Special Project
ความเคลื่อนไหวของกลุ่มศิลปินใน จ.ปัตตานี และ ยอกยาการ์ตา
เวลา 16.00-18.00 น.
ศิลป์อยู่เป็น – The Art of Surviving in the Arts
ส่วนหนึ่งของ Early Years ครั้งที่ 1 : Thisorder
กิจกรรมเสวนา
ความเคลื่อนไหวของกลุ่มศิลปินใน จ.ปัตตานี และ ยอกยาการ์ตา โดย PataniArtspace&Patani Contemporary Art Gallery และ Ace House Collective
Working Together: A Talk with PataniArtspace&Patani Contemporary Art Gallery (Pattani) and Ace House Collective(Yogyakarta, Indonesia)
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 16.00-18.00
สถานที่: พื้นที่ศิลปะเทนทาเคิล (50 ที่นั่ง)
วิทยากร:ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ และ กินทานิ นัวร์ อาพรีเซีย สวาสทิกา
*กิจกรรมนี้ดำเนินรายการเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ตารางกิจกรรม
16.00 แนะนำกิจกรรมและวิทยากร
16.10การบรรยายโดย ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ
16.50การบรรยายโดย กินทานิ นัวร์ อาพรีเซีย สวาสทิกา
17.30 Q&A
18.00 จบกิจกรรม
การสร้างเครือค่ายนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการทำงานด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นในท้องถิ่น ภูมิภาคหรือระดับโลก นอกจากการสร้างเครือค่ายในฐานะศิลปินเดี่ยวแล้ว ยังมีทางเลือกในการสร้างเครือค่ายทางศิลปะอื่นๆอีก อาทิ การรวมตัวทำงานเป็นกลุ่ม หรือการสร้างพื้นที่ศิลปะเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ ในกิจกรรมนี้โครงการ “ศิลป์อยู่เป็น” ได้รับเกียรติจาก ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ จาก PataniArtspace&Patani Contemporary Art Gallery จังหวัดปัตตานีและ คุณ GintaniNurApresia Swastika จาก Ace House Collective เมืองยอกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ในการสร้างเครือค่ายฯ การทำพื้นที่ศิลปะ การรวมตัวเป็นกลุ่ม รวมถึงมุมมองต่อการทำงานศิลปะในพื้นที่ที่พวกเขาทำงานอยู่และการเชื่อมต่อของท้องถิ่นกับภูมิภาค
เกี่ยวกับวิทยากรและองค์กร
ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ
สำเร็จการศึกษาระปริญญาตรีในสาขาทัศนศิลป์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และระดับปริญญาโทในสาขาศิลปไทย จากมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยผลงานของเขาได้รับรางวัลหลากหลาย อาทิ 1st International Historical Memory Art Festival (Art Hub) เมือง Abu Dhabi ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2014), รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทยรางวัลที่1 จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57 (2011) และรางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวงจิตรกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 30 (2008) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ อาทินิทรรศการ“วางร่องรอยชีวิตจิตศรัทธาไว้ที่ปาตานี”ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถกรุงเทพ (2015), นิทรรศการ“From the Life of Thai Muslims” เมือง Abu Dhabiประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(2014)และนิทรรศการเดี่ยว “รูปลักษณ์ของชาวมาลายูท้องถิ่นปัตตานี” ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถกรุงเทพฯ (2012) ปัจจุบัน เขาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาทัศนศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี และเป็นเป็นผู้ก่อตั้ง Patani Artspace & Patani Contemporary Art Gallery
Patani Artspace & Patani Contemporary Art Gallery
เป็นหอศิลป์สำหรับจัดแสดงนิทรรศการศิลปะและพื้นที่ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านศิลปะโดยมุ่งเน้นถึงการเปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และศิลปินทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มีพื้นที่ในการแสดงออกและนำเสนอผลงานตลอดจนเปิดพื้นที่ให้ศิลปินมาพำนักสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรวมถึงการจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางด้านศิลปะแก่ผู้ที่สนใจโดยต้องการสร้างโอกาสและเปิดพื้นที่ให้กับคนที่ยังขาดโอกาสโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่สนใจทางด้านศิลปะทั้งนี้หอศิลป์ฯ เน้นการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางศิลปะเป็นประจำทุกๆเดือน
กินทานิ นัวร์ อาพรีเซีย สวาสทิกา
เป็นศิลปินและภัณฑารักษ์ ที่มุ่งเน้นความสนใจทำงานเกี่ยวกับประเด็นของเพศสภาพอัตลักษณ์และวัฒนธรรมวัยรุ่นเธอสำเร็จการศึกษาด้านศิลปะจาก Institute of the Arts เมือง Yogyakartaประเทศอินโดนีเซีย ในปี2010 และในปี2011ได้ร่วมก่อตั้งAce House Collectiveกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่และพื้นที่ศิลปะในเมือง Yogyakartaประเทศอินโดนีเซียอีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการของ Kaleidoskop Projectซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ มาตั้งแต่ปี 2015 โดยกินทานิมีประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการศิลปะต่างๆทั้งในและต่างประเทศอาทิ“4A Curators’ Intensive, Emerging Curator Forum”ที่ 4A Centre For Contemporary Asian Art เมือง Sydneyประเทศออสเตรเลีย (2014), เป็นศิลปินพำนักที่ Bamboo Curtain Studio เมือง Taipei ประเทศไต้หวัน (2013) และ“Gender Under Reflection on South East Asia Women Artist Forum” เมือง Yangonประเทศเมียนมาร์ (2012) และเมื่อเร็วๆนี้เธอได้รับเลือกให้เข้าร่วม“7thGwangju Biennale International Curator Course” ที่ประเทศเกาหลีใต้ (2016) สำหรับในบทบาทของศิลปิน ผลงานของเธอได้เป็นส่วนหนึ่งใน“Indonesian Eye: Contemporary Indonesian Art”ตีพิมพ์โดยSKIRA(2011)และในการทำงานกับกลุ่มAce House เธอมีส่วนสำคัญในการค้นหาและสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ของอินโดนีเซียปัจจุบันกินทานิกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านศาสนาและวัฒนธรรมศึกษาที่มหาวิทยาลัย Sanata Dharma เมือง Yogyakarta
Ace House
เป็นพื้นที่ศิลปะในเมือง Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซียที่จัดการโดยกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ชื่อAce House Collectiveโดยเป็นพื้นที่การทดลองเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและศาสตร์อื่นๆรวมถึงเป็นเวทีในการสำรวจและวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในสังคมร่วมสมัยผ่านศิลปะAce House Collectiveมีจุดประสงค์ที่จะตั้งคำถามถึงบทบาทและหน้าที่ของศิลปะร่วมสมัยในสังคมรวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆที่เลียนแบบโครงสร้างสถาบันในสังคมมาใช้เป็นกระบวนการในการแทนค่าโครงสร้างต่างๆที่ชาวอินโดนีเซียประสบพบเจอในชีวิตประจำวันโดยโครงการเหล่านี้เป็นการพยายามเข้าหาและดึงชุมชนต่างๆเข้ามาผ่านการสร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันขณะเดียวกันก็เป็นการพูดถึงประสบการณ์ที่แตกต่างระหว่างชนชั้นอีกด้วย Ace House Collectiveเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างการทำงานที่ไม่มีลำดับขั้นอาวุโสและใช้วิธีการระดมความคิดจากสมาชิกในการสร้างสรรค์โครงการต่างๆนอกเหนือจากการจัดนิทรรศการแล้วยังมีกิจกรรมเสวนาการบรรยายเวิร์คชอปและโครงการแลกเปลี่ยนศิลปินนอกจากนี้Ace House ยังเป็นส่วนหนึ่งของKaleidoskop Projectเทศกาลศิลปะสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า35 ปีจัดขึ้นทุกๆสองปี ที่เมือง Yogyakarta
กิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศิลป์อยู่เป็น ซึ่งเป็นโครงการเพื่อการศึกษาภายใต้การดำเนินงานโครงการสนับสนุนศิลปิน ส่วนหนึ่งของ Early Years ครั้งที่ 1 : Thisorderโดย Y.A.N (Young Artist Network by BACC) ร่วมกับเทนทาเคิล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เทนทาเคิล
โทรศัพท์ 061-941-6555, 089-744-3772, 082-487-1487
อีเมล [email protected]
Y.A.N (Young Artist Network by BACC)
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 ต่อ 531