Arts Network Exhibitions
DISPLACED การเมืองเรื่องชาติพันธุ์และศาสนาในงานศิลปะของจักกาย ศิริบุตร
พิธีเปิดนิทรรศการในวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 เวลา 18.00 น.
ภัณฑารักษ์: โยลา เลนซี่
ผลงานของจักกาย ศิริบุตร เผยให้เห็นความขัดแข้งในสังคม และแรงเสียดทานทางการเมืองในไทยและในเอเชียอาคเนย์ในปัจจุบันผ่านความผสมผสานระหว่างความประชดประชันและความเห็นอกเห็นใจที่มีให้แก่กันอันจะทำให้ผู้ชมเกิดมุมองเชิงวิพากษ์ต่อวิถีที่ถูกรุกล้ำจากผู้มีอำนาจโดยการใช้ช่องว่างทางกฎหมาย ผลงานของจักกาย ซึ่งปกติจะเน้นการใช้สิ่งทอ ได้ก้ามข้ามสื่อร่วมสมัยอันรุ่มรวยด้วยเนื้อหาต่างๆ การคัดเลือกเทคนิค ภาพ วัสดุท้องถิ่นต่างๆของศิลปินที่ดำเนินไปอย่างอิสระราวกับเป็นเงื่อนปมทางความคิดที่เป็นระบบ ผ่านการอ้างอิงทางวัฒนธรรมที่ถูกฝังลึกและสื่อสารความคิดอันซับซ้อนนี้สู่สาธารณชน
ในผลงานชุดใหม่ “DISPLACED การเมืองเรื่องชาติพันธุ์และศาสนา ในงานศิลปะของจักกาย ศิริบุตร”ที่ได้รับการคัดสรรจาก โลลา เลนซี่ มีความโดดเด่นที่ศิลปินขยายการตรวจสอบความรุนแรงที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่มศาสนาในประเทศไทยและประเทศพม่า
เนื้อหาและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแบบไทยมีอิทธิพลต่อศิลปินมากว่าทศวรรษ ในปี2557จักกายได้เบนความสนใจไปที่ความพยายามของผู้คนในชุมชนที่จะอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธศาสนิกชนและชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี 2543 จากความกังวลนี้เองจึงเกิดผลงานศิลปะประเภทติดตั้งจัดวางที่ชื่อ 78 ซึ่งจัดแสดงในนิทรรศการ DISPLACED เป็นครั้งแรกในประเทศไทยผลงานที่ชื่อ 78 เป็นศิลปะแนวติดตั้งที่แสดงออกถึงความมืดมนและจู่โจมความรู้สึก สุสานที่ถูกจัดวางอย่างมีท่วงทำนองผ่านสิ่งทอ ถ้อยคำ และอ้างอิงสถาปัตยกรรมสุเหร่า ที่แสดงถึงความสงบนิ่งและเพ่งพินิจ ได้เปลี่ยนจากความมีเกียรติอันล้ำค่าไปสู่ความตายที่ปฏิเสธไม่ได้ อันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์พลเรือนชาวมุสลิม 78 คน ที่ต้องเสียชีวิตอย่างอนาจจากการเดินทางไปยังค่ายทหารโดยรถบรรทุกในปี 2557ดังนั้นความคิดหลักทางศิลปะที่จักกายต้องการนำเสนอคือการกระตุ้นให้เกิดความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองศาสนาในประเทศไทยโดยอ้อม
สืบเนื่องจากแนวความคิดข้างต้น 3 ปีถัดมา หรือในปี 2560 จักกายได้ผลิตผลงานที่เน้นเครื่องแต่งกายเป็นพื้นฐานชิ้นใหม่ที่มีชื่อว่า Changing Roomผลงานเชิงติดตั้งชิ้นนี้ได้สืบพิเคราะห์ไปยังความตึงเครียดในแต่ละกลุ่มศาสนาที่ส่งผลต่อกลุ่มคนต่างๆในภาคใต้ ระหว่างพลเรือนในแต่ละช่วงวัย ในแต่ละความศรัทธา และทหารจากทั่วทุกภาคในประเทศไทยต่างๆ ในทางตรงกันข้ามกับการเพ่งพินิจต่อตัวเองในผลงาน 78 Changing Roomนำเสนอการแทรกแซงทางสังคมที่มีพลวัตอันเป็นสุนทรียะสำคัญของผลงาน เมื่อผู้ชมได้ลองสวมใส่เสื้อแจ๊คเก็ตทหาร และผ้าคลุมศรีษะของชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่นิทรรศการนี้ นอกจากนั้น จักกายยังได้เปลี่ยนหมวกซองกก หรือ หมวกคลุมส่วนกระโหลกศรีษะที่บุรุษชาวมาเลย์นิยมสวมใส่ โดยนำหมวกซองกกที่ทำมาจากภาพพิมพ์ลายพราง วาดภาพความรุนแรงที่ได้มาจากภาพข่าวต่างๆที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยลายเส้นสีขาว ในขณะที่เสื้อแจ๊คเก็ตของทหารไทยได้เรียงร้อยฉากแห่งความสุขและโลกในแง่ดีที่วาดโดยเด็กๆในโรงเรียนไทยมุสลิมอย่างลงตัว