนักอยู่ในบาร์เซโลน่า เขาเริ่มสะสมงานศิลปะร่วมสมัยจากทั่วโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 คอลเล็กชั่นศิลปะ Han Nefkens H+F Collection ของเขาถูกยืมไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วยุโรป นอกจากจะสะสมและบริจาคงานศิลปะแล้ว เนฟเก้นส์ยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนวงการศิลปะทั่วโลกด้วยการสนับสนุนและพัฒนากิจกรรมและโครงการร่วมกับศิลปินและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เขายังให้การสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ นักเขียนและภัณฑารักษ์ ด้วยการจัดการประกวดและให้รางวัลต่างๆ อาทิ รางวัล Han Nefkens Foundation MACBA Award, ทุน Creative Writing Grant ประเทศสเปน, โครงการ Han Nefkens Fashion on the Edge ที่ให้การสนับสนุนการจัดนิทรรศการแฟชั่นของศิลปินทั้งที่มีชื่อเสียงและศิลปินรุ่นใหม่ ณ Museum Boijmans Van Beuningen ในเมืองร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์, โครงการ ArtAids ซึ่งสนับสนุนศิลปินในการสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ และนำผลงานศิลปะนั้นๆไปใช้รณรงค์ต่อสู้กับโรคร้าย อีกทั้งยังให้เงินสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์อีกด้วย และรางวัล BACC Award for Contemporary Art ที่ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ฮาน เนฟเก้นส์ ได้รับเกียรติอย่างสูงได้รับพระราชทานรางวัล Silver Carnation Award จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์สำหรับการอุทิศตนให้กับวงการศิลปะในปี พ.ศ. 2554
2. นางลักขณา คุณาวิชยานนท์
ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ลักขณา คุณาวิชยานนท์ สำเร็จการศึกษาในระดับศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2532 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชีย จากUniversity of New England รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2536 คุณลักขณาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะไทยและ ผลงานศิลปะต่างประเทศ ทั้งที่เป็นสมัยใหม่และร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องในหลากหลายสาขา อาทิ ทัศนศิลป์, ศิลปะการแสดง, ภาพยนตร์, สถาปัตยกรรม และการออกแบบต่างๆ หอศิลป์กรุงเทพฯ ได้ยกระดับการจัดกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆอย่างเข้มแข็งอันส่งผลให้สังคมไทยมีชีวิตชีวาและมีความหลากหลายมากขึ้น
คุณลักขณาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะ แห่งหอศิลป์ตาดู ก่อนที่จะรับตำแหน่งผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2533 จนถึงปี พ.ศ.2546 คุณลักขณาได้คัดสรรผลงานศิลปะของศิลปินไทยรุ่นใหม่สู่งานนิทรรศการต่างๆมากมาย อีกทั้งยังร่วมคัดสรรผลงานใน Thai Pavilion ณ เทศกาล Venice Biennale ประจำปี 2548 ลักขณา คุณาวิชยานนท์ได้รับเกียรติอย่างสูงจากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการรับเครื่องอิสริยภรณ์ชั้นอัศวินสาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2557
3. นางฮิลด้า เทียร์ลิงค์
ประธานมูลนิธิฮานเนฟเก้นส์
ภัณพารักษ์ชาวเบลเยียม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Fonds Regional d’Art Contemporain Nord-Pas de Calais (FRAC) เมืองดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส
ฮิลด้าเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ แห่งห้องจัดแสดงผลงาน Mies van der Rohe Pavilion เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ก่อนที่จะย้ายไปพำนักในเมืองแปร์ปิญัน ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นเธอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Rhenish Centre of Contemporary Art (CRAC) เมืองอัลท์เคิร์ช แคว้นอัลซาส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2545 และยังเป็นภัณฑารักษ์อิสระและนักวิจารณ์งานศิลปะอีกด้วย ก่อนที่จะก้าวมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Fonds Regional d’Art Contemporain Nord-Pas de Calais (FRAC) เมืองดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ฮิลด้า ยังเป็นคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ Stedelijk Museum voor Actuele Kunst (SMAK) และคณะกรรมการจัดกิจกรรม TRACK เมืองเกนท์ ประเทศเบลเยียม ในปี พ.ศ. 2555, คณะกรรมการสถาบัน Centre National des Arts Plastiques (CNAP) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และ คณะกรรมการกลุ่มบริษัท FNAC
เธอเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ ArtAids และร่วมก่อตั้งมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไรร่วมกับ ฮาน เนฟเก้นส์และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิในปี พ.ศ. 2547
