Loading

bacc e-archive

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop ครั้งที่ 2

ดาวน์โหลด (กรุณาเข้าสู่ระบบก่อน)

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop ครั้งที่ 201AAC-06-2013-01-DOC-01-001.pdf

รหัสเอกสาร

01AAC-06-2013-01-DOC-01

ประเภทเอกสาร เช่น รูปภาพ, วีดิโอ เป็นต้น Format

DOC

ชื่อเรื่อง

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop ครั้งที่ 2

วัน เดือน ปที่จัดทําคําอธิบายเอกสาร

27-02-2018

ปที่ผลิตหรือสะสมเอกสาร Year (YYYY)

2013

ประเภทของคอลเลคชั่น

art activities

ประเภทของกิจกรรม

Literatures

ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ, ขนาด,จำนวน)

1 ไฟล์

ชื่อผู้ผลิตเอกสารหลัก

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop นั้นเชื่อมโยงจากวัตถุประสงค์ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในการให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชนและประชาชน ด้วยองค์ความรู้อันหลากหลาย โดยโครงการนี้ส่งเสริมเรื่องการอบรมวรรณกรรม โดยมีกลุ่มนักเขียนและวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแวดวงวรรณกรรมมาร่วมกันสร้างหลักสูตรสำหรับการอบรมที่ครอบคลุมความรู้ด้านวรรณกรรม เพื่อสร้างสรรค์นักเขียนหน้าใหม่ที่จะร่วมสร้างสังคมแห่งการอ่านและเขียน ในรูปแบบเรื่องสั้น นวนิยาย และบทกวี
โดยการอบรมในครั้งนี้จะส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดความรู้จากวิทยากร และนำผลงานของผู้เข้าร่วมการอบรมออกสู่สังคมผ่านรูปแบบของหนังสือเล่มและ e-book ทั้งนี้เป็นการนำเสนอผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่แวดล้อมในชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน และเกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันในเชิงของการเสพสื่อศิลปะอีกรูปแบบหนึ่ง

ประวัติของจดหมายเหตุ

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop เปิดรับเยาวชนอายุ 18 – 30 ปี เพื่อเข้าอบรมด้านวรรณกรรมโดยเปิดรับสมัครและให้ผู้สมัครส่งผลงานเขียนเพื่อรับการพิจารณา หลังจากคณะกรรมการพิจารณาและประกาศผลแล้วจะเริ่มดำเนินการอบรมในวันที่ 28 เมษายน 2555 ในการอบรมแต่ละครั้งจะประกอบด้วยการบรรยายหรือเสวนาในช่วงเช้า และช่วงบ่ายเป็นการพิจารณางานเขียนของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้รายละเอียดหลักสูตรประกอบด้วย
รายละเอียดหลักสูตร
ศิลปะของการเขียน (Art of Writing) ว่าด้วยแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเขียน อธิบาย ความหมายของศัพท์ต่างๆ อาทิเช่น จินตภาพ หรือ ภาพ (image) เสียง (voice) เรื่อง (story) ฯลฯ รวมถึงการหาแรงบันดาลใจสำหรับการเขียน
เรื่องสั้นอเมริกันศึกษา (American Short Story) กล่าวถึงเอกลักษณ์และความเป็นมาของรูป แบบการเขียนเรื่องสั้นในอเมริกา นับจากทศวรรษที่ 20-ปัจจุบัน ชวนอ่านงานของ Hemingway, Anderson, Barthelme, Carver ฯลฯ
วรรณกรรมฝรั่งเศสศึกษาเบื้องต้น (Basic French Literature) กล่าวถึงภาพรวมของ วรรณกรรมฝรั่งเศส ชวนอ่านงานโดดเด่นของวรรณกรรมฝรั่งเศสสมัยใหม่ และบทบาทที่ วรรณกรรมฝรั่งเศสมีต่อศิลปวัฒนธรรมโลก
วรรณกรรมรัสเซียศึกษาเบื้องต้น ( ฺBasic Russian Literature) กล่าวถึงวรรณกรรมรัสเซียที่มี อิทธิพลต่อโลกวรรณกรรมสมัยใหม่ อาทิ งานของ Dostoyevsky ไปถึงงานเซอร์เรียลของ Kharms
ศิลปะของการเขียนหนังสือเดินทาง (Art of Travel Writing) พูดถึงการเขียนเรื่องบันทึกการ เดินทาง วิธีการทำงาน และการสร้างสันให้ความรายละเอียดข้อมูลความรู้
การวิจารณ์วรรณกรรม (Literary Criticism) บทบาทของนักวิจารณ์วรรณกรรมและศิลปะของ การวิจารณ์วรรณกรรมอย่างสร้างสรรค์

หมายเหตุเกี่ยวกับผูมีสวนรวม ผูสนับสนุน กิจกรรม/นิทรรศการ

รายชื่อวิทยากร
- ปราบดา หยุ่น
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (ศิลปินแห่งชาติ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา)
- ชาติ กอบจิตติ (นักเขียนรางวัลซีไรต์)
- วิภาส ศรีทอง (นักเขียนรางวัลซีไรต์)
- วันรัก สุวรรณวัฒนา (อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญภาษาและวรรณกรรมฝรั่งเศส)
- ภาณุ มณีวัฒนกุล (นักเขียนเรื่องเดินทาง)
- จรูญพร ปรปักษ์ประลัย (นักวิจารณ์วรรณกรรม)

ขอบเขตและเนื้อหาเอกสาร

วันที่จัดกิจกรรม : 04 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน 2556

ระบบการจัดเรียงเอกสาร

อ้างอิงระบบ ISAD (G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

เอกสารที่เกี่ยวของ

Press release

การระบุคําสําคัญ

วรรณกรรม, การเขียน, วิจารณ์

ระดับของคำอธิบายเอกสาร

Sub-Series


กลับไปหน้าหลัก


BACC Digital Archive Searching

ระบบสืบค้น และจัดเก็บเอกสารอิเลคโทรนิกของ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร