Performance

BIPAM 2019 : EYES OPEN การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพฯ

 


โดย BIPAM 


BIPAM 2019
Eyes Open

ไบแพมในปีนี้มาในธีม Eyes Open เราอยากชวนคุณเปิดตาให้เห็นถึงความจริงใกล้ตัวบางอย่างที่จะทำให้เราเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านของเราได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้น เรายังเป็นภูมิภาคที่คึกคักมีชีวิตชีวา แต่เรากลับรู้น้อยเหลือเกินว่าเพื่อนบ้านเราทำอะไรหรือเป็นอยู่อย่างไร ความพยายามที่จะเดินเข้าหากันและประสานความร่วมมือกันจึงเป็นฝันที่ยังเป็นจริงไม่ค่อยได้สักที
    
ปีนี้ ไบแพมจึงขอนำเสนอการแสดงที่จะชวนให้เราได้เปิดตาหันหาความจริงในภูมิภาคของเรา และมองให้ลึกซึ้งชัดเจน นำขบวนด้วยการแสดง Damage Joy โดยผู้กำกับอเมริกัน – ไทย นานาเดกิ้นจากบีฟลอร์เธียเตอร์ และ Violent Event โดย Billinger & Schulz จากเยอรมนี กับประเด็นความรุนแรงประเด็นสำคัญที่ไม่เคยหมดไป หากแต่พวกเราเหนื่อยอ่อนที่จะพูดถึงมันซ้ำ ๆผ่านมุมมองสดใหม่ที่จะพาให้ต้องกลับมาขบคิดลงลึกว่าความรุนแรงคืออะไรอีกครั้ง

อีกหนึ่งความตั้งใจของพวกเรา คือ การค่อย ๆ ก่อร่างภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สมบูรณ์และชัดเจนมากขึ้นในทุก ๆ ปี และทำให้ตัว B – Bangkok มีความหมายและแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ปีนี้เรานำเสนอวงเสวนาหลากหัวข้อที่จะทำให้เห็นภาพวงการศิลปะการแสดงในประเทศเพื่อนบ้านชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับบรรดาศิลปินไทยหลากหน้าหลายตาที่จะมารวมตัวกันในหัวข้อคนละครรุ่นใหม่และเทศกาลศิลปะการแสดงต่าง ๆ ในประเทศไทย พร้อมฟังเสียงและแลกเปลี่ยนกับศิลปินจากกัมพูชา เมียนมาร์ ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย และโปรแกรมอัดแน่นใน 5 วันของไบแพมปีนี้จะเกิดขึ้นบนหลากหลายพื้นที่สร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ที่เป็นเพื่อนรักกับวงการศิลปะการแสดงมายาวนาน และที่ใหม่ ๆ ที่พวกเราตื่นเต้นที่จะนำเสนอให้ทุกคนได้รู้จักมากขึ้น
 
BIPAM 2019 Program
ดูตารางกิจกรรมฉบับเต็ม คลิก

:: Showcase Performances ::
 
ตลอด 5 วันในเทศกาล BIPAM “Eyes Open” ปีนี้คับคั่งด้วยการแสดงคุณภาพรวม 25 รอบจากศิลปินทั้งไทยและต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น Damage Joy โดยกลุ่มบีฟลอร์ (ไทย) และ Violent Event โดย Billinger& Schulz (เยอรมนี) ทั้งสองการแสดงพูดถึงประเด็นหลักเรื่องความรุนแรง แม้ว่าจะกลัว อาย หรือเบื่อ ที่ต้องมารับรู้เรื่องราวความรุนแรงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เราก็อยากให้ทุกคนกล้ามองดูความรุนแรงและทำความรู้จักกับเนื้อแท้ของความรุนแรงให้ลึกซึ้ง นอกจากนี้ ยังมี In เธอ's View โดยผู้กำกับชาวไทย วิชย อาทมาท ร่วมงานกับนักเต้นชาวกัมพูชาจาก New Cambodian Artists, สดับ โดยนอยส์เธียเตอร์ (ไทย), Made in Uni การแสดงสองชิ้นที่คัดเลือกมาจากผลงานนักศึกษามหาวิทยาลัย, The Grand Balcony โดย The New Yangon Theatre Institute จากประเทศเมียนมาร์ ปิดท้ายด้วยการอ่านบทละคร เรื่อง The Optic Trilogy ผลงานความร่วมมือจากหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีทั้งมือเขียนบทผู้กำกับนักแสดงและดรามาเทิร์ก
 
:: Talks &Discussions ::

1. Keynote Speaker
Becoming Pradit Prasartthong
โดย ประดิษฐ์ ประสาททอง (ไทย)
ถ้าพูดถึงศิลปะการแสดงร่วมสมัย ชื่อของ"ตั้ว"ประดิษฐ์ ประสาททอง น่าจะเป็นชื่อแรก ๆ ที่ทุกคนนึกถึง ประดิษฐ์ได้รับรางวัลศิลปินศิลปาธร ปี2547 ในสาขาศิลปะการแสดง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มละครมะขามป้อม และมีบทบาทสำคัญเป็นประธานเครือข่ายละครกรุงเทพ หรือ BTN ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดเทศกาลละครกรุงเทพอีกด้วย ปัจจุบันประดิษฐ์เป็น Artistic Director ของกลุ่มละครอนัตตา

เราจะเปิด BIPAM Talk ด้วยการฟังประดิษฐ์เล่าย้อนกลับไปตลอดอายุการทำงานในฐานะศิลปิน อันมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของชุมชนการละครคู่ขนานไปด้วยอย่างแนบแน่น นี่คือศิลปินที่สามารถนำความชำนาญของตนในขนบศิลปะอย่างลิเกและรำไทย เข้ามาผสมผสานกับทักษะการแสดงแบบร่วมสมัยได้อย่างสวยงามลงตัว และยังคงเป็นคนสำคัญคนแรก ๆ ของเมืองไทยในการทำให้เกิดโครงการความร่วมมือกับศิลปินต่างชาติครั้งใหญ่ ๆ โดยที่การทำงานนานาชาติที่ประดิษฐ์ได้กรุยทางไว้ก็ยังคงเป็นเส้นทางที่ศิลปินไทยยังได้สานต่ออยู่มาจนถึงทุกวันนี้
 
2. Panel Discussions
Sustainability of Long – Standing Theatre Companies in Southeast Asia
ผู้ร่วมเสวนา: ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์ (กลุ่มละครมะขามป้อม, ไทย), สินีนาฏ เกษประไพ (พระจันทร์เสี้ยวการละคร, ไทย), Maria Gloriosa Santos-Cabangon (PETA, ฟิลิปปินส์), Ivy N. Josiah (Five Arts Centre, มาเลเซีย)
ผู้นำเสวนา: เศรษฐศิริ นิรันดร
เรียนรู้จากกลุ่มละครที่ดำเนินการมายาวนานจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าแต่ละกลุ่มมีวิธีต่อสู้และหาความยั่งยืนในการดำรงกลุ่มและทำงานต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาที่กลุ่มก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร มีบริบททางสังคมอะไรที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการมีอยู่และดำเนินไปของกลุ่มบ้าง และวิธีการต่อสู้ของแต่ละกลุ่มเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
 
Young Generation of Performing Artists
ผู้ร่วมเสวนา: กวิน พิชิตกุล (ดีง์, ไทย), เฟิส ธนพล อัควทัญญู (สแปลชชิ่งเธียเตอร์, ไทย), กรกาญจน์ รุ่งสว่าง (พิเชษฐ์ กลั่นชื่น แดนซ์คอมปานี, ไทย), และ Sreynoch Khon (New Cambodian Artists).
ผู้นำเสวนา: อมิธา อัมระนันท์
ฟังเสียงจากศิลปินศิลปะการแสดงรุ่นใหม่ทั้งไทยและกัมพูชา เพื่อฟังว่าวิธีคิดของคนนักการละครรุ่นใหม่ ๆ เป็นอย่างไร ความมุ่งหวัง ความฝัน แรงขับเคลื่อนในการทำงานคืออะไร ลักษณะงานที่สร้างหรือสารที่อยากสื่อต่อสาธารณะคืออะไร ข้อดี ความท้าทาย หรืออุปสรรค ในการเป็นศิลปินในบริบทของตัวเองมีอะไรบ้าง
 
Thai Performing Arts Festivals
ผู้ร่วมเสวนา: เทศกาลละครกรุงเทพ (BTF), เทศกาล Low Fat Arts Festival, เทศกาล Act Up (เชียงใหม่), เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชน (BICT Fest), เทศกาล Unfolding Kafka Festival, และเทศกาลคนรักไมม์
ผู้นำเสวนา: ผศ.ปวิตร มหาสารินันทน์
ร่วมพบปะพูดคุยกับผู้สร้างเทศกาลทางศิลปะการแสดงในประเทศไทยที่มีหลากหลาย เพื่อให้เห็นถึงความรุ่มรวยของศิลปะแขนงนี้ในประเทศเรา โดยให้เทศกาลต่าง ๆ มาแนะนำตัวเอง เล่าถึงที่มาที่ไปในการสร้างเทศกาลและความเป็นไปหรือเป้าหมายปัจจุบันของแต่ละเทศกาล รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ด้วย
 
Southeast Asian Producer's Network #1 Producers/ Programmers and Case Studies of Political Resistance
ผู้ร่วมเสวนา: Bilqis Hijjas (มาเลเซีย), ดุจดาว วัฒนปกรณ์ (ไทย), Nirwan Dewanto (อินโดนีเซีย)
คิวเรเตอร์ / ผู้นำเสวนา: June Tan
การเสวนานี้จะเน้นกรณีการแสดงออกเชิงสังคมการเมืองโดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ และร่วมถกประเด็นเรื่องบทบาทและส่วนร่วมของผู้ร่วมเสวนาในแต่ละกรณี รวมถึงกลยุทธ์การรับมือกับผลที่ตามมาจากการจัดงานดังกล่าวผ่านมุมมองของผู้จัดงาน
 
Southeast Asian Writer's Forum: Taboos in Southeast Asian Playwriting
ผู้ร่วมเสวนา: Ridhwan Saidi (มาเลเซีย), Muhammad Abe (อินโดนีเซีย), จารุนันท์ พันธชาติ (ไทย)
คิวเรเตอร์ / ผู้นำเสวนา: Alfian Sa’at (สิงคโปร์)
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหลายประเทศที่บัญญัติกฎหมายจำกัดเสรีภาพการแสดงออก โดยอ้าง "ผลประโยชน์ส่วนรวม" หรือ "ความมั่นคงของชาติ" แต่ยังมีนักเขียนหลายท่านที่หาทางพูดถึงประเด็นต้องห้ามในประเทศของตนได้ บางคนใช้ความเปรียบ หรือบางคนอาจใช้การตลกเสียดสี ในเสวนาครั้งนี้เราจะมาพูดคุยกับนักเขียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงการสร้างงานภายใต้สังคมที่มีการจำกัดเสรีภาพทางการแสดงออก ว่าแต่ละประเทศมีประเด็นเรื่องใดบ้างที่ไม่สามารถแตะต้องหรือพูดถึงได้ทั้งในเชิงสังคมการเมืองและวัฒนธรรม และศิลปินมีวิธีการจัดการหรือสร้างทางหนีทีไล่เพื่อให้สร้างสรรค์งานและพูดถึงประเด็นต้องห้ามเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
 
Southeast Asia Producer's Network #2 From Art to Direct Action and Social Benefit
ผู้ร่วมเสวนา: Fahmi Fadzil (มาเลเซีย), สมบัติ บุญงามอนงค์ (ไทย), ธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ (ไทย)
คิวเรเตอร์ / ผู้นำเสวนา: June Tan (มาเลเซีย)
งานนี้จะพูดถึงแรงผลักดันและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้ศิลปินผู้ร่วมเสวนาต้องหาทางเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงกับสถาบันและโครงสร้างฝ่ายปกครองและกฎหมาย พร้อมทั้งค้นหาว่าเมื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างดังกล่าวจะทำให้ความเป็นศิลปินในตัวเองเปลี่ยนไปอย่างไร และพูดคุยกันถึงบทบาทของศิลปะต่อสังคมและการปกครองในบริบทที่กว้างขึ้น
 
Adaptation Works in Southeast Asia
ผู้ร่วมเสวนา: ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ (ไทย), ปานรัตน กริชชาญชัย (ไทย), นินาท บุญโพธิ์ทอง (ไทย), Guelan Luarca (ฟิลิปปินส์), และ Ruth Phonstaphone (เมียนมาร์)
เปิดวงเสวนาที่รวบรวมนักเขียนบทจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เชี่ยวชาญการดัดแปลงบทจากละครตะวันตก เราจะมาดูว่าแนวทางการทำงานของแต่ละคนเป็นอย่างไร ปัจจัยที่เลือกบทเรื่องหนึ่งมาทำมีอะไรบ้าง และกระบวนการดัดแปลงเป็นอย่างไร
 
Constellation of Dystopia: Artists on Violence and Injustice
ผู้ร่วมเสวนา: Irwan Ahmett & Tita Salina (อินโดนีเซีย) และธีระวัฒน์ มุลวิไล (ไทย)
ผู้นำเสวนา: ผศ.ดร.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์
เมื่อศิลปินจากสองประเทศ ไทย และ อินโดนีเซีย มาร่วมพูดคุยในแง่ความสนใจการศึกษาประเด็นความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในการมาเข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ศิลปินอินโดนีเซียจะไม่มากรุงเทพฯ โดยเครื่องบิน แต่จะค่อย ๆ เดินทางมาด้วยรถบัส เรือ และเดินเท้ามา เพื่อเก็บหลักฐานพยานวัตถุตลอดการเดินทาง และนำมาแสดงในงานเสวนาร่วมกับธีระวัฒน์ที่ใช้เวลาหนึ่งปีเดินทางไป 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อศึกษาประเด็นศิลปะ และ censorship
 
เวทีวิชาการโดยสมาพันธ์ศิลปะการแสดงระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ศอท.)
ผู้นำเสวนา: ผศ.ดร.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์
ในเทศกาล BIPAM ปีนี้ สมาพันธ์ศิลปะการแสดงอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยได้คัดเลือกบทความทางวิชาการด้านศิลปะการแสดง จากโครงการประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปะการแสดงครั้งล่าสุด รวม ชิ้นด้วยกัน ได้แก่

  1. ความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และการละคร: ละครร่วมสมัยกับประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดย อาจารย์ ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ละครพูดชวนหัวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การตีความใหม่ผ่านศิลปะการแสดงร่วมสมัย โดย อาจารย์ ดร.ปวริส มีนา และอาจารย์ณัฐภรณ์ สถิตวราทร คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3. ผลกระทบของการแสดงหุ่นร่วมสมัย "สินไซรู้ใจตน" ต่อการพัฒนาการสอนและการสร้างงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย อาจารย์พชญ อัคพราหมณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Aspects of Thai-Taiwanese collaboration projects
ผู้บรรยาย: Artwave – Taiwan International Arts Network (ไต้หวัน)
ร่วมทำความรู้จักกับแวดวงศิลปะร่วมสมัยของไต้หวันให้มากขึ้น โดยอิงพื้นฐานจากความร่วมมือในการสร้างงานครั้งก่อน ๆ ระหว่างศิลปินไต้หวันกับศิลปินไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมองอนาคตสู่ความร่วมมือในรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจของชุมชนศิลปะร่วมสมัยระหว่างไต้หวันและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
3. Table Meetings

  1. Featured Table #1 – Introduction to Festival Tokyo: Connection between the city and the arts while reaching out to Southeast Asia
    ผู้บรรยาย: Kaku Nagashima, ผู้อำนวยการ Festival Tokyo
  2. Featured Table #2 – “The Bombie Protocol” – Where Southeast Asian Creativity stands in Solidarity ผู้บรรยาย: วสุรัชต์ อุณาพรหม
  3. Open call สำหรับ table meeting ในหัวข้อต่าง ๆ เราเปิดรับหัวข้ออิสระอะไรก็ได้ที่คุณอยากแบ่งปัน! ไม่ว่าจะเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แจ้งข่าวสารชวนคิด หรืออื่น ๆ นี่เป็นโอกาสดีที่คุณกับนักการละครอื่น ๆ จะได้พบปะและแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ของตนในบรรยากาศเป็นกันเอง

 
::เวิร์คช็อป ::
 
มาร่วมเปิดหูเปิดตาด้วยการลงมือทำ ในกิจกรรมเวิร์คช็อปต่าง ๆ ของ BIPAM นำโดยศิลปินผู้มีผลงานโดดเด่นหลายท่าน ทั้งนานาเดกิ้น ผู้กำกับจากงาน Damage Joy โดยบีฟลอร์และ Billinger& Schulz ผู้กำกับงาน Violent Event

ปีนี้เราได้รับเกียรติจากคุณณัฐฬส วังวิญญู กระบวนกรผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารโดยไม่ใช้ความรุนแรง ที่จะมานำเวิร์คช็อป “The Dream Body” และยังมีเวิร์คช็อปพิเศษโดย UNESCO Bangkok กับหลักสูตร Shared History ซึ่งพัฒนามาเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านประวัติศาสตร์ร่วม ผ่านการศึกษาและการอบรมการเขียนวิจารณ์ละครเวที โดยชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (International Association of Theatre Critics – Thailand Centre) ผู้เข้าร่วมจะได้ชมการแสดงสองชิ้นในงาน BIPAM เพื่อนำมาถกเถียงและเขียนงานวิจารณ์ เพื่อฝึกวิธีการมองและวิเคราะห์งานเขียนของผู้เข้าอบรมท่านอื่น พร้อมกับได้รับคำวิจารณ์งานเขียนจากนักวิจารณ์ละครเวทีมืออาชีพโดยงานเขียนของท่านมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์ใน The Momentum*
 
*การอบรมการเขียนวิจารณ์ของ IATC ไม่รวมอยู่ใน BIPAM Pass ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเวิร์คช็อปจะต้องสมัครแยกต่างหาก โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Email: [email protected]

เข้าร่วมกิจกรรม
ติดต่อซื้อบัตร BIPAM pass ได้ที่
www.bipam.org
Email: [email protected]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายกิจกรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทร 02 214 6630 ต่อ 530
ฺBIPAM
Email: [email protected]

Image Gallery