Activities
โครงการนิทรรศการศิลปะ กรรมกุหลาบ
โดย Myanmar Rose’s
โครงการนิทรรศการศิลปะกรรมกุหลาบ Not Alone – Now Myanmar Rose’s screams can be heard and seen… เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566
วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก นับเป็นวันที่มีความหมายพิเศษในฐานะวันสตรีสากล ถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองในทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงและเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี (International Women’s Day หรือ IWD) กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองก็ตาม ได้รวมตัวเพื่อฉลองวันสำคัญนี้เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค ความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา กำเนิดมาจากขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงาน จนกลายเป็นวันสำคัญประจำปีของโลกที่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ให้การรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1975 และในปี 1996 ยูเอ็นได้กำหนดคำขวัญประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรกว่า “เฉลิมฉลองอดีต และวางแผนเพื่ออนาคต” วันสตรีสากลจึงได้กลายเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองความสำเร็จและความก้าวหน้าของผู้หญิงทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และประท้วงเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องให้เกิดความเสมอภาคทางเพศต่อไป
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินงานทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการความรุนแรงและยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ซึ่งผู้ใช้แรงงานหญิงต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม
การจัดกิจกรรมโครงการ “Not Alone – Now Myanmar Rose’s screams can be heard and seen…” “กรรมกุหลาบ” โดยศิลปิน Myanmar Rose และร่วมด้วยศิลปินไทย อาทิ จิระนันท์ พิตรปรีชา โสภิรัตน์ ม่วงคำ นพวรรณ สิริเวชกุล พรรณชญานิษฐ์ วัชรรัตน์ มะลิวัลย์ ทรายหงษ์ ลัดดา คงเดช ด้วยเจตนารมณ์เพื่อต้องการสื่อถึงการพิทักษ์สิทธิสตรีในมนุษยธรรมจากความโหดร้ายรุนแรง การคุกคามทางเพศ สร้างการตระหนักและเห็นคุณค่าในความเป็นผู้หญิงที่ไม่อาจถูกทำร้ายหรือล่อลวงด้วยพฤติกรรมทางเพศ และการขืนใจ โดยจัดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2566 วันสตรีสากล ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 1 ห้อง เอนกประสงค์
—
กำหนดการวันสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 -20.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 1 ห้อง เอนกประสงค์
10.00 น. เริ่มงานกิจกรรมนิทรรศการ
13.00 น. เริ่มพิธีการ เปิดเวทีเสวนาเรื่องการใช้อำนาจล่วงละเมิดทางเพศในงานศิลปะ
14.00 น. เชิญมูลนิธิฯ หรือ หน่วยงานต่างๆ ขึ้นร่วมพูดบนเวที
15.00 น. ศิลปะแสดงสด Performance Art โดยศิลปินหญิง นพวรรณ สิริเวชกุล / พรรณชญานิษฐ์ วัชรรัตน์ / มะลิวัลย์ ทรายหงษ์ / ลัดดา คงเดช
17.00 น. เชิญคุณจีระนันท์ พิตรปรีชา อ่านบทกวีกล่าวเชิญประธานจัดงานขึ้นกล่าวเปิดงาน กล่าวเชิญแขกผู้มีเกียรติขึ้นร่วมเวที เชิญชมดนตรี กวี จากศิลปินรับเชิญ
18.00 น. ศิลปิน โรส ขึ้นกล่าวบนเวที พร้อม Presentation เชิญชมดนตรี กวี จากศิลปินรับเชิญ
20.00 น. จบงาน
—
The Scream that Needs to be Heard (and Seen)
all around the World
ชีวิตของเด็กสาวไร้เดียงสาที่ถูกหลอกมาค้าแรงงานมนุษย์เยี่ยงทาสที่ตะเข็บชายแดนของประเทศจีน มีเพียงผู้เดียวที่ได้ยินเสียงพร่ำกรีดร้องอ้อนวอนของเธอ ก็คือคนที่กระทำกับเธออย่างโหดร้ายทารุณเท่านั้น
เนื่องในวันสตรีสากล ในวันที่ 8 มีนาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ได้จัดนิทรรศการศิลปะของศิลปิน Myanmar Rose เป็นครั้งแรก นับจากนี้เสียงกรีดร้องของเธอจะไม่สูญเปล่า หากจะได้ยินกึกก้องและรับรู้ไปทั่วโลก ด้วยเรื่องราวที่สุดแสนสะเทือนใจของเมียนมาร์ โรส ซึ่งถูกขายเป็นทาสตั้งแต่อายุ 14 ปี ตอกย้ำว่าไม่ใช่แค่ผู้ชายเท่านั้นที่อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้… ในบางครั้งได้มีผู้หญิงมีส่วนร่วม แสวงหาผลประโยชน์จากมัน และเมินเฉยต่อการกระทำที่สุดแสนเลวทราม..แม้ว่าจะอยู่ตรงหน้าก็ตาม
ฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เป็นเรื่องจริงของ Myanmar Rose นั้นย้ำเตือนใจเราถึงความรู้สึกของผู้หญิงที่ถูกหักหลัง ถูกค้ามนุษย์ ถูกกดขี่ ถูกข่มขืนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถูกตีอย่างทารุณ ทรมานในทุกวันคืนนั้น ในวันนี้..สามารถที่จะหลีกหนีจากความเป็นจริงเหล่านี้ได้และกลายเป็นบทพิสูจน์ที่มีชีวิตต่อเจตจำนงของพลังผู้หญิง ภายในงานแสดงศิลปะของ Myanmar Rose เราจะถูกห้อมล้อมด้วยความเจ็บปวดจากการสิ้นหวังประหนึ่งการฆ่าตัวตาย ความอยุติธรรมที่ไร้มนุษยธรรมอันเลวร้ายที่สุดของมนุษยชาติ… และเรายังจะได้รับพลังจากกำลังใจในชัยชนะของจิตวิญญาณของผู้หญิง…. ความกล้าหาญ ความมุ่งมั่น ความทรหด ความคิดสร้างสรรค์กำลังเบ่งบาน…ในวันสตรีสากล คุณจะอยากไปที่ไหนได้อีกนอกจากมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงพลังท่ามกลางการรับรู้ความรู้สึกของผลงานศิลปะที่สะท้อนชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ได้อยู่เดียวดายอีกต่อไป ณ ที่นี่
มาร่วมยืนหยัดเป็นเครื่องพิสูจน์ของคุณค่าการมีชีวิตให้กับ Myanmar Rose ว่าตอนนี้เธอไม่ได้อยู่คนเดียวอีกแล้ว เสียงของเธอจะดังก้องไปยังหัวใจทุกคน ในปีนี้ของวันที่ 8 มีนาคม เพื่อเป็นเกียรติแก่เมียนมาร์ โรส และผู้รอดชีวิตของสตรีคนอื่นๆ… มาร่วมเป็นเกียรติแก่วันสตรีสากล…. และยกระดับความสำคัญในความตระหนักถึงคุณค่าของผู้หญิงที่จะมีขึ้นให้โลกทั้งใบได้รับรู้
ภัณฑารักษ์ โดย ทราย วรรณพร ฉิมบรรจง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณทราย วรรณพร ฉิมบรรจง
โทร. 081 666 8383
Email: [email protected]
Visit: https://myanmarrose.com/media-resources/