Activities

กิจกรรมนิทรรศการ รยางค์สัมพันธ์



ART ACTIVITY I
ปาร์คกิ้ง โปรเจค สาขากรุงเทพฯ
ศิลปิน: รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (อิเสะ) ร่วมกับ ร่วมกับ มาเฟีย เทเบิล

1. Karaoke contest วันที่ 8-9 เมษายน 2560 เวลา 13:00-21:00 น.
2. English class after six วันที่ 22-23 เมษายน 2560 เวลา 18:00 น.
3. Sketch your sausage for show วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2560
4. Workshop sausage – Show your sausage วันที่ 10-15 พฤษภาคม 2560
5. Artist talks on the project วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:00
6. Sausage party วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 19:00
7. What do you mean? (วัด-ดู-ยู-มีน) วันที่ 20-28 พฤษภาคม 2560
8. Sketch up for BACC board game วันที่ 3-4 มิถุนายน 2560
9. Make the game by yourself วันที่ 10-11 มิถุนายน 2560
10. Escape from the circle วันที่ 17-18 มิถุนายน 2560
11. Wrap up project วันที่ 24-25 มิถุนายน 2560
12. Closing party – bring a song to space วันที่ 2 กรกฎาคม 2560
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลปกรุงเทพฯ
 
มิตรภาพ สัมพันธภาพ และเครือข่าย เกิดขึ้นบนพื้นที่อิสระระหว่างเพื่อน เพื่อแลกเปลี่ยนและพบปะผ่านกิจกรรมทั้งกินและดื่ม ถกเถียง แลกเปลี่ยน เพื่อกระตุ้นความคิดและส่งต่อแรงบันดาลใจ จากประวัติศาสตร์ 12 ปี ของปาร์คกิ้ง โปรเจค เริ่มต้นบนพื้นที่ดัดแปลงเล็กๆ ในโรงรถของศิลปิน รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (อิเสะ) ในมาเลเซีย กลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อเชื่อมงานศิลปะ ดนตรี ออกแบบ ภาพถ่าย และวรรณกรรมอย่างไร้พรมแดน ปาร์คกิ้ง โปรเจค ในคราวนี้ที่กรุงเทพฯ บนชั้นนิทรรศการ จะเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างศิลปินและเหล่าเพื่อนพ้อง มองหาความน่าสนใจใหม่ๆ ในอนาคตผ่านกิจกรรมหลากรูปแบบ
 
Temporary English class 
วันที่ 22-23 เมษายน 2560 เวลา 13:00-15:00 น.
 
เป็นการเปิดพื้นที่ของ ปาร์คกิ้ง โปรเจค สาขากรุงเทพฯ เพื่อการติวภาษาอังกฤษหรือการติววิชาต่างๆ ที่เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอยู่และเห็นเสมอบนชั้นที่ 2-3 ของ BACC ทางกลุ่มจึงหยิบวัฒนธรรมที่น่าสนใจนี้ มาทำให้เกิดขึ้นในพื้นที่พร้อมตั้งคำถามกับระบบการศึกษาในไทย และเปิดพื้นที่ของศิลปินให้กลายเป็นพื้นที่ของคำถามเรื่องการศึกษา โดยจะมีการสรุปโครงการโดยการจัดเสวนาหัวข้อ People Talk : Knowledge VS. Education : Why Thai Students Need Tutor Culture โดยเชิญวิทยากรทางการศึกษา เช่น อาจารย์ที่เปิดโรงเรียนติวเตอร์
 
Sketch your sausage for show 
วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2560
 
Workshop sausage – Show your sausage 
วันที่ 13-14 พฤษภาคม 2560
 
Sausage party 
วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 เวลา 19:00 น.
 
การทำไส้กรอกเป็นวัฒนธรรมการถนอมอาหารที่ได้มาซึ่งรูปทรงเดียวกัน (วัฒนธรรมร่วม) แต่รสชาติและวิธีการเป็นเอกลักษณ์ไปในแต่ละพื้นถิ่น (วัฒนธรรมท้องถิ่น) ซึ่งไส้กรอกนั้นก็มีความย้อนแย้งในตัวเอง โดยมันเป็นทั้งอาหารและวัตถุดิบในตัวเดียวกัน ความย้อนแย้งของไส้กรอกนำมาสู่ความน่าสนใจในประเด็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ขับเคลื่อนไปคู่กับวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาค รวมถึงการมีตัวตนในฐานะของความเป็น subject และ object ผ่านงานสังสรรค์ 
แบ่งเป็น 3 กิจกรรมย่อยคือ
Sketch your sausage for show เชิญคนที่เข้ามาดูงานมามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และร่วมกันออกแบบไส้กรอกของตนเองเพื่อใช้ในงานปาร์ตี้
Workshop sausage – Show your sausage การนำภาพและรายละเอียดจากสัปดาห์ก่อนมาทำไส้กรอกจริง โดยเชิญเชฟอิสระเป็นผู้ร่วมเวิร์คชอปกับกลุ่มศิลปินและคนที่สนใจ
Sausage party เป็นงานปาร์ตี้ที่นำไส้กรอกมาทำบาร์บีคิว และสังสรรค์ร่วมกับศิลปินและผู้ถูกรับเชิญ โดยใช้พื้นที่จุดรับส่งของ ชั้น 1 เป็นพื้นที่จัดปาร์ตี้เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน โดยใช้ไส้กรอกเป็นสื่อกลางในการสังสรรค์
 
Artist talks : Art strategy and how come to the art way : the Asian way (TBC)
วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:00 น.
 
What do you mean? week (วัด-ดู-ยู-มีน) / Summer sale
วันที่ 20-28 พฤษภาคม 2560
 
โปรเจ็คนี้ต้องการพูดถึงการเข้าถึงตัวงานศิลปะและความหมายของพื้นที่หอศิลปฯ โดยกลุ่มศิลปินตั้งข้อสงสัยถึงคุณค่าของงานศิลปะที่เข้าถึงยาก ด้วยมูลค่าของตัวชิ้นงานที่ถูกกำหนดจากหลายๆ ปัจจัย ทำให้การที่ประชาชนในฐานะผู้ชมงานศิลปะมีระยะและวางศิลปะเป็นสิ่งไกลตัวเสมอ อีกนัยนึงของกระบวนการ Summer sale คือการจำลองกระบวนการของระบบที่ถูกหลบซ่อนหลังผลงานศิลปะ ซึ่งความน่าสนใจอีกประเด็นคือ พื้นที่ๆ ตั้งหอศิลปฯ ที่อยู่ใจกลางเมืองและล้อมรอบด้วยห้างสรรพสินค้าใหญ่นั้นสร้างคำถามต่อคนใช้บริการหอศิลปฯ ถึงการเข้าใจความหมายของพื้นที่ของผู้ใช้บริการหอศิลปฯ และวัฒนธรรม นัยหนึ่งเป็นการหาความเข้าใจในเชิงวัฒนธรรมและศิลปะ ในกรุงเทพฯ โดยใช้วิธีการสร้างพื้นที่เลียนแบบห้างสรรพสินค้า โดยใช้ชื่อว่า ห้าง What do you mean? และนำผลงานศิลปะที่เปิดรับจากนักศึกษาหรือคนที่สนใจเข้าร่วมมาวางขายในราคาย่อมเยาว์เพื่อเป็นการกระจายผลงานและให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
 
Sketch up for BACC board game 
วันที่ 3-4 มิถุนายน 2560
 
วัฒนธรรมบอร์ดเกมส์เป็นการเล่นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นไทย เห็นได้จากคาเฟ่เกมส์ลักษณะนี้มีจำนวนมากในกรุงเทพฯ แน่นอนว่ากลุ่มมาเฟียเทเบิลสนใจวัฒนธรรมนี้เช่นกัน โดยอาศัยความเป็นพื้นที่ของ BACC เป็นฐานของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยกำหนดโดยผู้เข้ามามีส่วนร่วมกับ BACC โดยสเก็ตตัวเกมส์ผ่านการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินและผู้เข้ามาชมงานเพื่อกำหนดรูปแบบและสร้างเกมส์ขึ้นมาเพื่อเชื่อมกันระหว่าง ศิลปิน ผู้ชมงาน และ BACC
 
Make the game by yourself 
วันที่ 10-11 มิถุนายน 2560
 
กิจกรรมต่อเนื่องจากการสเก็ตไอเดียของเกมส์ สร้างต้นแบบเกมส์เพื่อร่วมกันเล่นด้วยกันโดยอิงตัวละคร พื้นที่ และ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน BACC โดยออกมาเป็นรูปแบบ บอร์ดเกมส์ Zombiecide และสร้างเกมส์ที่เป็น site specific
 
Escape from the circle 
วันที่ 17-18 มิถุนายน 2560
 
เป็นการนำเกมส์ที่สร้างไว้มาร่วมเล่นด้วยกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับศิลปิน ศิลปะ ผู้ชม และพื้นที่
 
Wrap up project 
วันที่ 24-25 มิถุนายน 2560
 
สัปดาห์สำหรับสรุปโครงการทั้งหมดโดยรวบรวมเอกสารที่ถูกบันทึกเพื่อนำมาทำเป็นหนังสือเผยแพร่โครงการผ่านงานในรูปแบบ art book
 
Closing party – bring a song to space
วันที่ 2 กรกฎาคม 2560
 
ปาร์ตี้ปิดโครงการ โดยให้คนที่เข้าร่วมสามารถนำเพลงมาเปิดตรงพื้นที่ได้ตามสบาย
 
เกี่ยวกับศิลปิน
 
รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (เกิด 2515, มาเลเซีย) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิเสะ เขาเป็นศิลปินผู้มีความรู้หลากหลายสาขาวิชา ผลงานของเขาประกอบด้วยศิลปะจัดวาง วิดีทัศน์ศิลป์ และโครงการแบบมีส่วนร่วม แนวทางปฏิบัติของเขาได้รับการกล่าวขานในวงกว้างว่าเป็นการแสดงออกถึงศิลปกรรมนิยม และประวัติศาสตร์สมมติของสถานที่และวัฒนธรรมต่างๆ อิสมาอิลล์จบการศึกษาจาก Mara University of Technology (UiTM), มาเลเซีย, 2540 เขาได้เข้าร่วมนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์หลายแห่ง รวมถึงโครงการศิลปินพำนักทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล เช่น The 9th Istanbul Biennial โดยความร่วมมือกับ Indonesia’s ruangrupa (2005) Jakarta Biennale (2552) Singapore Biennale (2554) Asia Triennial Manchester (2554) Asia Pacific Triennale (APT) (บริสเบน, 2555) และล่าสุด เขาได้แสดงในงาน the Archipel Secret (Palais de Tokyo, ปารีส, 2558) อิสมาอิลล์เป็นผู้ริเริ่มโครงการ Parking Project ซึ่งเป็นการใช้อพาร์ทเมนท์ของเขาที่กัวลาลัมเปอร์สร้างพื้นที่ให้ศิลปิน และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารศิลปะมาเลเซีย sentAp! อีกด้วย
 
มาเฟีย เทเบิล
กลุ่ม มาเฟีย เทเบิล คือการรวมตัวของนักสร้างสรรค์ที่มีความสงสัยต่อความเป็นไปของวัฒนธรรม และมักใช้เวลานั่งถกเถียงเพื่อหาคำตอบกันเสมอๆ ในเวลาว่างจากการเรียนการสอน หลังจากจบการศึกษาจากภาควิชาวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แต่ละคนก็แยกย้ายไปทำในสิ่งที่ตนถนัด แต่ยังคงพบเจอและยังคงตั้งคำถามและถกเถีบงกันในประเด็นต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจในสังคมร่วมสมัยร่วมกัน และเนื่องจากความถนัดของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันจึงร่วมกันทำงานด้วยกันและใช้ตัววัฒนธรรมที่สนใจเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงาน
 
– 

ART ACTIVITY II
นิด หน่อย ตัน : การแสดงโดยคณะปฏิวัติ
ศิลปิน: ณัฐพล สวัสดี, ธนภณ อินทร์ทอง และยิ่งยศ เย็นอาคาร ร่วมกับ Liberate P (ศิลปินฮิปฮอป)
วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 เวลา 18:45 น.
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลปกรุงเทพฯ
 
นิด หน่อย ตัน ชื่อที่เรียกกลับด้านของ Nation Din ซึ่งเป็นผลจากการทำงานในช่วงเวลาของการพำนัก 3 สัปดาห์ในกรุงเทพฯ ที่ทดลองภาวะของการอยู่ร่วมกันระหว่างศิลปินไทยและอินโดนีเซีย จากกระบวนการนี้นำมาซึ่งผลงานที่ตั้งคำถามถึงกลุ่มก้อนอันกระจัดกระจายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการสร้างพรมแดน โดยการสร้างตำนานขึ้นมาใหม่ในความหมายของรัฐชาติที่อยู่ในจินตนาการ กิจกรรมต่างๆ ที่มาจากผลงานชิ้นนี้ นำเสนอส่วนประกอบใหม่ที่งอกงามขึ้นจากการรวมกันระหว่างพันธุกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
เกี่ยวกับศิลปิน
 
ณัฐพล สวัสดี (เกิด 2532, ไทย) มีประสบการณ์ด้านแนวคิดเรื่องความเหนือกว่าทางสติปัญญาที่ระบบการศึกษาได้นำเสนอ ความสนใจและการศึกษาวิจัยของเขาในภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้เขาได้สัมผัสกับกลุ่มทางการเมืองในฝ่ายตรงข้าม หลังจากเหตุความวุ่นวายทางการเมืองในปีพ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาหันมาสนใจด้านการเมืองอีกครั้ง เขาคุ้นเคยกับแนวคิดในหนังสือ Art for Life’s Sake ของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ว่าด้วยวัฒนธรรมคือเครื่องมืออย่างหนึ่งของการเรียกร้องทางสังคม หนังสือเล่มนี้ทำให้เขาได้คำตอบสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ จึงจุดประกายให้เขาอยากจะสร้างศิลปะที่เปลี่ยนโลก โลกที่ถูกปกครองด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ความเหนือกว่า และพลังอำนาจ
 
ธนภณ อินทร์ทอง (เกิด 2534, ไทย) ศิลปินหน้าใหม่ที่แจ้งเกิดในกรุงเทพฯ งานของเขาประกอบไปด้วยจิตรกรรม ประติมากรรม วิดีทัศน์ศิลป์ ศิลปะจัดวาง และวิดีทัศน์สาธารณะ งานของธนภณเป็นการสำรวจเรื่องราวในครอบครัวและอดีตที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองและประวัติศาสตร์ไทย โครงการที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้เขาได้รับประสบการณ์การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานชาวไทยในไต้หวัน ทำให้ขอบเขตงานศิลปะของธนภณขยายกว้างขึ้น และยังเป็นโอกาสให้เขาสร้างวาทกรรมผ่านแนวคิดและงานศิลปะในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
 
ยิ่งยศ เย็นอาคาร (เกิด 2532, ไทย) จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2555 ยิ่งยศสนใจวัตถุที่อยู่ในชีวิตประจำวันและพยายามหาความหมายของวัตถุที่มีบริบทต่างกัน เขาได้เข้าร่วมในโครงการ Brand New 2013 Art Project (หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556) ในโครงการนี้ศิลปินเจาะจงไปสถานที่ที่เดินทางผ่านบ่อยๆ ในระหว่างการไปทำงาน หรือบางสถานที่ซึ่งมีนัยยะทางการเมือง  ในปีพ.ศ. 2558 หลังจากปลดประจำการทหาร เขาสร้างงานศิลปะเกี่ยวกับชีวิตทหาร ได้เข้าร่วมโครงการ Taichung Asean Square Culture Exchange Project (Taichung, 2559) ร่วมกับธนภณ อินทร์ทอง พวกเขาศึกษาวิจัยบริบทในการใช้ชีวิตของแรงงานชาวไทยในไต้หวันซึ่งส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่และเกิดวัฒนธรรมที่แลกเปลี่ยนกันไปมา และล่าสุดได้เข้าร่วมงานแสดง Landscape Hotel Asian Project (โตเกียว, 2560) ปัจจุบัน ยิ่งยศยังคงสนใจประเด็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในการสร้างอุทยานราชภักดิ์ในช่วงระหว่างการเกณฑ์ทหาร


