Workshop & Training

กิจกรรมเวิร์กชอป  บ่มเพาะ: การทำงานกับพื้นที่ โดย จิตติ เกษมกิจวัฒนา


จัดโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ร่วมกับคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Bangkok Kunsthalle
เวลา 10.00 – 17.30 น.


กิจกรรมเวิร์กชอป บ่มเพาะ: การทำงานกับพื้นที่  ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปฏิบัติการภัณฑารักษ์และวิธีการสร้างความร่วมมือของอาจารย์สมพร รอดบุญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Bangkok Kunsthalle

กิจกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อ “บ่มเพาะ” กระบวนการการทำงานเฉพาะพื้นที่ (site-specific) โดยอาศัยกรอบความคิดเรื่องการผลิตพื้นที่และมุมมองเชิงพื้นที่ (production of space and spatial perspective) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของพื้นที่กายภาพ พื้นที่ทางความคิด และพื้นที่ทางสังคมในย่านวงเวียน 22 กรกฎาคม 

Bangkok Kunsthalle ตั้งอยู่บนถนนไมตรีจิตต์ เชื่อมเข้ากับ “วงเวียน 22 กรกฎาคม” ซึ่งรัชกาลที่ 6 โปรดให้สร้างขึ้นหลังการเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในบริเวณนี้ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเมื่อคราวที่สยามเข้าร่วมกับเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่  22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ถือว่าเป็นวงเวียนแห่งแรกของประเทศไทย และมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายถนนและผังเมืองใหม่ของพระนครรอบนอก วงเวียนยังหมายถึงหมุดหมายที่ถนนหลายเส้นมาประจบรวมกัน “วงเวียน 22 กรกฎาคม” จึงไม่เพียงเชื่อมย่านชุมชนชาวจีนเข้ากับหัวลำโพงและทุ่งศาลาแดง (บริเวณสวนลุมพินีในปัจจุบัน) อันเป็นย่านการค้าสำคัญนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ยังเป็นพื้นที่มีผู้คนหลากหลายกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งชุมชนชาวจีน แรงงานจากต่างถิ่น รวมถึงกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มคนเปราะบาง

ด้วยกระบวนการเวิร์กชอปอันมีเป้าเพื่อ “บ่มเพาะ” แนวทางการทำงานเฉพาะพื้นที่ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีจากประสบการณ์จริงและเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมทักษะด้านปฏิบัติการภัณฑารักษ์ ผ่านกิจกรรมสำรวจพื้นที่และชุมชน และเรียนรู้ความสัมพันธ์ของผู้คนจากผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสในการออกแบบนิทรรศการจากพื้นที่จริง ณ Bangkok Kustaller กับจิตติ เกษมกิจวัฒนา 

– ดำเนินรายการเป็นภาษาไทย 
– ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
– คัดเลือกใบสมัคร 10 โครงการจากภัณฑารักษ์ ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม (ไม่เกิน 4 คน)
– ไม่จำกัดอายุและวุฒิการศึกษา
– เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2567
– ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกวันที่ 20 สิงหาคม 2567
– เอกสารการนำเสนอโครงการ บันทึกไฟล์เป็น PDF 
–  โครงการที่ต้องการนำเสนอไม่เกิน 800 คำ ภายใต้โจทย์แนวคิดเกี่ยวกับ “พื้นที่” ที่สัมพันธ์กับการผลิตพื้นที่และมุมมองเชิงพื้นที่โดยสามารถเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ ดังต่อไปนี้ 
    1. ประวัติศาสตร์และความทรงจำ 
    2. การเคลื่อนย้ายของผู้คน 
    3. การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสังคม 
–  ภายในข้อเสนอโครงการ ประกอบไปด้วย แนวคิด ประเด็นที่สนใจ และ conceptual sketch/visual score โดยเน้นเรื่องพื้นที่เฉพาะ รวมถึงผลงานหรือศิลปินที่อยากทำงานด้วย
– ส่งแก้ไขโครงการภายในวันที่ 20 กันยายน 2567
– นำเสนอแก้ไขโครงการวันที่ 23 กันยายน 2567
– 1 โครงการที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนในการจัดทำนิทรรศการที่ Bangkok Kunsthalle

– ผู้สนใจกรุณาลงทะเบียน
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd_Sxbff8HLKez7WyIv5mtrze-Sw3Jwu5dQJVwUmLvUMpQORQ/viewform

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายการศึกษา หอศิลปกรุงเทพฯ
โทร 02-214-6630 ต่อ 519
Email: [email protected]

Image Gallery