Special Project
“รากข้าว แห่งอุษาคเนย์ : ต้นเค้าวัฒนธรรมไท ดึกดำบรรพ์”
เวลา 16.00 – 18.30 น.
ขอเชิญร่วมกิจกรรม
"รากข้าว แห่งอุษาคเนย์ : ต้นเค้าวัฒนธรรมไท ดึกดำบรรพ์"
(Rice of Southeast Asia: origin of Tai ancient culture)
วันเสาร์ที่ 13 พค. 2560 เวลา 16.00 – 18.30 น.
ณ SEA Junction ห้อง 408 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
16:00-17:00 – เซิ้งบ้องไฟแห่รอบหอศิลป และพิธีไหว้นาตาแฮก โดย อ. ยุทธพงษ์ มาตรวิเศษ
17:00-18:00 – การบรรยาย โดยทองแถม นาถจำนง “รากข้าวอุษาคเนย์/ต้นเค้าวัฒนธรรมไท ดึกดำบรรพ์”
18:00-18:30 – ดนตรีพื้นบ้านอีสาน บรรเลง
องค์กร SEA Junction กับอเชียโทเปีย และ นิตยสารชุมทางอีสาน ร่วมมือกันจัดกิจกรรมวิชาการชุด "รากข้าวอุษาคเนย์" ครั้งแรกของกิจกรรมวิชาการ จะเป็นกิจกรรมบรรยายสาธารณะในหัวข้อ "ต้นเค้าวัฒนธรรมไท ดึกดำบรรพ์" โดย ทองแถม นาถจำนง – บก.สยามรัฐ, นักประวัติศาสตร์อิสระ, กวี, นักเขียน ร่วมมือกับ ฟาร์ม จิม ทอมป์สัน
ข้าวเป็นรากที่หยั่งลึกในวัฒนธรรมอุษาคเนย์มาก่อนที่ พุทธศาสนาและพราหมณ์จะเข้ามามีบทบาท รากทางวัฒนธรรมของทุกสังคม มีพื้นฐานมาจากวิถีการผลิต ในกลุ่มสังคมที่ปลูกข้าวสาลีกิน ก็จะมีรากวัฒนธรรมแบบหนึ่ง ชุมชนที่ปลูกข้าวกิน ก็มีรูปแบบวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่ง ในอุษาคเนย์ ผู้คนปลูกข้าวกินเป็นอาหารหลัก จึงเกิดวัฒนธรรมที่เรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” จากการศึกษาวัฒนธรรมข้าวในชนเผ่า ไท-ไต-ลาว มายาวนาน ผมสรุปว่า วิถีชีวิตของ ไท-ไต-ลาว มีฐานสำคัญ 5 ประการ คือ ๑. ข้าว ๒. ผี ๓. แถน ๔. เงือก ๕. ขวัญ
จากวิถีการผลิตข้าว ได้ทำให้เกิดประเพณี “ฮีตสิบสอง – ประเพณีสิบสองเดือน” ซึ่งหลังจากสังคม ไท-ไต-ลาว ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธ การอธิบายพิธีกรรมในฮีต ทั้งหมดได้เปลี่ยนแปลงไปอิงความเชื่อศาสนาใหม่
ตามความเชื่อดั้งเดิม ผี – คือระบบผี หมายถึงความเป็นไปตามธรรมชาติ, แถน – คือผู้ควบคุมความเป็นไปของระบบผี, เงือก(คำเดิม) หรือนาคา(คำใหม่) – ระบบที่ควบคุมน้ำ และระบบขนส่ง และการเส้นทางของ “ผีขวัญ” ของผู้ตามเพื่อพาไปเฝ้าแถน, ขวัญ – อยู่ในร่างกายของคน เป็นส่วนที่เชื่อมโยงตัวคน กับธรรมชาติภายนอก จากการศึกษาเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมชาว อีบาน ที่บอร์เนียว ผมพบว่า พื้นฐานที่ค้นหาได้ย้อนไป 2000 ปี วัฒนธรรม ไท กับ อิบาน มีความคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะในระยะก่อนพุทธศาสนา
อีกการศึกษาเปรียบเทียบ รากวัฒนธรรมข้าวของกลุ่มประเทศ อาเซียน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจาก จีน-ฮั่น-อินเดีย จะทำให้เราเข้าใจพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกันในอดีตได้ดี และอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจปัจจุบัน และอนาคตของเราร่วมกัน
*** กิจกรรมจะดำเนินการโดยใช้ภาษาอังกฤษ ***