Lectures

กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนิทรรศการ ดำรง วงศ์อุปราช : ทัศนศิลป์แห่งชีวิต หัวข้อ “ความเป็นจริงในผลงานจิตรกรรมของดำรง วงศ์อุปราช”


โดย ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เวลา 14.00 น.


กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนิทรรศการอาจารย์ดำรง วงศ์อุปราช : ทัศนศิลป์แห่งชีวิต 
หัวข้อ “ความเป็นจริงในผลงานจิตรกรรมของดำรง วงศ์อุปราช” 
รับชมได้ทาง
Facebook page: Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปกรุงเทพฯ ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมรับชมและรับฟังโครงการกิจกรรมการศึกษาเสวนาออนไลน์นิทรรศการ ดำรง วงศ์อุปราช : ทัศนศิลป์แห่งชีวิต ภายใต้หัวข้อ “ความเป็นจริงในผลงานจิตรกรรมของดำรง วงศ์อุปราช” ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นความต้องการที่จะทำความเข้าใจความเป็นจริงที่ปรากฏบนผลงานจิตรกรรมของดำรง วงศ์อุปราช หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางด้านการสร้างสรรค์ วงเสวนาจะเป็นการขยายองค์ความรู้จากเพื่อศิลปินผู้ที่มีประสบการณ์ร่วม หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศิลปิน บทสนทนาจากกิจกรรมนี้ต้องการจะส่งต่อแนวความคิด เนื้อหา กระบวนการสร้างสรรค์จากบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์วงการทัศนศิลป์ของไทย พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมผ่านกิจกรรมรูปแบบออนไลน์
 
วิทยากรรับเชิญ
ทวี รัชนีกร เป็นศิลปินอาวุโสที่มีความมุ่งมั่น และทุ่มเทให้กับศาสตร์แห่งศิลป์มานานกว่า 50 ปี ทวีถือเป็นบุคคลสำคัญแห่งเมืองโคราช ผู้สร้างคุณูปการให้กับวงการศิลปะ และเป็นครูผู้ปลูกฝังศิลปะให้แก่ลูกศิษย์หลายต่อหลายรุ่นจนถูกขนานนามว่า ‘ศิลปินรากแก้วอีสาน’ อีกทั้งทวียังเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ร่วมกับดำรง วงศ์อุปราชในช่วงรียนมหาวิทยาลัยศิลปากร และในปี พ.ศ. 2548 ทวีได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)

กัลยาณี (บัวสรวง) วสุวานิช เป็นลูกศิษย์ดำรง วงศ์อุปราช จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กัลยาณีได้รับความไว้วางจากจากดำรงให้เป็นเลขานุการ ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (คนแรก) หอศิลป พีระศรี ซึ่งในเวลาต่อมาได้เธอได้เข้าทำงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ และผู้อำนวยการกองประสานงาน ปัจจุบันเธอเป็นผู้อำนวยการบริหารสำนักพิมพ์ที่มีนามว่า ‘บัวสรวง’
 
ดำเนินรายการโดย
วรปรัชญ์ คะระนันท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายการศึกษา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทร 02-2146630-8 ต่อ 519
Email: [email protected]

 

Image Gallery