Main Exhibition 789
มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน : ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขยายเวลาจัดแสดง)
โดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เปิดนิทรรศการในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลา 18:30 น.
bacc exhibition
มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน: ศิลปะและส่วนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิทรรศการใหม่เกี่ยวกับแนวทางการทำงานศิลปะที่ใช้มโนทัศน์เป็นหลักเพื่อส่วนรวม โดยส่วนรวม และเน้นส่วนรวมและประเด็นร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เดินทางท่องไปทั่วโลก และได้สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ชมมาแล้วทั่วทุกมุมโลก ถึงแม้ว่ารูปแบบของงานและสภาพแวดล้อมทางการเมืองและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้เกิดศิลปะจะแตกต่างหลากหลาย แต่ทว่าศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงประวัติศาสตร์ร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวในศตวรรษที่ 21 ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นเอกภาพของอาเซียน ผสานกับ การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภูมิใจนำเสนอ นิทรรศการทัศนศิลป์ที่ให้ทั้งความตื่นตาตื่นใจและความรู้ทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ของภูมิภาคนี้ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และถือเป็นนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ที่เคยจัดขึ้นในประเทศไทย
คิวเรตขึ้นจากความร่วมมืออันแนบแน่นระหว่างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และผู้เชี่ยวชาญชาวศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากในภูมิภาคนี้ นั่นคือสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน: ศิลปะ และส่วนรวม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นนิทรรศการทางทัศนศิลป์ที่น่าตื่นตาสำหรับผู้ชมในวงกว้าง ในขณะเดียวกันก็จะให้ความรู้ความเข้าใจ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อให้เห็นวัฒนธรรมทางทัศนศิลป์ในปัจจุบันของภูมิภาคแห่งนี้ นิทรรศการจะแสดงแผนภูมิความโยงใยของมโนทัศน์สำคัญของศิลปร่วมสมัยของภูมิภาคนี้ที่ฝังรากอยู่ในแต่ละท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันกับความคิดเกี่ยวกับสังคมและเพื่อสังคม ผ่านผลงานของศิลปินจากประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า และกัมพูชา และอาจสรุปได้ว่า นิทรรศการนี้จะทำการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการใช้มโนทัศน์ในการสร้างสรรค์งาน กับความคิดต่างๆทางสังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ด้วยผลงานร่วม 50 ชิ้นจากศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก ในระดับนานาชาติจากสามยุคสมัยกว่า 40 คน นิทรรศการนี้จะยืนยันความคิดที่ว่า แนวทางการทำงานในด้านมโนทัศน์ซึ่งใช้สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่จำเป็นต้องรับมาจากภูมิภาคอื่น แต่สามารถพบเจอได้ในวัฒนธรรมพื้นถิ่นของตน ศิลปินมากมายที่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ได้ร่วมแสดงในงานนี้ อาทิ ศิลปินต้นแบบจากสิงคโปร์ที่วิพากษ์สังคมได้อย่างมีชั้นเชิง ลี เวน และ อาแมนดา เฮง ศิลปินผู้กำหนดทิศทางในฟิลิปปินส์ อย่าง ไอเมลดา คาจิเป เอนดายา และ อัลวิน รีมมิลโล