ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จุดเริ่มต้น
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชน ในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐ ยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึง ความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนา ประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนว ร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วม สมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้ง เพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลป วัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยก ระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้า ทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็น การลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผล กำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้าง สาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็น สาธารณูปโภคทางสมอง หรือ software ทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการ สร้าง hardware
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็น ทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้ หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวง หาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และ พักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
รณรงค์เพื่อศิลปะ
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการ เฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการ คิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบ เดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพ มหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้าง องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม คัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัด กิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหาร กรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการ รวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า การดำเนินการทาง กฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับ โครงการฯ และการจัด "ART VOTE" โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตามโครงการเดิม
หอศิลปฯ เพื่อมวลชน
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่าง เข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่อง มาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและ เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การ รับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทาง ปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วม กิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญ ทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป
10 ปีที่ผ่านมา…หอศิลป์ให้อะไรแก่เมือง?
ในวาระครบรอบ 10 ปี การดำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นเพื่อศึกษาผลกระทบและบทบาทของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครที่มีต่อสังคม ดำเนินงานศึกษาวิจัยโดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
86% เห็นว่าหอศิลปกรุงเทพฯ มีส่วนพัฒนาด้านการศึกษาศิลปะ ในฐานะพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของเยาวชน
84% เห็นว่าหอศิลปกรุงเทพฯ เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเมื่อเทียบเคียงกับหอศิลป์ในเมืองหลวงชั้นนําอื่น ๆ
87% เห็นว่าหอศิลปกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่และเวทีเปิดกว้างสําหรับศิลปะร่วมสมัย
82% เห็นว่าหอศิลปกรุงเทพฯ ทําให้พื้นที่ย่านการค้าสยามและแยกปทุมวันมีความโดดเด่นและดึงดูดนักท่องเที่ยว
ทั้งนี้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นร่วมกันว่า ศิลปะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคนพัฒนาชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กรุงเทพมหานครจะต้องให้การสนับสนุนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของเมือง เนื่องจากหอศิลปกรุงเทพฯ มีส่วนเชื่อมโยงและเติมเต็มความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับระบบการศึกษา สร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สภาพเมืองสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว