Publications

ตราสัญลักษณ์หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ตราสัญลักษณ์ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่

  1. สัญลักษณ์ชุดวงกลม
  2. ตัวอักษรชื่อหอศิลปฯ

ความเป็นมาของตราสัญลักษณ์

กรุงเทพมหานครได้จัดให้มีการประกวด ออกแบบตราสัญลักษณ์หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร โดยประกาศ เชิญชวนให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปส่ง ผลงานเข้าประกวด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ มีผู้สนใจส่ง ผลงานเข้าประกวด 152 คน เป็นชาย 118 คน หญิง 38 คน รวมทั้งสิ้น 280 ชิ้นงาน ในจำนวนนี้เป็นผลงานของในประเทศไทย 152 คน และต่างประเทศ 4 คน

ปรากฏว่า มีผู้ได้รับรางวัล 8 รายการ โดย ผู้ชนะเลิศคือ นายภาคภูมิ ลมูลพันธ์ นักออก แบบอิสระ ได้เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมประกาศเกียรติคุณ

 

ดาวน์โหลด

โลโก้ หอศิลปฯ โลโก้ กทม.

<

ตราสัญลักษณ์ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โดยนายภาคภูมิ ลมูลพันธ์

<

ตราสัญลัญลักษณ์ที่ได้่รับการพัฒนาและใช้อยุ่ในปัจจุบัน

แนวความคิดการออกแบบและความหมาย

แนวความคิดในการออกแบบของนายภาคภูมิ คือ การสืบทอดความเป็นไทยสู่สากล เริ่มจากการตั้งโจทย์ว่า จะหาสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้คนดูสามารถคิดไปได้ใน มุมมองของตัวเองที่ต่างกันออกไป ซึ่งเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งในงานศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัยการนำรูปวงกลมมาจัดวางเพื่อสื่อความหมายให้เห็นถึงความเป็นไทย โดย สามารถมองเป็นทิวทัศน์วัดวาอาราม และเป็นแสงสีของกรุงเทพสมัยใหม่ได้ในเวลา เดียวกัน เหมือนกับเป็นการแนะนำศิลปะสมัยใหม่ให้กับคนทั่วไป การใช้วงกลมเป็น ฟอร์มที่เรียบง่าย ไม่เป็นการสร้างความรู้สึกต่อศิลปะให้เป็นเรื่องยากและไกลตัว อีกทั้งการทำให้รูปวงกลมมาซ้อนทับกันนั้นเปรียบเสมือนพื้นที่ของหอศิลปฯ ที่เกิด จากการรวมตัวเข้ามาทำกิจกรรมของผู้คนอีกด้วย

ตราสัญลักษณ์และระบบการใช้งานได้รับการพัฒนาโดย สันติ ลอรัชวี และสำนักงาน ออกแบบแพรคทิเคิล โดยนำเสนอสัญลักษณ์ต้นแบบผ่านการใช้ชุดสี และการ ออกแบบตัวอักษรชื่อหอศิลปฯ ให้มีความหลากหลายและการมีส่วนร่วม