ตุลาคม 2537
แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ในระหว่างการจัดงานครบรอบ 20 ปี มีการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อการสานต่อแนวคิด และสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่า
คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ได้ประชุมร่วมกับ ดร.พิจิตต รัตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น และได้เสนอแนวคิดเรื่องการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง 'หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร' เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา
จัดตั้ง 'มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9' เพื่อสนับสนุนการเตรียมโครงการหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง และกำหนดจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ขึ้น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดแสดงระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2539 - 8 มกราคม 2540 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ 31 ชิ้น และมีศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมแสดงมากกว่า 1,100 ชิ้น เมื่อสิ้นสุดนิทรรศการ ศิลปินได้บริจาคผลงานจำนวน 108 ชิ้น ให้เป็นสมบัติของหอศิลป์ต่อไป
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดการแสดง JAZZ IN THE PARK คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ณ สวนสราญรมย์ คณะกรรมการฯ นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจำนวน 4,145,817.50 บาท ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงพระราชทานเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินทุนในการจัดตั้ง 'มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'
จัดตั้ง 'มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นเลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการก่อสร้าง
กรุงเทพมหานคร โดย นายพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อกำหนดของการประกวดแนวความคิดในการออกแบบและประกวดแบบอาคารเพื่อก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวดแบบฯ และดำเนินการประกวดแบบตามลำดับ
ผู้ชนะการประกวดแบบอาคาร คือ บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และได้รับมอบหมายให้พัฒนาแบบต่อไป เพื่อใช้ในการประกวดราคาก่อสร้าง
กรุงเทพมหานคร โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ทำพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ในงานมีนิทรรศการแบบที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลตามลำดับ
นายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายสมัคร สุนทรเวช ได้เปลี่ยนนโยบายโครงการสร้างหอศิลป์ฯ จากเดิมที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้สร้างโดยกระบวนการร่วมคิดร่วมตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เป็นกำหนดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบอาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า ลานจอดรถ และหอศิลป์ ซึ่งกลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ โดยให้เอกชนลงทุนสัมปทานเช่าพื้นที่ในส่วนพาณิชย์ของอาคาร นานถึง 30 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างอันเป็นสาระสำคัญของกรอบความคิดและปรัชญาเดิมโดยสิ้นเชิง
สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นมี ผ.ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ยื่นจดหมายทักท้วงการระงับโครงการหอศิลป์ฯ และขอเข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อรับฟังคำชี้แจงถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงโครงการฯ
สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดประชุมอย่างเป็นทางการ ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการแสดงพลัง และความคิดเห็น คัดค้านการยกเลิกโครงการหอศิลป์เดิม
สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดประชุมอย่างเป็นทางการ ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการแสดงพลัง และความคิดเห็น คัดค้านการยกเลิกโครงการหอศิลป์เดิม
สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทางศิลปะ ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะ นักร้อง นักแสดง นักศึกษาทางศิลปะ ประชาชนที่สนใจ จัดอภิปรายกรณีล้มเลิกหอศิลป์ร่วมสมัย ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้บริหารสถาบันทางศิลปะที่เกี่ยวข้อง ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ สื่อมวลชน และนักศึกษาศิลปะ ฯลฯ ออกแถลงการณ์ร่วมขอให้กรุงเทพมหานครทบทวนโครงการ และชี้แจงเหตุผลในการยกเลิกการก่อสร้างหอศิลป์ตามแบบเดิม ณ ห้องประชุมคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จัดชุมนุมศิลปินครั้งแรก ที่บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และได้ประกาศจัดตั้ง ็เครือข่ายศิลปินรณรงค์เพื่อหอศิลป์ร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคริ เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องหอศิลป์แบบเดิม เช่น ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการทำประชาพิจารณ์การก่อสร้างหอศิลป์
ประธานสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย อาจารย์ปรีชา เถาทอง ส่งหนังสือร้องเรียนและขอความเป็นธรรม กรณีระงับการก่อสร้างหอศิลป์ไปยัง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีว่าการทบวงวิทยาลัย, ประธานรัฐสภา, ประธานสภากรุงเทพมหานคร, ประธานกรรมาธิการด้านศิลปวัฒนธรรม และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
มีการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อร่วมสมทบทุนเครือข่ายศิลปินฯ ที่โรงแรมฟอร์จูน มีผลงานร่วมแสดงกว่า 100 ชิ้น และเข้าร่วมประมูล 15 ชิ้น มีรายได้ (หลังหักค่าใช้จ่าย) รวมเป็นเงินกว่า 600,000 บาท
จัดมหกรรมศิลปะเพื่อประชาชน 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ณ บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และประกาศเริ่มโครงการภาพเขียนยาวที่สุดในโลก
มีการรณรงค์ 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ในชุมชนและสถาบันต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
อาจารย์ปรีชา เถาทอง และหงา คาราวาน พร้อมเครือข่ายศิลปินฯ ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ทำประชาพิจารณ์หอศิลป์
คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มีมติเสนอให้กรุงเทพมหานคร จัดทำประชาพิจารณ์
มีการเดินขบวนศิลปะที่ยาวที่สุดในโลก โดยสมาชิกเครือข่ายศิลปินฯ และอาสาสมัคร ประมาณ 100 คน เริ่มต้นที่สี่แยกปทุมวัน และได้จัดขบวนแถวยาวต่อเนื่องเรียงหนึ่ง ช่วยกันถือภาพเขียนที่เย็บต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ ละ 5 ภาพ จนได้แถวยาวประมาณ 4 กิโลเมตรภาพที่เหลือบรรทุกรถปิคอัพ 3 คัน ลำเลียงกันไปจากสี่แยกปทุมวันไปศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า แล้วนำภาพทั้งหมดจำนวน 4,000ภาพ ออกปูเต็มพื้นที่หน้าที่ทำการกรุงเทพมหานคร แสดงภาพอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง และนำแถลงการณ์ปิดไว้ที่ประตูทางเข้า กทม.
มีการจัดแสดงผลงานศิลปะชุด 'ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า' ณ หอศิลป์ ตาดู ซึ่งทางคณะกรรมการเครือข่ายฯ ได้คัดเลือกผลงานชิ้นเยี่ยม 150 ชิ้น จาก 4,000 ชิ้น ออกแสดงเพื่อจำหน่ายหารายได้สมทบทุนการรณรงค์เพื่อหอศิลป์ นอกจากนี้ได้จัดกิจกรรมประมูลผลงานชั้นเยี่ยมยอดอีก 15 ชิ้น
ศาลปกครองกลางได้ประทับรับฟ้อง คดีดำหมายเลขที่ 636/45 ภายหลังที่ อาจารย์ปรีชา เถาทอง นายจอน อึ้งภากรณ์ นายสุรชัย จันทิมาธร นายจุมพล อภิสุข นายวรินทร์ เทียมจรัส กับพวก รวม 9 คน ยื่นคำฟ้อง ให้มีคำสั่งให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณตามกฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 59 ทำให้โครงการที่จะผลักดันหอศิลป์ในศูนย์การค้าต้องหยุดลง
ในช่วงการรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ เครือข่ายศิลปินฯ ได้จัดประชุมเพื่อขยายความร่วมมือกับชุมชน และองค์กรทางด้านวัฒนธรรม รวมถึงภาคประชาชน จัดตั้งเป็น 'เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' (People's Network for Bangkok Art & Culture Centre)
มีการแถลงข่าวครั้งแรก ณ บ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อเดินหน้าจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนและผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการมีหอศิลป์
เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม 'Art Vote' โหวตเพื่อหอศิลป์ บริเวณสวนสาธารณะ สี่แยกปทุมวัน จัดคูหาลงประชามติเพื่อลงคะแนนว่า ชาวกรุงเทพฯ ต้องการหาศิลป์หรือไม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมรายชื่อให้ครบ50,000 รายชื่อ และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการคนใหม่ต่อไป รวมทั้งมีการจัดแสดงกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ นอกจากนี้ให้อาสาสมัครลงพื้นที่ และจัดคูหาลงคะแนนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนลงคะแนนสนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์เครือข่ายฯ ได้เดินทางเข้าพบผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ เพื่อชี้แจงถึงประโยชน์ของการมีหอศิลป์ และผลักดันให้หอศิลป์เป็นหนึ่งในนโยบายของกรุงเทพมหานคร
มีการนับจำนวนรายชื่อผู้สนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์ หนึ่งในเสียงโหวตนั้นคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา
หลังจากที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้นำเรื่องโครงการหอศิลป์เข้าหารือ ซึ่งก็ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'
กรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีคำสั่งที่ 231/2548 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขึ้น โดยมีผู้ว่าฯ เป็นประธาน พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินการก่อสร้าง แนวทางการบริหารจัดการ และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการหอศิลปฯ คือ1. คณะกรรมการอำนวยการก่อสร้าง โดยมี ศ.เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร2. คณะอนุกรรมการวางนโยบายการบริหารจัดการ โดยมี นายฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานนโยบายการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร3. คณะกรรมการรณรงค์เครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยมี ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินกิจกรรมในการรณรงค์ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้มีมติให้ก่อสร้างหอศิลปฯ ตามโครงการเดิม คือ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน ใช้แบบก่อสร้างที่ชนะการประกวด โดยบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และให้โครงการหอศิลปฯ ดังกล่าวแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2549 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา รวมทั้งให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และนันทนาการของประชาชนตามยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไปสภากรุงเทพมหานครอนุมัติงบประมาณ 504 ล้านบาท เพื่อการดำเนินการก่อสร้างอาคาร 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'
จัดการประชุมร่วมพิจารณา 'ร่างปฏิญญาศิลปวัฒนธรรม' ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่จะเป็นแนวทางให้ทั้งภาครัฐ (กรุงเทพมหานคร) และภาคประชาชน (ตัวแทนองค์กรศิลปะจากทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สถาบัน ศิลปิน และเยาวชน นักศึกษา และสื่อมวลชน) แสวงหาความร่วมมือกันที่จะพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม
2548 มีการลงนามใน 'ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครและพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม' ณ อุทยานเบญจศิริจากนั้นได้มีการจัดตั้ง 'มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการอาคารหอศิลปฯ
ลงนามสัญญาก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาก่อสร้าง 570 วัน โดยบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
งานแถลงข่าวความคืบหน้าการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บนลาน BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
กรุงเทพมหานครจัดการแสดงนิทรรศการจิตรกรรม 'เติมศิลปะให้ชีวิต...สร้างศิลปินให้กรุงเทพฯ'
จดทะเบียนตั้งมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานมูลนิธิ
กรุงเทพมหานครจัด Soft Launch เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารหอศิลปฯ
กรุงเทพมหานครจัดงานแคมป์ศิลปะ 'เราจะโตไปด้วยกัน' สนับสนุนโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ ลานกิจกรรมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด เขต ปทุมวัน
การก่อสร้างอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครแล้วเสร็จสมบูรณ์ หลังจากได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี
เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ระบบสืบค้น และจัดเก็บเอกสารอิเลคโทรนิกของ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร