- Reference Codes
01EXH-01-2016-03-DOC-02
- Title
เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ — กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “ไทยเนตร” : Artist Forum #1 : “ศิลปินไทยในเวทีนานาชาติ : กรณีศึกษาหอศิลป์ร่วมสมัย Saatchi”
- Date
11.01.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
กระทรวงวัฒนธรรม
- Name of co-creator (s)
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครม, หอศิลป์ซาทชิ,
บริษัท พรูเดนเชียลประกันชีวิต จำกัด และพาราลเลล คอนเทมโพรารี่ อาร์ต - Administrative / Biographical History
เกี่ยวกับศิลปิน
ปัญญา วิจินธนสาร
ปัญญาได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2557 และเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม “ศิลปะไทย 23” ร่วมกับเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ โดยทั้งสองได้ร่วมมือกับศิลปินไทยจำนวนหนึ่ง สร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ผลงานช่วงแรกๆ ของปัญญาได้ผสมผสานประเพณีไทย ธรรมชาติในอุดมคติ และสัตว์ในตำนานของไทยเข้าด้วยกัน ส่วนผลงานในปัจจุบัน บรรยายถึงความโง่เขลาของแนวคิดสุดโต่งทางการเมือง
สาครินทร์ เครืออ่อน
สาครินทร์ได้รับรางวัลศิลปาธร ในปี 2552 และเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมงาน Documenta ครั้งที่ 12 ในปี 2550 ผลงานของเขามักนำเสนอเป็นศิลปะเชิงความคิดผ่านรูปแบบสื่อ วีดิทัศน์ ศิลปะจัดวางและรูปปั้น ถึงแม้ว่าเขาจะสนใจเรื่องวิถีชีวิตชุมชน แต่เขาได้แยกวิถีและประเพณีไทยออกมาใส่ในบริบทร่วมสมัย ซึ่งดึงความสนใจไปที่คุณค่าความเป็นมนุษย์ และด้านลบในบางมุมของสังคมไทยด้วย
ปานพรรณ ยอดมณี
ปานพรรณได้รับรางวัลเหรียญทอง จากงานประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ประเภทจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ปี 2556 และรางวัลจากโครงการศิลปะเพื่อเยาวชนไทย ปี 2549-50 ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมของเธอ สื่อให้เห็นถึงจิตรกรรมฝาผนังที่เสื่อมโทรม แสดงถึงความศรัทธา ความสูญเสีย ความทุกข์ทรมาน และการเวียนว่ายตายเกิด อีกทั้งพลังแห่งศรัทธาที่ผลักดันให้มนุษย์มีแรงก้าวต่อไปในชีวิต
ดาว วาสิกศิริ
ดาวเป็นช่างภาพผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย โดยได้รับรางวัลในงาน Cannes Lion จากผลงาน anti-gambling print เมื่อปี 2550 ผลงานของดาวนำเสนอมุมมองใหม่ต่อประวัติศาสตร์ไทยและการสร้างภาพความต่างของความจริงทางสังคมความเป็นตัวตน และการแสดงออกถึงความเชื่อดั้งเดิมในความดีและศีลธรรม เช่น ภาพถ่ายผู้ชายคนหนึ่งที่กำลังเพลิดเพลินกับกาแฟสตาร์บัคและแมคโดนัลด์ ขณะที่พูดคุยกับผู้หญิงในเครื่องแต่งกายชุดไทยในเวลาเดียวกัน
ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
พระเอกแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยที่สร้างชื่อเสียงระดับโลก และมีผลงานจัดแสดงอย่างต่อเนื่องทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในปี 2533 เขาได้เนรมิตพื้นที่หอศิลป์ให้กลายเป็นห้องครัว และผันตัวเองเป็นพ่อครัวใหญ่ โดยทำ “ผัดไทย” ให้ผู้ชมรับประทาน ความงามในมุมมองของเขาเกิดจากประสบการณ์ร่วมของผู้ชมในสถานที่และช่วงเวลาที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้น - Archival History
วันที่จัดกิจกรรม: 3 เมษายน 2559 เวลา 14.00-16.00 น.
สถานที่: ณ เอนกประสงค์ชั้น 1
ศิลปินไทยมีบทบาทในเวทีนานาชาติหลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดแสดงเดี่ยวหรือกลุ่ม งานประกวด งานประมูล งาน ศิลปินพำนัก (Artist in residency) รูปแบบการจัดแสดงงานของศิลปินไทยแตกต่างกันไปตามวิธีทางของศิลปินแต่ละคนหรือโอกาสที่จะได้รับ กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ ไทยเนตร “Artist Forum” ครั้งที่หนึ่ง การบรรยาย หัวข้อ “ศิลปินไทยในเวทีนานาชาติ : กรณีศึกษาหอศิลป์ร่วมสมัย Saatchi” เป็นการพูดคุยกับศิลปินที่มีบทบาทและประสบการณ์ในการทำงานบนเวทีสากลนานาชาติ ซึ่งความแตกต่างในเส้นทางการเดินทางของศิลปินแต่ละท่าน ทำให้วิธีการที่จะนำไปสู่การแสดงงานและความสนใจของหอศิลป์ในต่างประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ประสบการณ์ต่างๆเล่าผ่านการพูดคุยของศิลปินและผู้ดำเนินรายการ เพื่อเพิ่มข้อมูลความรู้ให้กับนักศึกษาหรือผู้สนใจทั่วไป และใช้นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ไทยเนตร (Thailand Eye) เป็นกรณีศึกษา - Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายกิจกรรมการศึกษา
- Related units of description
Press release
- Note
การบรรยายโดย
1. ปัญญา วิจินธนสาร
2. สาครินทร์ เครืออ่อน
3. ดาว วาสิกสิริ
4. ปาณพรรณ ยอดมณี
5. จิรศักดิ์ แสงพลสิทธิ์ (ในฐานะผู้ช่วยศิลปิน ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช)
ผู้ดำเนินรายการ: สืบแสง แสงวชิรภิบาล - Archivist’s Note
EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY : กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ “ไทยเนตร”
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
12.01.2018