Special Project

การบ้านของศิลปิน Being an Artist : Professional Skills and Homeworks


เวลา 14.00-17.00 น.


ศิลป์อยู่เป็น – The Art of Surviving in the Arts 
As part of EARLY YEARS PROJECT #1 :Thisorder
 
กิจกรรมเสวนา
การบ้านของศิลปิน
Being an Artist : Professional Skills and Homeworks
 
หากมองศิลปินเป็นอาชีพหนึ่ง เป้าหมายของการทำงานสร้างสรรค์ต่างๆ คืออะไร นอกจากสิ่งที่เรามองเห็นคือ ความสำเร็จากการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ ซึ่งอาจมีผู้คนมากมายให้ความสนใจ เมื่อการแสดงงานจบลงแล้ว สิ่งที่ศิลปินยังต้องทำยังคงอยู่ ไม่ใช่แค่การเก็บงานหรือรอคอยโอกาสต่อไป แต่เป็นการสร้างโอกาสให้ตนเองรวมถึงการพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น การค้นคว้าศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม การเขียนโครงการฯ การสร้างฐานข้อมูลส่วนตัว การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นเป็นต้น ร่วมพูดคุยกับ สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา และนนทวัฒน์ นำเบญจพล ทั้งในบทบาทของศิลปิน นักจัดการ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักสร้างสรรค์ที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผลงานที่ผ่านมาของทั้งสองและกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง 
 
วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2560
เวลา 14.00-17.00 น.
ณ พื้นที่ศิลปะเทนทาเคิล
 
วิทยากร:สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา และนนทวัฒน์ นำเบญจพล
 
*กิจกรรมนี้ดำเนินรายการเป็นภาษาไทย
 
ตารางกิจกรรม
14.00 แนะนำกิจกรรม และวิทยากร
14.15 เริ่มกิจกรรมเสวนา 
15.00 Q&A
17.00 จบกิจกรรม
 

 
เกี่ยวกับศิลปิน
 
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา
ปัจจุบันอาศัยและทํางานที่จังหวัดเชียงใหม่ จบปริญญาตรีจากสาขาจิตรกรรม และเคยทํางานเป็นอาจารย์ประจําที่นั่น ได้รับการศึกษาระดับ Meisterschulerinด้านสื่อศิลปะจาก Hochschule Fuer Grafik und Buchkunst เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี เธอสร้างผลงานทัศนศิลป์ที่หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะผลงานทางด้านสื่อศิลปะและศิลปะติดตั้ง (Installation) รวมทั้งผลิตวิดีโอสารคดีรวมทั้งผลิตวิดีโอสารคดี ทั้งได้แสดงผลงานสู่สาธารณะในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่มาของผลงานส่วนใหญ่ของเธอมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตรง แต่ถูกนําเสนอในฐานะประเด็นสาธารณะโดยดึงความพัวพันอื่นๆแวดล้อม ที่ทําให้เรื่องส่วนตัวเป็นเพียงแค่ที่มาของการค้นหาและค้นพบโครงสร้างที่ ยิ่งใหญ่กว่า ในปี2554-2555เธอได้ร่วมจัดเทศกาลภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไลป์สเคปกับมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เคยร่วม Imaging Mekong Fellowship ซึ่งเป็นโครงการฝึกฝนและร่วมมือกันของนักข่าวในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี2548 และ Asian Cultural Council Fellowship ที่คัดเลือกศิลปินและนักวัฒนธรรมเอเชียไปพำนักที่นิวยอร์คในปี2554 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินในพํานักโครงการ International Creator Residency Program ที่ Tokyo Winder Site อาโอยาม่าในปี 2555 Foundation Künstlerdorf Schöppingen, เยอรมันนีในปี 2556 และ Wellington Asia Residency Exchange ประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันเป็นสมาชิกและผู้ร่วมก่อตั้ง CAC- Chiangmai Art Conversation 
 
 
นนทวัฒน์ นำเบญจพล
เกิดและเติบโตที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ทำงานทั้งในบทบาทของผู้กำกับภาพภาพยนตร์ และผู้เขียนบทรายการโทรทัศน์ เป็นที่รู้จักในการทำงานประเภทภาพยนตร์สารคดี และร่วมทำงานกับ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในหลายๆโครงการและหลายบทบาท อาทิ เป็นผู้บันทึกภาพนิ่ง ในภาพยนตร์เรื่อง UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES เป็นผู้กำกับภาพ ในผลงาน FOR TOMORROW FOR TONIGHT เป็นผู้จัดการโครงการในผลงาน FIREWORKS (ARCHIVES) และบันทึกวิดีโอเบื้องหลังในภาพยนตร์ CEMETERY OF SPLENDOUR
 
ในปี 2556 เขามีผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรก คือ BOUNDARY (ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง) ได้รับทุนสนับสนุนจาก Busan International Film Festival และ Art Network Asia สารคดีนำเสนอมุมมองของชาวบ้านซึ่งใช้ชีวิตอยู่บริเวณชายแดนไทยกัมพูชา และจากผลงานเรื่องนี้เอง ทำให้เขาได้รับรางวัล Young Filmmaker award จากBangkok Critics Assembly และผลงานได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ มากมาย อาทิ Berlin International Film Festival, International Documentary Film Festival Amsterdam (IDFA) และ Yamagata International Documentary Film Festival 
In the same year Numbenchapol completed his second documentary BY THE RIVER, about the Klity villagers affected by water lead contamination. It became the first Thai film to receive the Special Mention award from the Locarno International Film Festival.
 
ในปีเดียวกัน เขามีผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่อง BY THE RIVER (สายน้ำติดเชื้อ) ซึ่งเป็นผลงานสารคดีเรื่องที่สอง ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำ โดยได้รับรางวัล Special Mention จาก Locarno International Film Festival นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลในสาขานี้ 
 
ในปี 2559 เขาสร้างสรรค์ภาพยนตร์hybrid docu-fictionเรื่อง #BKKY เป็นเรื่องราวของเด็กวัยรุ่นหญิง “โจโจ้” ที่พยายามตั้งคำถามกับชีวิตและการมีตัวตน โจโจ้เป็นตัวละครที่มาจากการสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นกว่า 100 คนในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความรัก ความฝัน และการก้าวผ่านช่วงวัย หลังจบมัธยมปลาย ภาพยนตร์ได้รับการฉายครั้งแรก เมือตุลาคม 2559 ที่ Busan International Film Festival ก่อนที่จะได้รับรางวัล Jury Award for best feature- length film จาก Lesbisch Schwule Filmtage Hamburg ประเทศเยอรมนี
 
** กิจกรรมนี้ดำเนินงานโดย เทนทาเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ EARLY YEARS PROJECT #1 :Thisorder และ Y.A.N (Young Artist Network by BACC) จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร **
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.facebook.com/silpyupen
 
เทนทาเคิล
โทรศัพท์ 061-941-6555, 089-744-3772, 082-487-1487
อีเมล [email protected]
 
Y.A.N (Young Artist Network by BACC)
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 ต่อ 531