ผลงานศิลปะแนวติดตั้งชิ้นนี้ได้ส่งต่อความตึงเครียดอย่างลึกซึ้งเมื่อภาพที่ปรากฎในหมวกของมันทำให้เราเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย และปรากฎภาพแห่งความหวังจากเสื้อแจ๊กเก็ตของทหาร ด้วยเหตุนี้สาธารณชนจึงถูกบังคับให้ประนีประนอมกับคู่ขัดแย้งฝ่ายตรงข้าม และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และด้วยการเผชิญหน้านี้ จักกายจะได้ร่วมคัดเลือกผู้มองไปสู่ชีวิตของ “ผู้อื่น” ที่เป็นชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านการเปลี่ยนอัตลักษณ์โดยการสวมใส่เครื่องแต่งกาย ผู้ชมจะได้ประสบการณ์ความขัดแย้งจากจุดที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนใน Changing Roomและก้าวข้ามความขัดแย้งในแต่ละกลุ่มทางศาสนา
ในผลงานชิ้นที่ 3 ได้ย้ายประเด็นความขัดแย้งจากประเทศไทย ไปยังประเทศพม่า จักกายได้พินิจพิเคราะห์ถึงสถานการณ์อันไม่สู้ดีของพุทธศาสนาในพม่าที่ลงทัณฑ์ชาวมุสลิมชาวโรฮิงญาที่เป็นประชาชนส่วนน้อย The Outlaw’s Flag ตรวจสอบการลี้ภัยของชาวโรฮิงญาผ่านวีดิโอ และการติดธง ด้วยธงจำนวน 21 ผืนที่ประดิษฐ์ขึ้นจากเมล็ดพันธุ์และลูกปัดบนพื้นผ้าโสร่งของชาวพม่าและผ้าจีวรของพระสงฆ์ ศิลปินไม่ได้ต้องการชี้นำว่าต้องเป็นประเทศไหนเป็นพิเศษ แต่ศิลปินชี้ให้เห็นถึงกระแสชาตินิยมที่เป็นอันตรายที่กลายเป็นเครื่องมือการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง อย่างไร้พรมแดนและไม่มีข้อยกเว้น เทียบด้วยจอภาพที่แสดงภาพวีดิทัศน์ 2 ตัว บอกเล่าเรื่องราวของชาวโรฮิงญาไร้สัญชาติที่ลี้ภัยออกจากพม่าอย่างซ่อนเร้น ผลงานของจักกายชิ้นนี้ดึงความสนใจไปยังประเด็นทางจริยธรรมที่ใหญ่ขี้น ในเรื่องการลงโทษและการลี้ภัย อันเกี่ยวเนื่องกับทุกที่ในปัจจุบัน ที่นอกเหนือจากชะตากรรมของชาวโรฮิงญาผ่านทัศนละครและอุปมาทางศิลปะที่โลกเล่นบนผืนธงที่หมุดหมายไว้ DISPLACED ผลงานของจักกาย ศิริบุตร ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้หยั่งรากประเด็นที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศพม่า แต่สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับโลก
จักกาย ศิริบุตร เป็นศิลปินที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล และได้รับการแสดงผลงานเดี่ยว และ กลุ่ม ทั่วทั้งเอเชีย ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย ผลงานของเขาได้รับเลือกแสดงทั้งในหอศิลปวิทยทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ผลงานของจักกายถูกรวมในคอลเล็กชันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งThe Asian Art Museum ซาน ฟรานซิสโก, the VehbiKoç Foundation อิสตันบูล, the Asian Civilisations Museumสิงคโปร์ และNational Taiwan Museum of Fine Art
โยลา เลนซี่ ภัณฑารักษ์ที่พำนักอาศัยในสิงคโปร์และเป็นนักวิจารณ์ด้านศิลปะในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ด้วยพื้นฐานด้านกฎหมายและประวัติศาสตร์ศิลปะ เธอเป็นผู้รวมรวมความคิดในการจัดนิทรรศการต่างๆในระดับสถาบันเป็นจำนวนมาก อันนำมาสู่การก่อร่างวาทกรรมสถานที่แห่งการมีส่วนร่วมภาคปฏิบัติของสังคมในประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียอาคเนย์ ในกรุงเทพมหานครเธอได้คัดสรรผลงานทั้งที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และThe Jim Thompson Art Center โลลายังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง Museums of Southeast Asia และสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียอาคเนย์ในประเทศสิงคโปร์