Arts Network Exhibitions

Dma-Psg Exhibition and Seminar [ Interactive Art ]


จัดโดย โครงการความร่วมมือระหว่างนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ นักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนรยแห่งลอสแองเจลิส และหอศิลปกรุงเทพฯ


นิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นการประสานงานระหว่างสองกลุ่มนักศึกษาใหม่และนักศึกษาเก่าของคณะจิตรกรรมฯ โครงการนี้ถือเป็นโครงการนักศึกษาที่ต้องการสานสันพันธ์และแลกเปลี่ยนข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกศิลปะระหว่างประเทศ พวกเราได้รับการสนับสนุนจาก UCLA-ศิลปากร-BACC ในโครงการนี้นักศึกษาทั้งสองสถาบันจะร่วมกันทำงานและใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เป็นเวลาสามสัปดาห์ ก่อนแสดงงาน ชิ้นงานที่จัดแสดงจะเป็นงานที่จับต้องได้เชิญชวนให้คนเข้ามามีปฎิสัมพันธ์กับงานผ่านเทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ มิใช่เพียงการมองดูงานศิลปะเฉยๆเท่านั้น
 
โครงการกึ่งแลกเปลี่ยนนี้มีที่มาจากนักศึกษาในภาควิชาสื่อผสม, ประติมากรรม และ จิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าบ้านเชิญคณะดีไซน์ มีเดียอาร์ต มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์แห่งนครลอสแองเจิลลิสมาร่วมกิจกรรม เนื้อหาของโครงการในปีนี้ คือ "Interactive Art: The Relationship of Humans and Technology as an Art Form" โดยนักศึกษาจากคณะดีไซน์มีเดียอาร์ต ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทจะดำเนินงานเวิร์กชอบเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้แก่นักศึกษาไทย และจัดการบรรยายเกี่ยวกับ interractive art 
 
สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งจะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2560 ได้แก่ นิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา และการบรรยายใน 2 หัวข้อ คือ
1) การศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและโทที่UCLA (มีเนื้อหาเน้นสายงานศิลปะ)
2)ความเป็นมา,งานวิจัยและงานศิลปะในปัจจุบัน เนื้อหาย่อยในหัวข้อที่สอง จะแบ่งเป็นเรื่องราวต่างๆที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นๆที่หลายคนอาจมองข้ามมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะปัจจุบัน 
 
——-
 
1) “แนะแนวการศึกษาศิลปะและออกแบบสื่อสมัยใหม่ในระดับปริญญาตรีและโท (New-media Art and Design) มหาวิทยาลัย UCLA” 
 
ผู้บรรยาย ตวงกมล ทองบริสุทธิ์, เกวลี สุนทรมน
 
วันและเวลา วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 เวลา 10.30-12.00 น. (10.30-11.30 น. บรรยาย, 11.30-12.00 น. ตอบคำถาม)
สถานที่ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
 
รายละเอียด งานสัมนาเพื่อแนะนำการศึกษาต่อศิลปะในระดับปริญญาตรีและโทของคณะดีไซน์มีเดียร์อาร์ต (DESIGN | MEDIA ARTS) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งนครลอสแองเจิลลิส (UCLA) โดยเนื้อหาจะพูดถึงหลักสูตรของคณะ, การสมัคร, ทุนการศึกษา, โอกาสในการการทำงานระหว่างเรียน, ค่าใช้จ่าย และสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของนักศึกษาUCLA รวมถึงชุมชนสร้างสรรค์และสภาพการณ์ทางสังคมศิลปะในมหานครลอสแองเจลลิสปัจจุบัน
 
2) หัวข้อบรรยาย ศิลปะปฎิสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีในฐานะทางศิลปะ (Interactive Art: The relationship of humans and technology as an art form)
 
ผู้บรรยาย Eli Joteva, David Ertel, Christina Yglesias, Alice Jung, Jack Turpin, Kristin McWharter
ดำเนินรายการโดย ตวงกมล ทองบริสุทธิ์
วันและเวลา วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 เวลา 14.00 -16.00น. 
สถานที่ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
 
รายละเอียด 
การบรรยายว่าด้วยเรื่องของงานศิลปะที่อยู่ใต้คำนิยาม Interactive Art หรือความหมายภาษาไทยคือ ศิลปะปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีลักษณะพิเศษในการอาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารของมนุษย์รูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ในฐานะผู้สร้าง(ศิลปินและนักออกแบบ) รับชมและทำความเข้าใจงานนั้นๆ(ผู้ชมและนักวิจารณ์) ในการบรรยายจะแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อย่อย แต่ละหัวข้อจะร้อยเรียงกันให้เห็นความหลากหลายที่สอดคล้องกันของศาสตร์ต่างๆที่ถูกนำมาใช้โดยศิลปิน จนไปถึงผลกระทบที่และการตอบสนองของผู้ชมงานศิลปะ ทำการบรรยายโดยนักศึกษาปริญญาโทที่พัฒนางานในหัวข้อวิจัยนั้นๆ ได้แก่
 
“เทคโนโลยีไบโอฟีดแบคประสาทวิทยาศาสตร์ในงานศิลปะ” (Eli Joteva) การใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับสมองในทางวิทยาศาสตร์สู่การสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งในทางทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์กับทางปฏิบัติของศิลปิน รูปแบบของความสัมพันธ์จากการใช้ข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีเหล่านี้โน้มน้าวผู้ชมให้เข้าถึงงานศิลปะได้อย่างไร ทั้งในด้านของพื้นที่ เวลา และภูมิทัศน์
 
“พื้นที่อัตโนมัติ” (David Ertel) เทคโนโลยีการสร้างภาพของคอมพิวเตอร์, การถ่ายภาพระยะไกล, การถ่ายภาพดาวเทียม, และวิธีการถ่ายภาพในยุคหลังการเกิดภาพถ่าย ได้ทำให้มนุษย์เกิดประสบการณ์และวิธีการมองสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในการบรรยายนี้จะพูดถึงจุดสำคัญของประวัติศาสตร์การทำแผนที่และสุทนรียศาสตร์ทางสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยกลุ่มตัวอย่างของศิลปินที่ค้นคว้าหรือสำรวจเกี่ยวกับการใช้ภาพและสร้างภาพสิ่งแวดล้อมจากองค์ความรู้เหล่านี้
 
หลักการของสังคมเครือข่าย (Christina Yglesias) เราจะไปทำความเข้าใจความหมายและการให้นิยามหลักการของสังคมเครือข่าย (Networked Social Practice) เนื้อหาในหัวข้อนี้จะพูดถึงการเชื่อมต่อ,การแยกออกของเครือข่ายและการสร้างเอกลักษณ์ผ่านเทคโนโลยีในสังคม ผู้คนในสังคมนั้นติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในงานศิลปะ โดยการบรรยายจะยกตัวอย่างการใช้เนื้อหาเหล่านี้ในมุมของผู้สร้างสรรค์งานที่ก็อยู่ร่วมสมัยในยุคของสังคมโซเชียลปัจจุบัน
 
คุณสมบัติของการไม่มีโครงสร้างและไม่สมบูรณ์ (Jack Turpin) การ์ตูนและภาพมีชีวิตต่างๆถูกสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงแก่มนุษย์ แต่ในความบันเทิงนั้นก็มีตรรกะ,กฏเกณฑ์และรูปแบบที่ครอบคลุมโลกของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้อยู่ ในการบรรยายนี้เราจะไปดูประวัติศาสตร์ที่สำคัญ, การพัฒนา, การเผยแพร่การ์ตูนที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโลก และสังคมเมืองใหญ่ๆ และการเปลี่ยนผ่านของภาพมีชีวิตเหล่านี้จากสื่อหนึ่งไปสู่อีกสื่อหนึ่ง จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นงานศิลปะและการข้ามสายมาอยู่ในงานบนพื้นที่จริงนอกจอดิจิตอล
 
#Selfie (Alice Jung) การสร้างอัตลักษณ์ การมีอัตลักษณ์ และการค้นหาความแตกต่างระหว่างอัตลักษณ์ของบุคคลในยุคที่ผู้คนสามารถควบคุมภาพลักษณ์ของตัวเองทั้งในโลกเสมือนและชีวิตจริงได้แบบที่ตัวเองต้องการ ศิลปินหลายคนที่ค้นคว้าและทำงานเรื่องของอัตลักษณ์และการเลียนแบบ แต่ความน่าสนใจของสิ่งเหล่านี้นอกจากการตระหนักได้ถึงความต่างกันของมนุษย์ทุกคนแล้ว กลับเป็นการที่ศิลปินได้เห็นความต่างของตัวตนเราเองจากการเลียนแบบบุคคลอื่น 
 
การมีปฎิสัมพันธ์กับศิลปะและศิลปะการแสดงสด (Kristin McWharter) ในยุคที่ศิลปินสื่อสมัยใหม่ผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามาในงานศิลปะและการแสดง ผู้ชมไม่ได้ทำหน้าที่แค่ชมด้วยสายตาอีกต่อไป มุมมองของผู้ร่วมกิจกรรมและผู้ชมต่องานศิลปะสมัยใหม่เหล่านี้จะมีลักษณะเป็นเช่นไรในปัจจุบัน เพราะผู้คนที่ต่างแปลกหน้าตาและที่มาแต่ยืนอยู่ในสถานที่และเวลาเดียวกัน แล้วต้องมีการปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านงานศิลปะย่อมมีการตอบสนองที่แตกต่างไปจากการชื่นชนงานในรูปแบบดั้งเดิม ในการบรรยายนี้จะชักชวนให้ผู้ฟังร่วมค้นหาทำความเข้าใจจุดเชื่อมโยงของสื่อที่สร้างภาพเสมือนจริง, ภาษาคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์, และสาธารณชนในฐานะผู้ร่วมกิจกรรม เทคโนโลยีจะสามารถสร้างงานศิลปะที่ส่งต่อความหมายอันลึกซึ้ง เช่น สังคม วัฒนธรรม จิตวิทยา และพฤติกรรม ไปยังกลุ่มผู้ชมดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

รายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/events/145633195993933

Image Gallery