 
RETRACE & REFACE
วัฒนธรรมและความเป็นเมืองอันซับซ้อนของสองกรุง (กรณีศึกษาย่างกุ้ง-พนมเปญ)
ภัณฑารักษ์ : ออง หมัด เทม (เมียนมา) 
ศิลปิน : โค ลัท (เมียนมา) 
สถาปนิก : เพ็ญ เซเรพังงา (กัมพูชา)
วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560
ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 และห้องประชุม 501 ชั้น 5
 
เวลา 10:30 – 12:00 น. การนำเสนอผลงาน (สำหรับผู้ชมทั่วไป)
เวลา 13:30 – 16:00 น. กิจกรรมเชิงปฏิบัติ (สำหรับผู้ลงทะเบียนเท่านั้น)
 
เป้าหมายของกิจกรรมนี้ คือ การร่างเส้นเค้าโครงของสองเมือง คือ ย่างกุ้ง และ พนมเปญ เป็นการจินตนาการและวาดอนาคตของเมืองผ่านสายตาของศิลปินและสถาปนิก  ในการทำกิจกรรมนั้น แผนที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับมุมมองซึ่งซ้อนทับกันทั้งทางภูมิศาสตร์และทางศิลปกรรมศาสตร์ กิจกรรมจะแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นการนำเสนอโดย โค ลัท ศิลปินชาวเมียนมา และ เพ็ญ เซเรพังงา สถาปนิกชาวกัมพูชา ซึ่งเปิดให้ผู้ชมทั่วไปเข้ารับฟังได้ โดยจะมีการอภิปรายหัวข้อซึ่งเกี่ยวกับเมือง เช่น วัฒนธรรมหลักความซับซ้อนทางชาติพันธุ์ ศาสนา และมรดกทางภาษา  ในส่วนที่สองนั้น จะเป็นการทำแผนที่ของเมืองผ่านวัตถุซึ่งจับต้องได้ เช่น งานเขียน ภาพถ่าย งานพิมพ์ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ชุดประจำชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถสร้างทั้งสองเมืองนี้ขึ้นมาจากการรับรู้และประสบการณ์ของตนเอง  เนื่องจากแต่ละเมืองล้วนอยู่ในระหว่างการพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมือง จึงสะท้อนให้เห็นทั้งศักยภาพในการพัฒนาและจุดอ่อน โดยกิจกรรมจะยกประเด็นซึ่งผู้ชม สถาปนิก และศิลปินสามารถแลกเปลี่ยนมุมมอง สนทนา เปรียบเทียบ และเรียนรู้จากประเด็นดังกล่าวได้ 
 
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและสำหรับผู้ประสงค์ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติในส่วนที่สอง
กรุณาติดต่อฝ่ายการศึกษา หอศิลปกรุงเทพฯ อีเมล [email protected] หรือโทรศัพท์ 02-214-6630 ต่อ 519
 
ประวัติสถาปนิก
 
เพ็ญ เซเรพังงา (เกิด 2532, กรุงพนมเปญ) เป็นสถาปนิกอิสระ นักวิจัยด้านความเป็นเมือง และทำงานเป็นผู้อำนวยการของ Space for Architecture Cambodia องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2558 โดยมุ่งเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจในมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของประเทศ ในหมู่สถาปนิก นักเรียน และผู้ที่สนใจในสถาปัตยกรรมและมรดกวัฒนธรรมความเป็นเมืองทั่วโลก นอกจากผลงานเหล่านี้แล้ว ในปีพ.ศ. 2553 พังงายังได้ก่อตั้ง Lumhor ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มทางอินเตอร์เนทสำหรับสถาปนิก นักวางแผนเมือง นักวิจัย และนักออกแบบ ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการอภิปรายอย่างมีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ และความสำคัญของศิลปะ สถาปัตยกรรม การออกแบบ และการเคลื่อนไหวของความเป็นเมือง ในกัมพูชา ผลงานของเขาในประเด็น พงศาวลีวิทยา (การสืบวงศ์ตระกูล) ของรูปแบบความเป็นเมือง : พนมเปญ, พงศาวลีวิทยาของบัสสักและพนมเปญ (Genealogy of Urban Form: Phnom Penh, Genealogy of Bassac and Phnom Penh Vision) ได้จัดแสดงในหลายนิทรรศการและการนำเสนอผลงานในกัมพูชาและในหลายงานเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดโดย หอศิลป์ Sa Sa Bassac ในกรุงพนมเปญ, Art State Singapore, หอศิลป์ H ในกรุงเทพมหานคร, PARSONS the New School for Design ในกรุงนิวยอร์ก และในงานไทเป เบียงนาล (ค.ศ. 2016) ในไต้หวัน 
 
