Meeting & Seminars
ความหลากหลายทางเพศในวรรณกรรมไทยและฐานที่เปิดกว้าง
โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรม "ความหลากหลายทางเพศในวรรณกรรมไทย และฐานที่เปิดกว้าง"
บทสนทนาที่กำลังจะเกิดขึ้น มีประเด็นนำร่อง ดังนี้…
– อยุธยาตอนต้น: ทวาทศมาศ กวีนิพนธ์แห่งความรัก โดย ศาสตราจารย์ คริส เบเคอร์
– กลอนเพลงยาวของคุณสุวรรณฯ: ภาพสะท้อนรักร่วมเพศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดย รองศาสตราจารย์อิงอร สุพันธุ์วณิช
– การสถาปนาบุรุษเสน่หา (Androphilia) ในนิยายวายเดือนเกี้ยวเดือน โดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
– กับดักความเป็นชายและความพิการบนเรือเควียร์: อ่านในกับดักและกลางวงล้อมแบบเควียร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณิต จุลวงศ์
– เครือข่ายเสน่หา: ปรากฏการณ์วายในปฏิสัมพันธ์ ระหว่างแฟนกับอุตสาหกรรม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนัย ประสานนาม
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการศึกษา เพื่อขยายความเข้าใจต่อนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒: ไตร่ถาม ความหลากหลายในอุษาคเนย์ (SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia) ที่กำลังจัดแสดงบนชั้นนิทรรศการหลัก ชั้น 7 และ 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเปิดให้เข้าชมจนถึง 1 มีนาคม 2563 นี้
** เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
** จุดลงทะเบียน บริเวณหน้าห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
** มีที่นั่งจำนวนจำกัด
** กิจกรรมไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทร 02-2146630 ต่อ 519
Email: [email protected]