Performance
Biopsy of Fear
โดย B-Floor Theatre
Biopsy of Fear
ชันสูตรความกลัว ความกลัวอะไร ความกลัวของใคร?
ในโลกที่ปกครองด้วยความกลัว กำลังแผ่ขยายอำนาจการกดขี่ แบ่งแยกและปกครอง ทำลายการมีส่วนร่วม ปล้นความหวังของการมีชีวิต จนยอมสูญเสียอิสรภาพอันเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นความหมายของการมีชีวิต การยอมจำนนอย่างเชื่องเชื่อ และกลายเป็นพลเมืองที่จะกดขี่คนอื่นต่อไปในนามของอาณาจักรแห่งความกลัว
ชันสูตรความกลัว คือ ปฏิบัติการทางศิลปะที่จะเข้าไปสำรวจ รื้อถอน ความกลัวที่ถูกปลูกสร้างในสามัญสำนึก ความมืด ผี ความตาย ความรุนแรง ความไม่รู้ อำนาจที่กดทับ ความเชื่อ ที่ไม่ได้ถูกถอดถอน แต่กลับดำรงอยู่ ไร้การตรวจสอบและตั้งคำถาม
ซีรีส์การแสดงจากกลุ่มบีฟลอร์ พระจันทร์เสี้ยวการละคร และลานยิ้มการละคร ที่จะพาไปสำรวจพื้นที่แห่งความกลัว และชำแหละ รื้อถอน ปอกเปลือก ด้วยศิลปะการแสดง ตามแนวทางและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน
—
A Thorn of Conceptual Pain
โดย บีฟลอร์ x ราษดรัมส์
แรงบันดาลใจจากบทกวีของศิลปินกวีชาวพม่า ผสานกับเรื่องราวของกบฏผู้มีบุญอิสาน ขบถชาวนาเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ ในภาคอิสาน
สองดินแดน สองเวลาของการลุกขึ้นสู้ขับไล่ความกลัว สู่การต่อต้านขัดขืนต่ออำนาจอยุติธรรม การสืบเสาะร่องรอยปะติดปะต่อด้วยบทกวี นำเสนอผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย และจังหวะตีกลองที่แทนเสียง “ไม่ยอม” และขับไล่ “ความหวาดกลัว”ของประชาชน
กำกับการแสดง: ธีระวัฒน์ มุลวิไล
รูปแบบ: Movement-based Performance
—
The Cowbell and the Invisible
โดย พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ท่ามกลางความมืดขมุกขมัวมองไม่ค่อยเห็นกับสภาวะกดดันอึดอัดคับข้องคล้ายหายใจไม่ออก…เรายังคงขยับเคลื่อนไหว
เราเคลื่อนไหวด้วยอะไร? เราขับเคลื่อนด้วยตัวของเราเอง? หรือเราเคลื่อนไหวกับสิ่งที่เราเคยชิน? เราไหลวนไปเรื่อย ๆ กับจังหวะที่ถูกกำกับจนหลงลืมเสียงของเราและสิ่งที่มองไม่เห็น
จากแรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่และสภาพสังคมรอบตัว สู่การเคลื่อนไหวอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย เสียง จิตใต้สำนึก กับสิ่งที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังจะลอกเปลือกกลายเป็นบางสิ่งบางอย่าง
แสดงและกำกับ: สินีนาฏ เกษประไพ
รูปแบบ: Butoh Performance
—
แม่งูเอ๋ยฯ (Ibu Ular)
โดย ลานยิ้มการละคร
"…ข้าพเจ้าถูกกดทับกับความเชื่อ ยอมจำนนจนก้อนเนื้อจมกิ่งหนาม
เผลอสบตาให้เขาเฝ้าติดตาม จนหมดสิ้นถ้อยความยามเขาเลื้อย…"
แม่งูเอ๋ยฯ ดัดแปลงจากรวมบทกวี "แม่งูไม่เคยห่างหายจากหมู่บ้าน" ของ “อานนท์ นานมาแล้ว” เรื่องราวของพรานบุญที่ออกตามล่าสัตว์ใหญ่ในดินแดนปาตานี บทสนทนาแห่งความขัดแย้ง ความรุนแรง อำนาจที่กดทับ ความเชื่อ ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ผ่านสายตาของนักเขียนอย่างอานนท์ และมนุษย์คนหนึ่งอย่างอารีฟ ผู้สร้างนามปากกาอานนท์
กำกับการแสดง: นลธวัช มะชัย
รูปแบบ: Movement and Text-based Performance (English surtitles available)
—
วันและเวลาแสดง
10-12 ธันวาคม 2564
เวลา 19.00 – 21.00 น.
สถานที่ ห้องสตูดิโอชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ราคาบัตร
ราคาปกติ 900 บาท/ที่นั่ง
นักเรียน นักศึกษา 800 บาท/ที่นั่ง
กลุ่ม 10 คนขึ้นไป 700 บาท/ที่นั่ง
โปรโมชั่น Early Bird เมื่อจองบัตรวันที่ 20-27 พ.ย. 2021 600 บาท/ที่นั่ง
จองบัตรได้ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 2021
ส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะการแสดง ครั้งที่ 10 หรือ Performative Art Project #10 (P.A.P. #10) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม 2565 ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook: B-floor
โทร 083-504-9641