Performance

โลกกลับตาลปัตร: 20 ปีเทศกาลศิลปะการแสดงสดเอเชียโทเปีย

 



โลกกลับตาลปัตร: 20 ปีเทศกาลศิลปะการแสดงสดเอเชียโทเปีย

เทศกาลศิลปะการแสดงสดเอเชียโทเปียกลับมาอีกครั้งในชื่อเทศกาล “โลกกลับตาลปัตร” ในปี 2561 นี้เป็นวาระครบรอบ 20 ปีของเทศกาลแสดงสดแรกของประเทศไทย (เอเชียโทเปีย) จึงจะมีการเฉลิมฉลองและจัดเทศกาลแสดงสด ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 18 – 20 ตุลาคม 2561 เอเชียโทเปียได้เชิญศิลปินผู้มีชื่อเสียงและศิลปินรุ่นใหม่เข้าร่วมเทศกาลทั้งจากทวีปเอเชียและยุโรปเพื่อร่วมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพความก้าวหน้าและพัฒนาการของศิลปะการแสดงสดซึ่งมีเวทีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกิจกรรมหลักทั้งสามวันได้แก่

– วันที่ 18 ตุลาคม: พิธีเปิดเทศกาลและการแสดงสดจากศิลปินรับเชิญเวลา16:30 – 19:30 น
17.00 – 17.20    จุมพล อภิสุข (ไทย) 
17.30 – 18.00    Boyet De mesa (ฟิลิปปินส์)    
18.10 – 18.30    Andreas Hoffmann (เยอรมัน)
18.40 – 19.00    ชิตะวา มุนินโท (ไทย) 

– วันที่ 19 ตุลาคม: การสัมมนาเกี่ยวกับเทศกาลศิลปะการแสดงสดเวลา 13:00 – 15:30 น
13.00 – 15.00 Artist Meeting "Sharing your experience: Performance Art Festival"
Boyet de Mesa (ฟิลิปปินส์) Aye Ko. (เมียนมาร์) จุมพล อภิสุข (ไทย) Anderas Hoffman (เยอรมัน) Sandra Johnston (ไอร์แลนด์เหนือ)
16.30 – 17.00    Alastair MacLennan(ไอร์แลนด์เหนือ)*แสดงที่ โถง ชั้น L
17.30 – 18.15    Reza Afisina (อินโดนีเซีย)
18.25 – 18.45    สุรพล ปัญญาวัชระ(ไทย) 
18.55 – 19.15    Aye ko (เมียนมาร์)    

– วันที่ 20 ตุลาคม: การแสดงสดจากศิลปินรับเชิญและการปิดเทศกาลเวลา16:00 – 19:00 น
17.00 – 17.30    ชมพูนุท พุทธา (ไทย) 
17.40 – 18.00    ชินดนัย ปวนคำ (ไทย) 
18.10 – 19.10    Sandra Johnston (ไอร์แลนด์เหนือ)
19.20 – 19.35    Edwin Quinsayas (ฟิลิปปินส์)    

เอเชียโทเปียขอเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านไม่ว่าจะมีประสบการณ์ความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงสดมากน้อยแค่ไหนเข้าร่วมเฉลิมฉลองและเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงสดไปพร้อมกับกลุ่มศิลปินรับเชิญในเทศกาล “โลกกลับตาลปัตร” ที่จะมาร่วมเผยความเข้าใจในศิลปะแขนงนี้และพลิกแพลงเพื่อต่อยอดให้ศาสตร์นี้ก้าวหน้าต่อไปวาระนี้เป็นโอกาสครั้งหนึ่งในยี่สิบปีเท่านั้นนี่จึงเป็นเทศกาลที่ไม่ควรพลาดเพราะหัวใจของศิลปะการแสดงสดคือความสดที่ท่านจะต้องมาสัมผัสด้วยตัวเองก่อนที่กิจกรรมนี้จะกลายเป็นเพียงหนึ่งเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ศิลปะเท่านั้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ASIATOPIA/