ศิลปินรุ่นใหญ่จากอินโดนีเซียที่ขับเคลื่อนพลังเสียงทางการเมือง เอฟเอ็กซ์ ฮาร์โซโน เอโค นูโกรโฮ และดัคลิงค์ทัมบูยฮ์ และ โปโปค ไตร-วายุทธ์ สำหรับฝั่งไทย มีศิลปินร่วมสมัยรุ่นบุกเบิก มานิตย์ ศรีวานิชภูมิ สุธี คุณาวิชยานนท์ และวสันต์ สิทธิเขต เป็นต้น งานทั้งหมดจะนำมาจัดแสดงในรูปบทสนทนา ที่ทั้งศิลปินและผลงานต่างพูดคุยโต้ตอบกันโดยจะแสดงให้ผู้ชมได้เห็นว่า รูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์ อาจจะพัฒนาไปตามกาลเวลา แต่กระบวนคิดที่ซับซ้อนและกลวิธีการใช้ความเปรียบยังคงปรากฏอยู่สม่ำเสมอ และแท้จริงแล้วถือเป็นลักษณะเด่นของทัศนศิลป์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิทรรศการครั้งนี้จะนำเสนอสื่อในทุกรูปแบบ ตั้งแต่จิตรกรรม ศิลปะจัดวางที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ศิลปะที่ใช้ตัวอักษรหรือข้อความ ไปจนถึงเกมและผลงานที่จัดแสดงโดยสัมพันธ์กับเวลาที่กำหนด ซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้สาธารณะชนได้ใช้ และมีประสบการณ์กับงานตลอดระยะเวลาของนิทรรศการ ยิ่งไปกว่านั้น นิทรรศการ มโนทัศน์ บริบท การต่อต้าน: ศิลปะ และส่วนรวม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่าง แนวทางการทำงานเชิงมโนทัศน์ในศิลปะกับศิลปะที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงสังคม สององค์ประกอบที่ทำงานร่วมกัน และเป็นลักษณะสำคัญของการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการจัดแสดงผลงานที่ผู้ชมของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะได้มีปฏิสัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานด้วยการเข้าไปสัมผัสและลองใช้ผลงานได้
ทั้งนิทรรศการองค์รวมและชิ้นงานต่างๆในแต่ละส่วนแสดงที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ของห้องแสดงนิทรรศการ จะประกอบด้วยแทบเลตที่เป็นกันเอง และสามารโต้ตอบกับผู้ชมเพื่อให้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ศิลป์ ของชิ้นงานนั้นๆ เนื้อหาของนิทรรศการจะบันทึกเป็นข้อเขียน ไว้ในบทความวิจัยจำนวน 10 ชิ้น รวบรวมไว้ในสูจิบัตร และยังมีการบรรยายสาธารณะและการอภิปรายกลุ่มย่อย ตามหัวข้อที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ
ภัณฑารักษ์ :
อิโอลา เลนซี (สิงคโปร์)
อากุง ฮูจานิกาเจนนง (อินโดนีเซีย)
วิภาช ภูริชานนท์ (ไทย)
ศิลปิน:
อัลวิน รีอามิลโล
อามันดา เฮง
อัง โค
บุ๋ย ค๊อง ข่าน
ชลูด นิ่มเสมอ
เอโค นูโกรโฮ และดัคลิงค์ทัมบูยฮ์
เอลเมอร์ โบลลองกัน
เอฟเอ็กซ์ ฮาร์โซโน
โกลดี โพบลาดอร์
ไอเมลดา คาจิเป เอนดายา
ลี เวน
มานิต ศรีวานิชภูมิ
เมส56
ไมเคิล เชาวนาศัย
โมล์ แซทท์
โมเอลโยโน
แน็ง เลย์
เหงียน วาน ควอง
อรวรรณ อรุณรักษ์
ปพนศักดิ์ ละออ
พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง
โปโปค ไตร-วายุทธ์
ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์
รอสลิแชม อิสมาอิลล์
ซิมริน จิล
สุธี คุณาวิชยานนท์
ทัง มุน คิต
ทาลิง ปาดี
เท เวย ลิง
ตาว เหงียน พาน
ตินติน วูเลียล์
ทิสนา ซานจายา
ตุลพบ แสนเจริญ
ตุง มัย
วรรณดี รัตนา
วสันต์ สิทธิเขตต์
วู ดาน ตาน
วอง ฮอย ชอง
บันทึกการแสดงสดพิเศษ:
อาราย์มาอิอานี
อัง เหมียนท์
โครงการริเริ่มและดำเนินงานโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สอบถามรายละเอียด
ฝ่ายสื่อสารและประชามสัมพันธ์
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
939 ถ. พระรามที่ 1 แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ 02 214 6630 โทรสาร 02 214 6639
www.bacc.or.th