ฮิลด้าได้ร่วมงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงต่างๆมากมายจากทุกชาติ และร่วมจัดงานแสดงผลงานศิลปะทั่วทุกมุมโลก ในฐานะนักวิจารณ์ เธอเขียนบทความให้แก่นิตยสารต่างๆ อาทิ Parkett, Kunstforum, Hart, Ars Nova, Ons Erfdeel เป็นต้น
4. นายยูจีน ตัน
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์
นาย ยูจีน ตัน เคยเป็นภัณฑารักษ์ของ Singapore Pavilion ในเทศกาล Venice Art Biennale ประจำปี 2005 และเป็นภัณฑารักษ์ร่วมในงานเทศกาลเปิดตัว Singapore Biennale ปี 2006 นอกจากนี้เขายังเคยคัดสรรผลงานในนิทรรศการต่างๆ อาทิ Coffee, Cigarettes and Pad Thai: Contemporary Art in Southeast Asia (2008), Charwei Tsai (2009), Nipan Oranniwesna (2009), Lee Mingwei (2010), Jompet (2010), The Burden of Representation: Abstraction in Asia Today (2010), Of Human Scale and Beyond: Experience and Transcendence (2012) และ Reframing Modernism: Painting from Southeast Asia, Europe and Beyond (2016) นอกจากนี้ นายตันยังเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดผังรายการ (โครงการพิเศษ) ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติสิงคโปร์, ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการแห่ง The Osage Gallery (ฮ่องกง, สิงคโปร์, ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้), ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะร่วมสมัย Sotheby's Institute of Art – Singapore และผู้อำนวยการสถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งสิงคโปร์
ปัจจุบันนายยูจีน ตัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์
5. นายดินห์ คิว เล
ผู้ร่วมก่อตั้ง VNFA และ Sàn Art
นายดินห์ คิว เล เกิดที่ประเทศเวียดนาม ในปี 1968 และได้รับศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาศิลปะ(สตูดิโอ) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานต้า บาร์บาร่า และปริญญาโทด้านทัศนศิลป์ สาขาภาพถ่ายและสื่อ จาก The School of Visual Arts ณ กรุงนิวยอร์ค ก่อนที่นายเล จะกลับประเทศเวียดนามในปี 1994 และพำนักในเมืองโฮจิมินห์ ในปี1997
ผลงานศิลปะของเล ได้รับการจัดแสดงไปทั่วโลก โดยผลงานเดี่ยวชิ้นล่าสุดของเขาที่ชื่อ Memory For Tomorrow ได้จัดแสดงที่ Mori Museum เมืองโตเกียว ในปี 2015 ก่อนที่จะจัดแสดงต่อใน Hiroshima Museum of Contemporary Arts ในปี 2016 เช่นเดียวกันกับผลงานของเล ที่มีชื่อว่า Destination for the New Millennium, The Art of Dinh Q. Lê ได้จัดแสดงที่ The Asia Society กรุงนิวยอร์ค และ Project 93: Dinh Q. Lê จัดแสดงที่ Modern Art (MoMA) กรุงนิวยอร์คเช่นกัน นอกจากนี้ผลงานศิลปะของเขา ที่ชื่อว่า The Delays and Revolutions ได้รับการคัดเลือกให้แสดงในเทศกาล Venice Biennale ในปี 2003, เทศกาล dOCUMENTA (13) ปี 2012 และ Carnegie International ประจำปี 2013
นายเล ยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง VNFA หอศิลป์ที่ไม่แสวงผลกำไรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเวียดนาม และ Sàn Art โครงการศิลปินในพำนักประเทศเวียดนาม นอกจากนี้นายเล ยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการเครือข่ายศิลปินเอเชีย, กรรมการตัดสินรางวัล Prince Claus Fund Laureate และรางวัล Rockefeller’s Bellagio Fellow ประจำปี 2014
6. นางอีรีน กลีซัน
ภัณฑารักษ์ นักเขียน ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์แห่ง SA SA BASSAC
อีริน กลีซัน เป็นนักเขียน และภัณฑารักษ์ อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ขององค์กร SA SA BASSAC, องค์กรที่รวบรวมข้อมูลและทรัพยากร ห้องอ่านหนังสือ และพื้นที่นิทรรศการที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในกรุงพนมเปญ ผลงานด้านภัณฑารักษ์ล่าสุดของอีริน ได้แก่ FIELDS: On Attachments and Unknowns, พนมเปญ (2017); "Exhibition Histories: Cambodia, 1945-2016", Asian Cultural Institute Library Park, กวางจู (2015-2016); และ Satellite Program 8, Jeu de Paume and CAPC, ฝรั่งเศส (2015) นอกจากนี้อีรินยังได้ร่วมเสวนาในกิจกรรม Field Meeting Take 4: Thinking Practice, Asia Society, นิวยอร์ค ในฐานะภัณฑารักษ์ในพำนัก Villa Vasillieff, กรุงปารีส และที่ปรึกษาโครงการ ACC-Rijksacademie Dialogue and Exchange, กรุงโซล (ตลอดปี 2016)
ปัจจุบัน อีริน กลีซัน ดำรงตำแหน่ง Alphawood Scholar, MA Contemporary Art and Art Theory of Asia and Africa, School of Oriental and African Studies, University of London (2015-2017). และพำนักอาศัยอยู่ในกรุงพนมเปญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวพัชรพร เนียมสร้อย
เจ้าหน้าที่ประสานงานกิจกรรมเครือข่าย
อีเมลล์ [email protected]
โทร 02-214-6630 ต่อ 534
เว็บไซต์ www.bacc.or.th