Documents
นิทรรศการ Re-ทิ้ง (Re-Think): นิทรรศการศิลปะเพื่อลดการ”ทิ้ง”เพิ่มการ”Think”
Download PDF(Login required)- Reference Codes
01EXH-01-2013-09-DOC-01
- Title
เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ — นิทรรศการ Re-ทิ้ง (Re-Think): นิทรรศการศิลปะเพื่อลดการ”ทิ้ง”เพิ่มการ”Think”
- Date
23.03.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 ไฟล์
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Archival History
วันที่จัดกิจกรรม : 14 กันยายน – 17 พฤศจิกายน 2556
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
นิทรรศการ Re-ทิ้ง (Re-Think): นิทรรศการศิลปะเพื่อลดการ”ทิ้ง”เพิ่มการ”Think” จากสิ่งไร้ค่าในกองวัสดุหากแต่เปี่ยมความหมายทางด้านจิตใจ นับว่าเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่สิ่งไร้ค่าเหล่านั้นถูกทั้งศิลปิน 6 ท่าน นำมาชุบชีวิตให้ฟื้นคืนคุณค่าด้วยวิธีที่ต่างกัน ผลงานศิลปะบางชิ้นไม่ได้ถูกชุบชีวิตหากแต่ทำหน้าที่ชุบชีวิต บรรเทา เยียวยาและฟื้นฟูความรู้สึก ความเจ็บปวด และกระทั่งบาดแผลบางประการในอดีตของศิลปินเองนภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์: นำเสื้อผ้าเก่าของคนในครอบครัวที่ถูกหลงลืมมาสร้างประติมากรรมแบบ collage เสมือนการปะ ติด ต่อ ร้อยเรียงความทรงจำของศิลปิน
ณัฏฐพล บุญเผือก: ใช้กระบวนการสร้างงานศิลปะเพื่อเป็นการบำบัดขยะ ปฏิกูล ที่ตกค้างอยู่ภายในใจ และใช้ผลงานเพื่อบำบัดสิ่งแวดล้อมในฐานะของหนึ่งในผู้ทำลายที่ไม่ต้องการอยู่นิ่งเฉยแล้วมองดูความเสื่อมสลายต่อไป
ปิติวรรธน์ สมไทย: นำกล่องกระดาษใช้แล้วมาสร้างอัตลักษณ์ใหม่ในการรับรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งถูกสร้างจากภาพลักษณ์ที่ถูกบิดเบือน ทำให้การรับรู้ถูกชี้นำ เชื่อมโยงไปสู่สิ่งที่เป็นมายา และตกอยู่ในวังวนของกระบวนการนี้ไปตลอดกาล
พศุตม์ กรรณรัตนสูตร: ด้วยความสนใจเสน่ห์ของพื้นที่ว่าง เมื่อถูกจำกัด ควบคุม ยอมรับ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทุกครั้งที่เกิดความว่างขึ้นในบริบทใหม่ ก็จะทำให้เกิดมุมมองและมิติอารมณ์ที่ต่างไป โดยเลือกใช้วัสดุเป็นป้ายไวนิล (Vinyl banners) ที่หมดอายุการใช้งานของข้อความไร้มูลค่าและอยู่ในสภาวะไร้ความหมาย นำมาสร้างความหมายใหม่รวมถึงเพิ่มมูลค่าวีรวัฒน์ สิริเวสมาศ: นำวัสดุคือหนังสือพิมพ์ ที่แม้มีอายุเพียงวันเดียวแต่ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ รวมถึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นและเป็นไปในชั่วขณะนั้นมาสร้างงานศิลปะ โดยให้ภาษาและภาพในวัสดุช่วยเล่าเรื่องผ่านรูปทรงที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่โดยศิลปิน
ญาณวิทย์ กุญแจทอง: นำผลของการละเลย ไม่ใส่ใจและเมินเฉยต่อการเรียกร้องของธรรมชาติ นั่นคือเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 มาสร้างงานศิลปะ ซึ่งในความเสียหายใหญ่หลวงที่เกิดขึ้น สิ่งที่อดทนต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีกลับเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาติเช่นกัน
- Immediate source of acquisition or transfer
ฝ่ายนิทรรศการ
- Related units of description
Press release
- Rules or Conventions
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Date(s) of descriptions
24.03.2018