Activities

เสวนาสาธารณะ “วัฒนธรรมและการทูตในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง”

 


โดย เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ บริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


ตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 มวลมนุษยชาติได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการนำพาสันติภาพและความสงบสุขมาสู่สังคมโลก โดยการจัดตั้งสถาบันและองค์กรต่างๆมากมายทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อมุ่งให้เกิดการถกเถียงและหารือความร่วมมือทางการทูตระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ภายใต้แนวคิดนานาชาตินิยม และการยึดโยงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น การก่อตั้ง “องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)” และต่อมาพัฒนาเป็น “องค์การสหประชาชาติ (United Nations)” เพื่อเป็นองค์การกลางในการแก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีและดำรงสันติภาพอันถาวร

หากพิจารณาในระดับประเทศ องค์กรด้านวัฒนธรรม เช่น บริติช เคาน์ซิล (อังกฤษ) สถาบันเกอเธ่ (เยอรมัน) และเจแปนฟาวน์เดชั่น (ญี่ปุ่น) ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้หลักการและจุดร่วมเดียวกันคือการสรรค์สร้างสันติสุขและบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ในระดับนานาชาติ โดยมาพร้อมพันธกิจหลักร่วมกันของทั้ง 3 องค์กร คือ การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และการบ่มเพาะพัฒนาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐและชาติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม องค์กรทางด้านวัฒนธรรม ทั้ง 3 หน่วยงานนี้ ต่างก็เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักหน่วงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาอยู่ 2 ประการ คือ สงครามโฆษณาชวนเชื่อ อันเป็นผลมาจากลัทธิชาตินิยม ที่ก่อตัวขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถถูกมองข้ามได้ หรือแม้กระทั่ง ความยากลำบากในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศและการสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน เป็นต้น

ดังนั้น จากแนวคิดและความเป็นมาดังกล่าวข้างต้นนี้ องค์กรหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้ง 3 แห่งจากอังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น จึงได้เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะ มาร่วมอภิปรายและนำเสนอมุมมองต่างๆ ในงานเสวนาสาธารณะ เพื่อทบทวนคุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่าง “การส่งเสริมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทางการทูต” ตลอดจนค้นหาแนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ของการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ระหว่างประเทศร่วมกัน ในสภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนี้

อ่านข้อมูลผู้ร่วมเสวนา คลิก

กำหนดการ
12:30 น.  ลงทะเบียน
13:00 – 14:30 น.  
ช่วงที่ 1 : การทูตทางวัฒนธรรม “กรอบแนวความคิดและการดำเนินงานในแต่ละประเทศ”
ผู้ดำเนินรายการและผู้อภิปราย:
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ  อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์   และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมเสวนา (ออนไลน์):
ศ.ดร. อะสึชิ ชิบาซากิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา
คุณโรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการสถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า ประเทศเยอรมนี
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กรยูเนสโกภายใต้ อนุสัญญายูเนสโก 2005 ว่าด้วยการคุ้มครองและ  ส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม

14:30 –15:00 น. พักรับประทานของว่าง
15:00 –16:00 น.                  
ช่วงที่ 2: การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในภาคปฏิบัติ: แรงจูงใจ ภายใต้การวางแผนงาน และการมีส่วนร่วม
ผู้ดำเนินรายการ:
คุณโยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ผู้ร่วมเสวนา:
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale
คุณศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Director การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)
คุณมาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
คุณแอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย

16:00 – 17:00 บทสรุปส่งท้าย “วัฒนธรรม และการทูต” เป้าหมายเพื่ออนาคต?
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร 02 2608560-3  
Email: [email protected]  
Website: www.jfbkk.or.th  
Facebook: The Japan Foundation, Bangkok 

 

Image Gallery