ประวัติศิลปิน
 
โค ลัท (เกิด 2530, เมียนมา) เป็นศิลปินรุ่นเยาว์ด้านสื่อประสม (มัลติมีเดีย) และศิลปะการแสดง ในปีพ.ศ. 2546 เขาสำเร็จการศึกษาระดับศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาเข้ารับการศึกษาด้านศิลปะที่ Newzero Art Space (พ.ศ. 2552) และทำงานในฐานะอาสาสมัครและผู้จัดงานในหลายโครงการศิลปะที่ Newzero Art Space จัดขึ้น ผลงานของเขาไม่เพียงได้จัดแสดงแต่ในเมียนมาเท่านั้น แต่ยังได้ไปแสดงผลงานในเมืองควังจู (เกาหลีใต้) จาการ์ต้า เบียงนาล (ค.ศ. 2015) Queer Film festical ในฟิลิปปินส์ เมืองลียง (ฝรั่งเศส) เยอรมนี ญี่ปุ่น สวีเดน สตอร์กโฮล์ม และประเทศไทย นอกจากนั้นเขายังเป็นนักกิจกรรมเพื่อศิลปะและสิทธิมนุษยนชนอีกด้วย ปัจจุบัน ทำงานและอาศัยอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา
 
ประวัติภัณฑรักษ์
 
ออง หมัด เทม (เกิด 2516, มัณฑะเลย์) ได้รับการรับรองจาก Fine Art school ที่มัณฑะเลย์ในปีพ.ศ. 2536 และจบการศึกษาปริญญาตรีในปีพ.ศ. 2541 จาก University of Art & Culture ย่างกุ้ง เขามีวิธีการแสดงออกที่ล้ำหน้าไปกว่าเดิม โดยค้นหาศักยภาพของอิสรภาพแห่งการแสดงออกที่พบอยู่ในศิลปะร่วมสมัย ด้วยการสื่อข้อความทางสังคมด้วยผลงานที่ผสมผสานศิลปะแบบดั้งเดิมและร่วมสมัยไว้ด้วยกัน เขามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับชุมชนศิลปะในพม่า ที่ซึ่งเขามีบทบาทในฐานะภัณฑารักษ์และนักเขียนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551ออง หมัด เทม นำเสนอผลงานในหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น ไทย อินเดีย อินโดนิเซีย ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2557 เขาได้รับเงินสนับสนุน 6 เดือนจาก Asian Cultural Council (ACC) เพื่อโครงการศิลปินพำนักในนิวยอร์กและการวิจัยศิลปะร่วมสมัยในสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปีพ.ศ. 2558 เขาได้ร่วมก่อตั้ง SOCA (School of Contemporary Art) ซึ่งเป็นชุมชนการเรียนรู้ศิลปะทางเลือก เพื่อสนับสนุนศิลปะของเด็กรุ่นใหม่ และยังมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนรูปแบบและสลัดภาพของศิลปะกับวัฒนธรรมที่มีขีดจำกัดแบบเดิมๆ เมื่อไม่นานมานี้เขาได้ร่วมทำหน้าที่ดูแลโครงการศิลปะสาธารณะในงาน Yangon Art & Heritage Festival My Yangon My Home(ย่างกุ้ง)ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่ย่างกุ้งและทำงานเป็นศิลปินอิสระ ภัณฑารักษ์ และนักเขียน

 
EDUCATIONAL THEATER
อโดโบ ไมค์เดี่ยว
ศิลปิน: ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอชั่น (PETA)
วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 เวลา 19:30 น.
ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯ
 
เมื่อศิลปะการแสดงทำหน้าที่เกินความเป็นศิลปะ และได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคม อโดโบ ไมค์เดี่ยว เป็นการแสดงสดสั้นๆ เกี่ยวกับเด็กผู้ชาย ความสัมพันธ์ของเขาและพ่อ และอาหารประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ “Chicken Adobo” อโดโบ ไมค์เดี่ยว จึงเป็นศิลปะการแสดงที่แตกต่าง เริ่มการแสดงครั้งแรกที่โรงละคร PETA ผลงานชิ้นนี้เดินทางไปในหลายชุมชนเพื่อการส่งเสริมการสร้างวินัยต่อเด็กด้วยวิธีสร้างสรรค์ ส่วนหนึ่งในผลงานหลายชิ้นของ ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอชั่น – PETA ARTS Zone Project โครงการศิลปะการแสดงที่ก้าวพรมแดนสู่บทบาททางการศึกษาเพื่อส่งเสริมประเด็นทางสังคม
 
เกี่ยวกับศิลปิน
 
ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอชั่น (PETA) (ก่อตั้ง 2510, ฟิลิปปินส์) ในปีแรกเริ่ม บริษัทได้พัฒนา People’s Theater เพื่ออุทิศให้แก่การเปลี่ยนแปลงและการมอบอำนาจให้สังคม โดยเน้นไปยังส่วนชุมชนชายขอบ PETA ริเริ่มบทละครที่เขียนและแสดงด้วยภาษาฟิลิปปินส์ ก่อนจะย้ายสถานที่การแสดงในปีพ.ศ. 2548 การแสดงส่วนใหญ่ของ PETA จัดขึ้นที่ Dulaang Rajah Sulayman โรงละครกลางแจ้งในอินทรามูรอส มะนิลา ซึ่งออกแบบโดย เลอันโดร ลอคซิน บริษัทได้ผลิตบทละครเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่วันก่อตั้งในปลายยุคค.ศ. 1960 และมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาด้านการละครและศิลปะ เพื่อช่วยพัฒนาผู้ด้อยโอกาส
 
รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (เกิด 2515, มาเลเซีย) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิเสะ เขาเป็นศิลปินผู้มีความรู้หลากหลายสาขาวิชา ผลงานของเขาประกอบด้วยศิลปะจัดวาง วิดีทัศน์ศิลป์ และโครงการแบบมีส่วนร่วม แนวทางปฏิบัติของเขาได้รับการกล่าวขานในวงกว้างว่าเป็นการแสดงออกถึงศิลปกรรมนิยม และประวัติศาสตร์สมมติของสถานที่และวัฒนธรรมต่างๆ อิสมาอิลล์จบการศึกษาจาก Mara University of Technology (UiTM), มาเลเซีย, 2540 เขาได้เข้าร่วมนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์หลายแห่ง รวมถึงโครงการศิลปินพำนักทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล เช่น The 9th Istanbul Biennial โดยความร่วมมือกับ Indonesia’s ruangrupa (2005) Jakarta Biennale (2552) Singapore Biennale (2554) Asia Triennial Manchester (2554) Asia Pacific Triennale (APT) (บริสเบน, 2555) และล่าสุด เขาได้แสดงในงาน the Archipel Secret (Palais de Tokyo, ปารีส, 2558) อิสมาอิลล์เป็นผู้ริเริ่มโครงการ Parking Project ซึ่งเป็นการใช้อพาร์ทเมนท์ของเขาที่กัวลาลัมเปอร์สร้างพื้นที่ให้ศิลปิน และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารศิลปะมาเลเซีย sentAp! อีกด้วย
 
 
ดำเนินงานโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
 
ติดต่อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ฝ่ายนิทรรศการ 
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 
939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 ต่อ 533
 
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 02 260 8560 – 4 โทรสาร 02 260 8565