Videos
Omnivoyeur and Electrical Walks Bangkok เสียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและงานทัศนศิลป์ (ขยายเวลาจัดแสดง)
- Reference Codes
01EXH-01-2016-05-VDO-01
- Title
Omnivoyeur and Electrical Walks Bangkok เสียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและงานทัศนศิลป์ : Interview: มิติ เรืองกฤตยา
- Date
02.01.2018
- Level of description
Sub-Series
- Extent and medium of the unit of description
1 วิดีโอ
- Name
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- Administrative / Biographical History
เกี่ยวกับคริสติน่า คูบิช:
คริสติน่า คูบิช เกิดในเมืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2491 เธอศึกษาศิลปะการเขียนภาพ ดนตรี และระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เมืองฮัมบูร์ก กราซ และซูริค ก่อนจะสำเร็จการศึกษาในมิลาน ประเทศอิตาลี คริสติน่าได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแสดงสด คอนเสิร์ต และสื่อวิดีโอจำนวนมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก่อนจะหันมาให้ความสนใจกับงานติดตั้งและงานประติมากรรมที่ใช้โสตย์และแสงอัลตราไวโอเลตเป็นสื่อ ผลงานส่วนใหญ่ของคริสติน่าอยู่ในรูปดนตรีอิเล็กโทร อคูสติก บางส่วนเขียนขึ้นเพื่อใช้บรรเลงในวงอองซอมเบิล ปัจจุบัน คริสติน่า คูบิช ทำงานในฐานะอาจารย์พิเศษที่เมืองมาสทริช ปารีส และเบอร์ลิน เธอเคยเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาศิลปะสื่อโสตย์ที่วิทยาลัยวิจิตรศิลป์แห่งเมืองซาร์บรุคเคน ประเทศเยอรมนี ในช่วงปีพ.ศ. 2537-2556 นอกจากนี้ เธอยังเป็นสมาชิกของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเบอร์ลินมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540
เกี่ยวกับ มิติ เรืองกฤตยา:
มิติ เรืองกฤตยา เป็นศิลปินชาวไทยเจ้าของผลงานทัศนศิลป์ที่ได้นำไปจัดแสดงในนิทรรศการต่างๆ มาแล้วทั่วโลก โดยมีไฮไลท์ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “Selected Winner” ผลงานชนะเลิศจากการคัดเลือกของการประกวดของมูลนิธิมาเจนต้าสำหรับช่างภาพหน้าใหม่ (สหราชอาณาจักร) นิทรรศการเดี่ยวที่ 2902 ประเทศสิงคโปร์ กาฐมาณฑุ แกลเลอรี่ ในกรุงเทพฯ และไอซีไอ ในเมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี นอกจากนี้ ผลงานของเขายังได้รับการคัดเลือกไปจัดแสดงทั้งในเทศกาลอาร์ลส์ ฟอร์แมท นอร์เดอลิกท์ และสิงคโปร์โฟโต้ ทั้งยังมีการรวบรวมผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารบริติช เจอร์นัล ออฟ โฟโตกราฟี นิตยสารเดอ แลร์ และหนังสือพิมพ์ เลอ มงด์ มิติเคยเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปกับ อองตวน ดากาต้า โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของอองตวนมาก่อนในพัทยา ปัจจุบัน มิติเป็นหนึ่งในศิลปินดาวรุ่งระดับแถวหน้าของหอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขาได้คว้ารางวัล “Portfolio Reviewers Award” จากเทศกาลศิลปะฟอร์แมทครั้งล่าสุดมาครอง และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ปรีซ์ ปิกเตต์ - Archival History
แนวคิดของโครงการเริ่มจากภัณฑารักษ์ของงาน พิชญา ศุภวานิช หัวหน้าฝ่ายนิทรรศการของหอศิลปกรุงเทพฯ ทำงานร่วมกับสองศิลปิน ประกอบโครงการจากงานสองส่วน ส่วนแรก คือการเดินสำรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในกรุงเทพฯ หรือ Electrical Walk ผลงานของ คริสติน่า คูบิช ที่เปิดประสบการณ์ให้ทุกคนได้สัมผัสกับกรุงเทพฯ ในมุมมองที่แตกต่างด้วยแผนที่บอกตำแหน่ง สนามแม่เหล็กไฟฟ้า เผยปรากฏการณ์ของเสียงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ซ่อนอยู่รอบตัวเรา ผ่านอุปกรณ์ หูฟังพิเศษดักจับเสียงที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนที่สอง มิติ เรืองกฤตยา สะท้อนแง่มุมบริบทเมืองกรุง ผ่านภาพถ่ายจากสนามจริง สู่รูปแบบศิลปะการจัดวาง โดยผลงานภาพถ่ายจะถูกผสานร่วมกับเสียงคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่นำมาประพันธ์ใหม่โดย คริสติน่า คูบิช ผู้เข้าชมนิทรรศการสามารถเลือกฟังเสียงต่างๆ ผ่านอุปกรณ์เสียงนำชม และสัมผัสกับประสบการณ์ทางสื่อ ภายในพื้นที่จัดแสดง ผ่านโสตสัมผัสทางตาและทางหู ในแบบฉบับของตนเอง
การผสานผลงานสื่อเสียงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคริสติน่า คูบิช เข้ากับผลงานทัศนศิลป์ของมิติ เรืองกฤตยานี้เป็นการเล่าเรื่องราวข้ามสื่ออีกทางเลือกหนึ่งซึ่งชี้ให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวกรุงที่แตกต่างจากความเคยชินในกรุงเทพฯ นิทรรศการนี้เน้นให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของสื่อ ผ่านศิลปะของเสียง ตลอดจนบริบทห่อหุ้มที่ซ่อนลึก สอดประสานเป็นท่วงทำนองต่างกันแต่ดำเนินไปด้วยกันของประสบการณ์ในเมือง ผลงานต่างสื่อภายในนิทรรศการนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยขยายขอบเขตการรับรู้ของผู้เข้าชม ให้ประจักษ์เห็นถึงการมีอยู่ของเทคโนโลยีที่แผ่ตัวตนไปทุกหนแห่ง ดังคำกล่าวของชาร์ก ลาแคน นำเสนอปรัชญาเชิงจิตวิเคราะห์ในทัศนะของยุคเทคโนโลยีจากคำ “Omnivoyeur” ที่ว่า “ข้าเห็นโลก แต่โลกทั้งหมดก็เห็นข้า” นิทรรศการ Omnivoyeur นี้จะพาผู้เข้าชมเข้าไปสัมผัสผลงานศิลปะ ในรูปแบบกลับมุมมอง เปลี่ยนบทบาทของผู้เข้าชม ให้กลายเป็นผู้สำรวจสื่อ ด้วยการรับรู้ถึงบริบททั้งการเมืองและศิลปะของสื่อที่แฝงอยู่รอบตัวเรา
- Scope and content
วันที่จัดกิจกรรม: 01 เมษายน – 04 กันยายน 2559
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 - System of Arrangement
อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
- Related units of description
วิดีโอ
- Archivist’s Note
เกี่ยวกับสถาบันเกอเธ่:
สถาบันเกอเธ่เป็นหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของสหพันธรัฐเยอรมนีที่ตั้งอยู่ทั่วโลก พันธกิจของเราคือการสนับสนุนความรู้ด้านภาษาเยอรมันในต่างประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เราถ่ายทอดภาพกว้างของประเทศเยอรมนีผ่านการให้ข้อมูลด้านวัฒนธรรม สังคม และการเมืองในประเทศของเรา กิจกรรมด้านวัฒนธรรมและการศึกษาของเราผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดซึ่งกันและกันระหว่างวัฒนธรรมและนำไปสู่การร่วมมือทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับการพัฒนาโครงสร้างภาคประชาสังคมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวทั่วทุกมุมโลก
ด้วยเครือข่ายของสถาบันเกอเธ่ ศูนย์เกอเธ่ กลุ่มงานด้านวัฒนธรรม ห้องสมุด ศูนย์สอบ และศูนย์ภาษา เราได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ติดต่อแรกกับประเทศเยอรมนีสำหรับหลายๆคนมากว่าหกสิบปีแล้ว ความร่วมมือที่มีมาอย่างยาวนานของเราร่วมกับสถาบันชั้นแนวหน้าหลายแห่งรวมถึงความสัมพันธ์ในระกับบุคคลในกว่าเก้าสิบประเทศทั่วโลกได้สร้างความไว้วางใจของผู้คนต่อประเทศเยอรมนี เราเป็นพันธมิตรกับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับประเทศเยอรมนีรวมถึงวัฒนธรรมเยอรมัน และทำงานอย่างเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองเกี่ยวกับเครือข่ายคอนเนคติงซิตี้ส์:
คอนเนคติงซิตี้ส์ (Connecting Cities) เป็นเครือข่ายทั่วโลกที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างและเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมสื่อในเมือง เช่น ป้ายดิจิตอลบนผนังอาคาร จอดิจิตอลในเมือง หรือสถานที่ฉายภาพเพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและสังคม ตรงกันข้ามกับการใช้สื่อของวงการโฆษณา โครงการสื่อในเมืองของคอนเนคติงซิตี้ส์เกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ร่วมกันสร้างและกำหนดอนาคตของมนุษย์ในเมืองดิจิตอล โครงการนี้ริเริ่มขึ้นโดย Public Art Lab และด้วยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป - Date(s) of descriptions
18.01.2018