Main Exhibition 789
EARLY YEARS PROJECT #7: A change In the paradigm
** ขยายเวลาจัดแสดงจนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 **
ศิลปิน
กนกวรรณ สุทธัง
จักรพันธ์ ศรีวิชัย
ณัฐณภัทร กุลนานันท์
ดลฤดี บุญแก้ว
นครินทร์ ปัญญาวงค์
นอเดียนา บีฮิง
เบญจรัตน์ เอี่ยมรัตน์
วัชรนนท์ สินวราวัฒน์
กรรมการตัดสิน
จักรวาล นิลธำรงค์
จิระเดช และพรพิไล มีมาลัย
มิติ เรืองกฤตยา
ยุรี เกนสาคู
วิทยา จันมา
สืบแสง แสงวชิระภิบาล
โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ ครั้งที่ 7 (Early Years Project #7) ได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด เป็นโครงการเปิดพื้นที่แห่งการทดลอง สนับสนุนแก่ศิลปินรุ่นใหม่ ทั้งนี้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการสำเร็จลุล่วงมาแล้ว 6 ครั้ง โดยมีศิลปินรุ่นใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการได้จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์สู่สาธารณะจำนวนกว่า 80 คน Early Years Project (EYP) คือกระบวนการการบ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศิลปินรุ่นใหม่ กรรมการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานตลอดจนการบริหารจัดการนิทรรศการกลุ่มได้อย่างเป็นมืออาชีพและมีคุณภาพ ตั้งแต่เอกสารร่างโครงการพัฒนาสู่ผลสัมฤทธิ์อันเป็นรูปธรรมของผลงานศิลปะร่วมสมัยที่นำเสนอสู่ผู้ชม กระบวนการบ่มเพาะประสบการณ์ในโครงการได้แก่ การเขียนโครงการ ทักษะการวิเคราะห์-แยกแยะ ประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในการจัดนิทรรศการ ผลักดันส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ การเพิ่มพูนทักษะทางการรับฟังคำวิจารณ์ การสร้างเครือข่ายระหว่างศิลปิน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการศิลปะร่วมสมัย และการพิจารณาตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
ศิลปินรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการได้มีส่วนร่วมในการเสนอชื่อหัวข้อโครงการประจำปีครั้งที่ 7 โดยเสนอชื่อ “A change in the paradigm” การเปลี่ยนแปลงทัศนะ มุมมอง อัตลักษณ์การแสดงออกทางศิลปะร่วมสมัยผ่านมุมมองความคิด และความเชื่อของศิลปินในโครงการ “A change in the paradigm” เชื่อมโยงเข้ากับบริบทของยุคร่วมสมัยของโลกที่กำลังพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อนและรวดเร็ว ศิลปินรุ่นใหม่ในโครงการ EYP#7 นำเสนอผลงานผ่านภาษาศิลปะร่วมสมัยที่มีรากฐานจากการเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่จากปรากฏการณ์ทางสังคม ความเชื่อ การศึกษา เทคโนโลยีและการแสวงหาแนวทางการแสดงออกทางศิลปะใหม่ ตลอดจนกระบวนการเลือกเครื่องมือสื่อสารที่แตกต่างหลากหลาย สะท้อนกระบวนการคิดผ่านการเลือกสรรประเด็นที่ท้าทายกับกระบวนทัศน์ทางศิลปะที่ปรากฎในอดีต นอกจากนั้นศิลปินในโครงการยังเสนอทักษะการคิดวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวที่เป็นแรงกระตุ้น ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ สู่การเปิดประเด็นใหม่ๆ ให้ผู้ชมผลงานได้ร่วมคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในโลกศิลปะร่วมสมัย
นิทรรศการนี้จึงเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนตัวตนที่หลากหลาย และชุดประสบการณ์ของศิลปินรุ่นใหม่ การทำความเข้าใจมุมมองทางความคิดใหม่ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินในโครงการ EYP#7
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการ โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ ครั้งที่ 7
กิจกรรมการศึกษาถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญภายใต้โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศิลปินสามารถสร้างสรรค์ จัดแสดง และพัฒนาผลงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ในการนี้ฝ่ายการศึกษาออกแบบกิจกรรม โดยมีแนวคิดเพื่อต้องการสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบและโครงสร้างต่างๆ ในโลกศิลปะและการผลิตงานสร้างสรรค์ที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ กระบวนการและผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์อื่นๆ ที่หลากหลาย ศิลปินจึงต้องสามารถปรับตัว พัฒนาศักยภาพตัวเอง และค้นหาแนวทางใหม่ๆ อยู่เสมอ พร้อมทั้งทำความเข้าใจระบบระเบียบในโลกศิลปะ เพื่อที่จะสามารถอยู่รอดและเติบโตทั้งในไทยและต่างประเทศได้
Public Program (กิจกรรมเปิดสำหรับศิลปินและบุคคลทั่วไป)
1. Public Talk หัวข้อ “Young Artists in Thai Art Ecosystem / ระบบนิเวศศิลปะไทยกับศิลปินรุ่นใหม่” คลิก
วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ มุกดามณี
สถานที่ : ห้องนิทรรศการ ชั้น 7 หอศิลปกรุงเทพฯ
2. Public Tour หัวข้อ “Meet the Judges / ต้นทางสู่ปลายทาง ความคิดเห็นจากกรรมการ” คลิก
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : กรรมการ EYP#7
สถานที่ : ห้องนิทรรศการ ชั้น 7 หอศิลปกรุงเทพฯ
3. Roundtable Discussion หัวข้อ “โอกาส – ศิลปินรุ่นใหม่ – โลกศิลปะ / Opportunity – Young Artist – Art World”
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : ชล เจนประภาพันธ์ พอใจ อัครธนกุล และ พงศกรณ์ ญาณะณิสสร
สถานที่ : ห้องนิทรรศการ ชั้น 7 หอศิลปกรุงเทพฯ
Close Program (กิจกรรมปิดเฉพาะศิลปินในโครงการ)
1. Close Workshop หัวข้อ “Branding Yourself / ตัวตน ผลงานและการสร้างแบรนด์ของศิลปิน”
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : กวิตา วัฒนะชยังกูร และ ศรชัย พงษ์ษา
สถานที่ : ห้อง 501
2. Master Class หัวข้อ “Where do funding come from / ทุนในการทำงานมาจากไหน?”
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : อริญชย์ รุ่งแจ้ง
สถานที่ : ห้อง 501
3. Close Workshop หัวข้อ “Critic and Development Session / เปิดมุมมองและต่อยอดการทำงานในอนาคต”
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024 เวลา 14:00 – 16:00
วิทยากร : Waiting you Curator Lab
สถานที่ : ห้องกระจกชั้น 6 และ ห้องนิทรรศการ ชั้น 7 หอศิลปกรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
939 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 ต่อ 529
Email: [email protected]
Facebook BACC Early Years Project