Activities
‘โฮโมดีอุส: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’ “เริ่มต้นเมื่อมนุษย์สร้างพระเจ้าขึ้นมา จบลงเมื่อมนุษย์ต้องการเป็นพระเจ้าเสียเอง”
โดย สำนักพิมพ์ยิปซี
เวลา 13.00-17.00 น.
หลังจากที่สำนักพิมพ์ยิปซีตีพิมพ์หนังสือ “เซเปียนส์: ประวัติย่อมนุษยชาติ”(Sapiens: A Brief History of Humankind) ผลงานของ ยูวัล โนอาห์แฮรารี ศาสตราจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ที่ Hebrew University of Jerusalem ซึ่งเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ยุคกลางและประวัติศาสตร์ทางทหารและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากนักอ่าน รวมทั้งบุคลากรในแวดวงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านมานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ และเป็นการจุดประเด็นคำถามที่ว่า “มนุษย์เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” จนกระทั่งเกิดการพูดถึงหนังสือเล่มนี้ในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มที่ 3 ของ ยูวัลโนห์อา แฮรารี “21 บทเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21” (21 Lessons for 21st Century) ที่พูดถึงวิกฤตและ 21 บทเรียนที่เราต้องเผชิญและข้ามผ่านในศตวรรษที่ 21 หนังสือเล่มนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้อ่านว่าเป็นเสมือนคู่มือในการรู้เท่าทันวิกฤตและนำบทเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิต
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อดีตทำให้เรารู้ความเป็นมาของเผ่าพันธุ์เรา การอยู่กับปัจจุบันทำให้เรามองเห็นทางออกเพื่อเผชิญวิกฤตและการรู้เท่าทันอนาคต ทำให้เรามองเห็นสิ่งที่รออยู่เบื้องหน้าว่าเราจะต้องเดินไปในทิศทางใด ดังนั้น สำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้นำเสนอผลงานสร้างชื่อเล่มสุดท้ายในซีรีย์ของยูวัล นั่นคือ “ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้” (Homo Deus) ที่จะทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ การรับมือกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี จนถึงการเข้าใจตัวตนว่าเราสวมบทบาทใดในโลกใบนี้ และ “มนุษย์” ตัวเล็ก ๆ อย่างเราทำอะไรกับอนาคตได้บ้าง
ยูวัล นักวิชาการประวัติศาสตร์วัย 40 ผู้สนใจการค้นหาตัวตนภายใน และใช้เวลาปีละไม่ต่ำกว่า 30 วันในการปฏิบัติธรรม ใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “Homo Deus” หรือ “Human God” เพื่อสะท้อนให้เห็นคอนเซ็ปต์สำคัญที่ว่า จากเผ่าพันธุ์วานรสองขาที่มีความสามารถในการ “แต่งเรื่อง” เรากำลังก้าวข้ามขอบเขตไปสู่การทำตัวเสมือนพระเจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียวที่ครองโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น เราก้าวกระโดดเข้าสู่โลกของนวัตกรรมและเทคโนโลยี และใช้องค์ความรู้เหล่านี้ในการเขียนแผนที่ของโลกขึ้นใหม่ เราจัดการกับปัญหาสำคัญของมนุษย์ในศตวรรษที่ 16 อย่างการขาดแคลนอาหารและโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปนับล้านต่อปี เราสามารถยับยั้งเชื้อกาฬโรคที่แพร่ระบาดทั่วยุโรปและเอเชียในศตวรรษที่ 13 ฯลฯ เราใช้วิทยาการด้านการแพทย์จัดการกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็ทำให้มนุษย์มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ทว่าอย่างไรก็ตาม มนุษย์เรายังต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ ๆ อาทิ มีคนมากมายที่เสียชีวิตจากการบริโภคอาหารมากเกินไป เสียชีวิตจากโรคชรามากกว่าการติดเชื้อจากโรคร้าย เราฆ่าตัวตายมากกว่าทหารที่เสียชีวิตในสงคราม ผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากรรม หรือกระทั่งในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากการกินอาหารขยะมากกว่าระเบิดพลีชีพของกลุ่มอัลกออิดะฮ์เสียอีก
ถึงอย่างนั้น มนุษย์ก็ยังมีความเชื่อว่า พวกเราสามารถ “แต่ง” เรื่องราวในอนาคตของเราเองด้วย เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไร้ข้อจำกัด ที่นับวันจะเดินสวนทางกับแนวคิดทางด้านศีลธรรม ในขณะที่มนุษย์มองว่า ผู้สั่งสมเทคโนโลยีและอยู่เหนือทุนนิยมคือผู้ที่มีอำนาจ เรากลับละเลยสิ่งที่อยู่ภายใน เราลืมไปว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกอย่าง เรายังต้องมี ‘ชุดศีลธรรม’ เพื่อตัดสินใจในเรื่องที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่น ผลประโยชน์ส่วนรวม ชีวิต หรือกระทั่งความเป็นความตาย
ยูวัลนำเสนอภาพอนาคตอันใกล้ให้เราเห็นว่า ในวันที่เราใช้ “เทคโนโลยี” ในการขับเคลื่อนโลก อาทิ การที่เราพึ่งพา “อัลกอริทึ่ม” ในคอมพิวเตอร์จนกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรน รถยนต์ไร้คนขับ การเขียนเพลง แต่งนวนิยาย สร้างภาพจำลองสามมิติ เอไอ หรือกระทั่งการสร้างอวัยวะเทียม … แต่หากเราขาด “ชุดศีลธรรม” (moral code) ในการวิเคราะห์ปัญหา อนาคตที่นำโดย “มนุษย์” ที่ต้องการก้าวสู่ความเป็น “พระเจ้า” จะเดินไปในทิศทางใด
นี่คือหนังสือที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลกไม่แพ้ Sapiens: A Brief History of Humankind ทำให้บุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง บิล เกตต์ และ มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ต้องหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับ AI มากล่าวถึงมากขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้
มาร่วมตั้งคำถามและค้นหาคำตอบว่าด้วยอนาคตของมนุษยชาติร่วมกัน ใน “Homo Deus: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้” ผลงานมาสเตอร์พีสอีกเล่มของ ยูวัล โนอาห์แฮรารี ที่แปลไปแล้วกว่า 50 ประเทศ และทำยอดขายกว่าหลายล้านเล่มทั่วโลก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่